Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 07:15:49

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม (Moderator: Smile Siam)  |  รับสั่ง"ฉันจะอยู่ถึง ๑๒๐ ปี"
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: รับสั่ง"ฉันจะอยู่ถึง ๑๒๐ ปี"  (Read 1602 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 27 December 2012, 07:57:47 »



“ฉันจะอยู่ถึง 120 ปี จะอยู่จนฉลองพระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ 100 ปี”


        นั่นคือพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ระหว่างจัดถวายพระพรและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะถวายพระพรว่า ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมพรรษาเกินกว่า 100 พรรษา
        ซึ่งท่านผู้หญิงบุตรีได้กรุณาอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวมาเล่าให้ อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีคนหนึ่งของไทยฟัง

อาจารย์เผ่าทองอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสนี้มาเล่าให้แขกกลุ่มหนึ่งของไทยธนาคารฟังเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา

หลาย ๆ คน คงได้เคยอ่านบทความนี้จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทุเดย์มาบ้างแล้ว

.... แม้การฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 8-12 มิถุนายนที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ได้สร้างความปลื้มปีติและความประทับใจแก่ปวงชนชาวไทยไม่รู้ลืม แต่เบื้องหลังงานพระราชพิธียังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็นความรู้และน่าสนใจอย่างยิ่ง ไทยธนาคารได้จัดงานย้อนรำลึกถึงงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยเชิญอาจารย์เผ่าทองมาเป็นวิทยากร เล่าแบบเจาะลึกในทุกพระราชพิธี เพื่อให้ปวงพสกนิกรได้ซาบซึ้งและอิ่มใจมากยิ่งขึ้น

อาจารย์เผ่าทอง เล่าว่า งานฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี เรียกว่า รัชดาภิเษกสมโภช ครองราชย์ครบ 50 ปี เรียกว่า กาญจนาภิเษกสมโภช หากครองสิริราชสมบัติครบ 75 ปี จะเรียกว่า ฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษก

“แต่งานฉลอง 60 ปีครั้งนี้ พระเจ้าอยู่หัวยังไม่ทรงนับเป็นไดมอนด์จูบิลี แต่เมื่อฉลองครบ 100 ปี ก็จะเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมากที่สุด
เรียกว่า อมรินทร์ภิเษกสมโภช


ในหลวงทรงจุดธูปเทียนจากซ้ายไปขวา  พระราชินีทรงจุดธูปเทียนจากขวามาซ้าย

ในที่พระที่นั่งองค์นี้มีนพปฎลมหาเศวตฉัตร 9 ชั้น มีพระที่นั่งบุษบกมาลา สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้างบนประดิษฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรองค์ใหญ่ ปางอุ้มบาตรองค์เล็ก พระพุทธรูปปางนาคปรก ปางถวายเนตร ปางสมาธิอยู่ด้านหลัง เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร หรือพระพุทธรูปประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8 และพระมเหสี

การเรียงลำดับพระบรมโกศพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน ก็มีเกร็ดอยู่ว่า พระบรมโกศของรัชกาล 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 อยู่ด้านกลาง มีแท่นรองวางพระบรมโกศของรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 อยู่แถวหน้า พระมเหสีเทวีอยู่ 2 แถวหลังของพระบรมโกศทุกรัชกาล

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงจุดธูปเทียนนมัสการพระพุทธรูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงจุดธูปเทียนจากซ้ายไปขวา และสมเด็จพระบรมราชินีจะทรงจุดจากขวามาซ้าย นี่เป็นโบราณราชประเพณี

การเสด็จออกมหาสมาคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงสายสะพายสีชมพูนั้นคือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า สายสะพายจะเป็นสีชมพู จะทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เมื่อเป็นพระราชพิธีส่วนพระองค์ภายในที่เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์ หรือสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า

ในพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม ที่พระที่นั่งอนันตมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน มีพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช ซึ่งจะมีการนำพระพุทธรูปแทนองค์บุรพมหากษัตริย์เข้าประกอบพระราชพิธี โดยมีพระพุทธรูปแทนพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยทุกพระองค์ พระพุทธรูปแทนพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาทั้ง 34 พระองค์ พระพุทธรูปแทนพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระพุทธรูปแทนรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8 ในแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหล่อจากแร่ทองแดงที่ขุดได้ใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น

ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี และที่สำคัญคือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ จะมีการเชิญพระกลดที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีการลดหลั่นชั้นยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้พระกลดสีเหลือง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้พระกลดสีแดง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงใช้พระกลดสีม่วง มีระบาย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ก็ทรงใช้ร่มหรือฉัตรธรรมดา

สำหรับบทบวงสรวงบุรพมหากษัตริย์นั้น ราชครูวามเทพมุนีเป็นผู้อ่าน ซึ่งบทบวงสรวงนี้ อาจารย์วรพิญ สดประเสริฐ กับอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เป็นผู้ประพันธ์ มีพระนามของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลและทุกพระองค์

เพชรพระมหาวิเชียรบดีหนัก40กะรัต

พระราชพิธีในวันที่ 10 มิถุนายน คือพระราชพิธีเวียนเทียนสมโภช และพิธีการสถาปนาสมณศักดิ์ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันประกอบไปด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นทองคำลงยาประดับอัญมณี แต่สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเพชรจากอินเดียน้ำหนัก 40 กะรัตขึ้นมาประดิษฐานไว้บนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ มีความหมายว่าเป็นของหนัก เป็นภาระของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะว่าในการปกครองประเทศต้องแบกรับทั้งทุกข์ทั้งโศก โรคภัยของประชาชนทั้งประเทศด้วย ด้วยสิ่งนี้พระมหาพิชัยมงกุฎจึงมีน้ำหนัก 7.2 กิโลกรัม

ในครั้งรัชกาลที่ 1 เวลาที่ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ เสด็จฯ เทียบพระนครทางชลมารคคือทางเรือให้ประชาชนชมพระบารมี บางช่วงท่านโปรดให้เอาเชือกผูกห้อยเอาไว้กับหลังคาด้านในของเรือพระที่นั่ง เวลาที่เสด็จฯ ผ่านประชาชนจึงต้องเหยียดพระองค์ขึ้นให้พระเศียรไปเสมอกับมหามงกุฎ

ลำดับที่สองพระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม เพราะว่ามีดหรือดาบเป็นอาวุธที่มีคมด้านเดียว ด้านหนึ่งเป็นสัน ด้านหนึ่งมีคม ถ้าใครเอาด้านที่เป็นสันฟันก็ไม่ตาย ถ้าเอาด้านคมฟันก็ตาย แต่พระแสงขรรค์นั้นมีคม 2 ด้าน พลิกด้านบนและด้านล่าง ไม่มีบน ไม่มีล่าง ไม่มีซ้าย ไม่มีขวา เสมอกันหมด

ต่อไปก็คือ พระวาลวีชนีกับพระแส้จามรี ใช้ขจัดปัดเป่าให้เกิดความร่มเย็นกับประชาชนราษฎร ธารพระกรคือไม้เท้า ทำจากไม้ชัยพฤกษ์ ใช้สำหรับพยุงพระองค์ พระมหากษัตริย์ไปเยี่ยมราษฎร

ลำดับสุดท้ายคือฉลองพระบาทเชิงงอน ใช้งอนพระบาทเพื่อไม่ให้พระบาทสัมผัสแผ่นดิน เนื่องจากสมมติว่าเป็นสมมติเทพ เพราะหากพระบาทสัมผัสกับแผ่นดิน ก็จะเกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงวันนี้ ทุกพระองค์เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์โบราณมงคลนพรัตนราชวัชวราภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลแรกของไทย ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4

“เกร็ดความรู้คือในสมัยพระเจ้านะโปเลียน ที่ 3 ของฝรั่งเศสทรงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น 1 สูงสุดของฝรั่งเศสมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แต่รัชกาลที่ 4 ทรงตรัสว่าเราไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตอบแทนฝรั่งเศสเลยจะทำอย่างไรดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ขึ้น โดยใช้สายสะพายเป็นสีเหลือง แถบสองข้างเป็นสีเขียว และมีดารานพรัตน์ประดับด้วยอัญมณีพลอย 9 ประการ ส่งไปถวายพระเจ้านะโปเลียนที่ 3

พระเจ้านะโปเลียนที่ 3 จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ต่างชาติพระองค์แรกที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ และประเทศไทยก็เป็นประเทศแรกของเอเชียที่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์”

เผาใบสมิทเพื่อให้ทรงพ้นภยันตราย-โรคันตราย

ช่วงการทำพิธีบายศรีนั้น ผู้ที่อยู่ในพระราชพิธีต้องเวียนเทียน 3 ครั้ง และใช้มือขวาปัดควันออก โบกควันเข้าไปในพระมหาเศวตฉัตร เมื่อครบ 3 รอบเทียน ก็จะกลับมาที่พราหมณ์ราชครู จากนั้นราชครูจะนำไปปัก พานที่ปักเทียนบรรจุข้าวสารไม่บรรจุทราย กระถางธูปในวังจะบรรจุข้าวสารเพราะถือว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์ ไม่ใส่ทรายเพราะถือว่ามีคนเหยียบย่ำ

จากนั้นพราหมณ์ราชครูจะดับเทียนด้วยวิธีใช้ใบพลู 9 ใบ 1 เรียงแล้วดับเทียนให้สนิท แล้วใช้ใบพลูโบกควัน 3 ครั้ง ให้เข้าสู่พระมหาเศวตฉัตร ดับแล้วใช้แป้งกระแจะเจิมลงตรงกลางใบพลู แล้วพราหมณ์ราชครูเชิญแป้งบนใบพลู แล้วเชิญแป้งไปถวายเจิมที่โคนของพระมหาเศวตฉัตร ซึ่งมีผ้าสีชมพูผูกอยู่ที่โคน แถบผ้าสีชมพูนี้จะมีการถวายทุกปีในวันฉัตรมงคล ใช้ผูกของเป็นสิริมงคลสูงสุดเป็นการถวายพระพร สมโภชสิริราชสมบัติเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์

พราหมณ์ราชครูจะเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำพระมหาสังข์ น้ำเทพมนต์ ถวายใบสมิท การถวายน้ำพระมหาสังข์ ถ้ามีอาวุโสสูงกว่าก็ให้รดที่ศีรษะคนมีอาวุโสต่ำกว่า แต่เมื่อพระราชครูรดพระเจ้าอยู่หัว ก็จะถวายที่พระหัตถ์ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงรับแล้ว ก็จะทรงแตะที่เส้นพระเจ้า ที่พระเศียร จากนั้นถวายใบมะตูมมีลักษณะเป็น 3 แฉก เป็นสัญลักษณ์แทนตรีศูล ซึ่งเป็นอาวุธของพระอิศวร ในหลวงทรงเหน็บที่หูขวา พราหมณ์ถวายบังคม 3 คาบ จากนั้นก็ไปถวายบังคมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อที่จะไปถวายน้ำพระมหาสังข์ที่พระหัตถ์เช่นเดียวกัน

จากนั้นพระราชครูไปเชิญใบสมิทมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงโปรดเกล้าฯ ให้พระราชครูถวายพระพรเป็นภาษาสันสกฤต ในหลวงทรงขอให้ให้พรเบาๆ จากนั้นทรงรับใบสมิท

ใบสมิทแรกคือใบมะม่วงจำนวน 25 ใบ ทรงรับแล้วปัดพระองค์ แต่ถ้าเป็นโบราณต้องใช้คำว่าฟาดพระองค์ เอาสิ่งที่ไม่ดีภยันตราย 25 ประการ แทนที่ด้วยใบมะม่วง 25 ใบออกไปจากพระองค์ จากนั้นทรงรับใบสมิทลำดับที่ 2 เป็นใบทอง 32 ใบ แทนอุปัทวันตราย อุบัติเหตุทั้ง 32 อย่าง ฟาดพระองค์ จากนั้นทรงรับใบสมิทลำดับ 3 คือใบตะขบ 96 ใบ แทนโรคอันตราย 96 โรค ในโบราณมีโรคอันตราย 96 โรค จากนั้นราชครูจะนำเอาใบสมิทไปเผาทิ้งที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวจะแคล้วคลาดจากภยันตราย โรคันตราย จากนั้นก็ทรงพระสุหร่ายและเสด็จฯ กลับ

โปรดให้ใช้เพลงมหาชัยถวายพระเกียรติยศ

สำหรับพระราชพิธีในวันที่ 11 และ 12 มิถุนายนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงรับพระประมุขทั่วโลกที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ในหลวงทรงยื่นพระหัตถ์ให้ก่อน เพราะทรงมีอาวุโสสูงสุดกว่าพระประมุขทั่วโลก เป็นธรรมเนียมว่า ผู้น้อยจะไม่ยื่นมือไปให้ผู้อาวุโสสัมผัส

เมื่อพระประมุขทุกพระองค์เข้าประจำที่ที่พระเก้าอี้ จะทราบว่าองค์ไหนนั่งพระเก้าอี้ไหน ให้ดูที่พระเขนย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระเขนยมีครุฑแดง แต่ละราชวงศ์จะมีตราประจำอยู่

เมื่อนายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลจบแล้วเพลงสรรเสริญพระบารมีก็บรรเลงขึ้น แต่มีพระประมุขหลายชาติมิได้ทรงทราบว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงประจำของในหลวงจึงทรงผุดลุกผุดนั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งแรกไม่ได้ทรงยืน แต่เมื่อพระประมุขทั้งหลายทรงยืน พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงยืนด้วย

“เรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือเมื่อนายกฯ ถือเป็นผู้มียศต่ำสุดในสถานที่แห่งนั้น จึงกราบบังคมทูลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้พระประมุขชาติอื่นเข้าใจด้วย ในหลวงมีพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาไทย แต่หากพระประมุขอยู่กับพระประมุข ก็จะมีพระราชดำรัสเป็นภาษาของชาตินั้นๆ และจะมีคำแปลเป็นตัวหนังสือถวายก่อนหน้าหรือภายหลัง จบแล้วดนตรีบรรเลงเพลงมหาชัย อันนี้เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะมีรับสั่งว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงประจำพระองค์ ถ้ามาเปิดตอนจบแล้ว ก็แปลว่าพระประมุขทุกชาติต้องมาถวายความเคารพพระองค์ ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากพระประมุขทุกชาติมีศักดิ์เสมอกันหมด ด้วยเหตุนี้จึงโปรดให้ใช้เพลงมหาชัย ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของรัตนโกสินทร์”

พระเศวตฉัตร 9 ชั้นมีความหมาย

ส่วนพระราชพิธีจัดเลี้ยงพระประมุขทั่วโลกที่พระที่นั่งสถิตยมโหฬารนั้น พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงรับพระราชอาคันตุกะที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้ ในท้องพระโรงกลางประดิษฐานพปฎลมหาเศวตฉัตร พระที่นั่งพุฒตาลกาญจนสิงหาสน์ อยู่ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร 9 ชั้น

พระมหาเศวตฉัตร 9 ชั้นนี้ มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ของไทยเป็นใหญ่เหนือทิศทั้ง 9 ความจริงแล้วทิศมี 32 ทิศ แต่ทิศที่สำคัญมี 10 ทิศ คือทิศหลัก 4 ทิศ คือ เหนือ ใต้ ออก ตก ทิศรอง 4 ทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ ฯลฯ ทิศที่ 9 คือทิศเบื้องล่างและทิศสุดท้ายคือทิศเบื้องบน

ทิศเบื้องบนนั้นถวายเป็นสถิตแก่เทพยดาฟ้าดินทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เทพยดาฟ้าดินจึงปกปักรักษาพระมหาเศวตฉัตรของไทยให้รอดมาเป็นเอกราชจนถึงทุกวันนี้

โคมระย้าในพระที่นั่งมีตำนาน

นอกจากนี้ มี Chandelier ขนาดใหญ่ในท้องพระโรงกลาง Chandelier ช่อนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นโคมไฟระย้าที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เป็นอันเดียวที่อยู่ในทวีปเอเชีย อีก 9 อันอยู่ในยุโรปและตะวันออกกลาง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จึงได้นำมาติดตั้งอยู่ที่พระที่นั่งจักรีตลอดมา เป็นเกียรติเป็นศรีแก่ประเทศชาติตลอดมา

โคมไฟระย้า 6 คู่ในพระนั่งอมรินทรวินิจฉัยนั้นได้แต่ใดมา ?

อาจารย์เผ่าทอง เล่าว่า ในวันที่ 8 มิถุนายนนั้น มีพระราชพิธีพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ความหมายของพระราชพิธีนี้ก็คือการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่บรรพบุรุษนั่นเอง ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญมากในประเทศไทย เพราะคนไทยเราก่อนที่จะฉลอง เริ่มความสนุกสนานอะไรก็ตาม เราต้องนึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษเสียก่อนเพื่อความเป็นมงคล

พระราชพิธีนี้มีขึ้นที่พระนั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระที่นั่งองค์นี้มีโคมไฟระย้า หรือ Chandelier จำนวน 6 คู่ ซึ่งโคมไฟแก้วทั้ง 6 คู่นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งมาเพื่อติดประดับที่วังสวนสุนันทา แต่เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สวรรคต

“รัชกาลที่ 5 ทรงอาลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นำเอาโคมไฟนี้มาประกอบเข้ากับหลอดกระแสไฟฟ้าติดที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเพื่อใช้กับกระแสไฟฟ้า นับว่าเป็นโคมไฟคู่แรกที่ได้ใช้กับกระแสไฟฟ้า และพระที่นั่งนี้ก็เป็นอาคารแรกในประเทศไทย และเป็นอาคารแรกของพระบรมมหาราชวังที่มีกระแสไฟฟ้าใช้”


เมื่อเสด็จฯ ยังพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร จะมีการจำลองบุษบกมาลาจากพระที่นั่งมาประดิษฐานโดยฝีมือช่างศิลปาชีพ เป็นทองคำทั้งองค์ ประดับเพชร ฉัตร 7 ชั้นเป็นเพชร และมีหัตถกรรมไทยอีกหลายอย่างที่แสดงถึงช่างฝีมือชั้นสูงของไทย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝ่ายในร้อยขึ้น ใช้ดอกพุทธชาดในวังโบราณ ดอกเล็กๆ ละเอียด ฝอย และกลิ่นหอมมากมาร้อยเป็นรูปกระแต ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝ่ายในร้อยขึ้น สำหรับพระราชทานพระราชอาคันตุกะในวันเลี้ยงในพระที่นั่งจักรีด้วย

จานทองคำทำให้ฝรั่งเศส

จานโชว์เพลตของพระประมุขเป็นทองคำ ของทั่วไปเป็นถมเงิน จานมาจากบริษัท แซทส์ จากฝรั่งเศส แก้วเหล้ายี่ห้อ โมเซย์ จาก สาธารณรัฐเช็ก

สำหรับปกเมนูแกะสลักจากไม้โมกมันกรอบเป็นทองคำ มีพระปรมาภิไธย ภปร. ของคนอื่นเป็นทองคำลงยา แต่ของพระประมุขเป็นเพชร ท่านผู้หญิงสุพรเพ็ญ หลวงเทพ เป็นผู้ถวายงานในครั้งนี้ เราลืมไปว่าฝรั่งเป็นธรรมเนียมเก็บสะสมเมนู ท่านผู้หญิงสุพรเพ็ญเลยทำเต็มที่ พระประมุขทุกพระองค์จึงทรงนำกลับไปหมด

เมื่อพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสจบแล้วไม่ใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีแต่ใช้เพลงมหาชัย เพราะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ศักดิ์ศรีเสมอกัน ทุกพระองค์ทรงยืนถวายบังคมพระเจ้าอยู่หัว ทรงชนแก้ว สุลตาลบรูไนเป็นมุสลิม แชมเปญจะไม่มีแอลกอฮอล์ และของพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่มีแอลกอฮอล์ จากนั้นทุกพระองค์ก็ประทับพระเก้าอี้

สุลตาลบรูไนมีพระราชดำรัสตอบ โดยตามประเพณีจะต้องมีการสวดบทคัมภีร์อัลกุรอาน เพราะทรงเป็นมุสลิม หลังจากทรงอ่านจบก็จะมีพระราชดำรัสเป็นภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นก็เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี เพราะสุลตาลบรูไนมีพระราชดำรัสแทนพระมหากษัตริย์ทุกประเทศ ก็จบเหตุการณ์สำคัญทั้งหมด

เพื่อให้ปวงพสกนิกรได้ซาบซึ้งและเข้าใจราชประเพณีตลอดจนขนบธรรมเนียม ฯลฯ ไทยธนาคารมีกำหนดจะเชิญอาจารย์เผ่าทองไปเดินสายพูดเรื่องนี้อีก 6 รอบทั่วประเทศ

............................................

จากหนังสือพิมพ์ “โพสต์ทูเดย์” ฉบับวันที่ 25 มิ.ย. 2549

ข้อควรพิจารณา

1. ผมนำบทความนี้มาจากเว็บไซต์หนึ่ง ซึ่งนำมาจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์อีกต่อหนึ่ง การอ้างอิงหลาย ๆ ทอด อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ซึ่งความผิดนั้นผมขอรับไว้แต่ผู้เดียว

2. บทความดังกล่าวเป็นการสรุปใจความที่อาจารย์เผ่าทองพูดไว้ มิได้เป็นบทความที่อาจารย์เผ่าทองเขียนขึ้นมา ดังนั้น การสรุปคำพูดเป็นข้อเขียนจึงอาจเกิดความผิดพลาดของคำ เช่น สะกดผิด ใช้ราชาศัพท์ผิด ฯลฯ เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น
พระมหาวิเชียรบดี จริง ๆ คือ พระมหาวิเชียรมณี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์โบราณมงคลนพรัตนราชวัชวราภรณ์ จริง ๆ คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคล นพรัตนราชวราภรณ์

จานทองคำทำให้ฝรั่งเศส จริง ๆ คือ จานทองคำทำในฝรั่งเศส

สุลตาลบรูไน จริง ๆ คือ สุลต่านบรูไน

ฯลฯ (คาดว่าน่าจะมีอีกหลายแห่ง)

ที่ผมมิได้แก้ไขให้ถูกต้องในบทความเลย เพราะไม่แน่ใจว่าตนเองจะเข้าใจผิดหรือไม่ หากแก้ไขไปโดยไม่รู้ก็จะยิ่งเลอะกันไปใหญ่ หากคนอื่นนำไปเผยแพร่ต่อ ก็จะเข้าใจผิดกันต่อไปเป็นทอด ๆ  ผมจึงคงตามบทความที่นำมาจากเว็บไซต์ไว้ เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตให้ทุกคนได้พิจารณาไว้ครับ



จากคุณ : จางวางเต่า - [ 30 มิ.ย. 49 10:41:22 ]

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/06/K4495871/K4495871.html
ที่มา....http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=news&id=104989
« Last Edit: 05 October 2015, 14:35:14 by LAMBERG » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.045 seconds with 21 queries.