Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 22:13:47

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอริยสาวก  |  ธรรมมะจากคัมภีร์  |  เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา
0 Members and 3 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา  (Read 1550 times)
SATORI
สมาชิกกิตติคุณ
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*****
Offline Offline

Posts: 37


View Profile
« on: 27 December 2012, 00:16:39 »

เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา


คำว่า เอตทัคคะ ถือกันว่าเป็นตำแหน่งทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธศาสดาทรงประทานแต่งตั้งให้พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา. ผู้มีความรู้ความสามารถยอดเยี่ยมในด้านนั้นๆ เป็นตำแหน่งเฉพาะบุคคล ที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งเพียงรูปเดียวเท่านั้น แม้จะมีท่านอื่นๆมีความรู้ความสามารถในด้านเดียวกันก็จะไม่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาอีก

เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพุทธบริษัททั้งสี่ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่างๆ ก็ด้วยเหตุ 4 ประการคือ
1.ได้รับการยกย่องตามเรื่องที่เกิด (อตฺถุปฺปตฺติโต). หมายความว่า พระมหาสาวกรูปนั้น ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏ โดยสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2.ได้รับการยกย่องตามที่ได้สะสมบุญมาแต่ในอดีตชาติ (อาคมนฺโต). หมายความว่า พระมหาสาวกรูปนั้นได้สร้างบุญสะสมมาแต่อดีตชาติ พร้อมทั้งตั้งจิตปรารถนา เพื่อบรรลุตำแหน่งเอตทัคคะนั้นด้วย
3.ได้รับการยกย่องตามความเชี่ยวชาญ (จิณฺณวสิโต). หมายความว่า พระมหาสาวกรูปนั้น มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษ
4.ได้รับการยกย่องตามที่มีความสามารถเหนือผู้อื่น (คุณาติเรกโต). หมายความว่า พระมหาสาวกรูปนั้นๆมีความสามารถในเรื่องที่ทำให้ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะเหนือกว่าพระสาวกรูปอื่นๆที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน



๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ.  เอตทัคคะในทางรัตตัญญู

พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านโทณวัตถุ อันไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ"โกณฑัญญะ". เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ได้ศึกษาศิลปวิทยาจบไตรเพท (คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของพราหมณ์อันได้แก่ ฤคเวท(อิรุพเพท)ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า. ยชุรเวท(ยชุพเพท) บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่างๆ สามเวท ซึ่งประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ) และวิชาการทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ

ร่วมทำนายพระลักษณะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้5วัน กระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาได้เชิญพราหมณ์108คนมาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีทำนายพระลัษณะตามราชประเพณี ให้คัดเลือกพราหมณ์ผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษจาก108คนนั้นเหลือ8คน.และมีพราหมณ์โกณฑัญญะอยู่ในจำนวน8คนนั้นด้วย ในบรรดาพราหมณ์ทั้ง8คนนั้น พราหมณ์โกณฑัญญะมีอายุน้อยที่สุดจึงทำนายเป็นคนสุดท้าย
ฝ่ายพราหมณ์7คนแรกได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะอย่างละเอียด เห็นถูกต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะพยากรณศาสตร์ครบทุกประการแล้ว จึงชูนิ้วมือขึ้น2นิ้ว เป็นสัญลักษณ์ในการทำนายเป็น2นัยเหมือนกันทั้งหมดว่า
"พระราชกุมารนี้ ถ้าดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปราบปรามได้รับชัยชนะทั่วปฐพีมณฑล โดยอุบายอันชอบธรรม. แต่ถ้าออกบรรพชาประพฤติพรตพรหมจรรย์ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกในโลก แนะนำสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่มีศาสดาอื่นยิ่งไปกว่า"
ส่วนพราหมณ์โกณฑัญญะ ได้สั่งสมบารมีมาครบถ้วนตั้งแต่อดีตชาติ และการเกิดในภพนี้ก็เป็นภพสุดท้าย จึงมีปัญญามากกว่าพราหมณ์ทั้7คนแรก ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของพระกุมารโดยละเอียดแล้ว ได้ชูนิ้วมือขึ้นเพียงนิ้วเดียวเป็นการยืนยันการพยากรณ์อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นนัยเดียวเท่านั้นว่า
"พระราชกุมารผู้บริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะอย่างนี้ จะไม่อยู่ครองเพศฆราวาสอย่างแน่นอน จักต้องเสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมิต้องสงสัย"

ออกบวชติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ
ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาถึง29ปี เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายที่ร่วมทำนายพระลักษณะ. ต่างก็ล่วงลับดับสังขารไปตามอายุขัย เหลือแต่โกณฑัญญะพราหมณ์เพียงผู้เดียว. เมื่อโกณฑัญญะพราหมณ์ทราบข่าวว่ามหาบุรุษออกบวชก็ดีใจ เพราะตรงกับคำทำนายของตน จึงรีบไปชวนบุตรของพราหมณ์ทั้7คนที่ร่วมทำนายด้วยกันน่ั้นโดยกล่าวว่า
"บัดนี้เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จออกบรรพชาแล้ว พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้าแน่นอน ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็คงจะออกบวชด้วยกันกับเรา ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะบวช ก็จงบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษพร้อมกันเถิด"
บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งบิดาเคยสั่งว่า ถ้าพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะออกบวช ก็จงออกบวชตามด้วยเถิด แต่พวกเขายอมออกบวชเพียง4คนคือ. วัปปะ ภัททิยะ. มหานามะ. และ อัสสชิ. โกณฑัญญะพราหมณ์จึงพาทั้4พร้อมทั้งตนด้วย. รวมเป็น5 ได้นามบัญญัติว่า "ปัญจวัคคีย์". ออกบวชสืบเสาะติดตามถามหาพระมหาบุรุษไปตามสถานที่่ต่างๆ จนมาพบพระองค์กำลังบำเพ็ญความเพียรอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ด้วยความมั่นใจว่า พระองค์จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างแน่นอน. จึงพากันเข้าไปอยู่เฝ้า ทำกิจวัตรอุปัฏฐากด้วยการจัดน้ำใช้น้ำฉัน และปัดกวาดเสนาสนะ เป็นต้น. ด้วยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดพวกตนให้รู้ตามบ้าง
เมื่อพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกขกิริยาอย่างอุกฤษฎ์. ด้วยการกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (ฟันบนกับฟันล่างขบกัน). กดพระตาลุด้วยพระชิวหา (กดเพดานด้วยลิ้น). กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ (กลั้นลมหายใจเข้าออก). และสุดท้ายทรงอดพระกระยาหาร. รวมเวลาทั้งสิ้นนานถึง6 ปี จนเกือบสิ้นพระชนม์ ก็ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลใดๆ จึงทรงพระดำริว่า. "เราทำความเพียรถึงปานนี้ก็ยังไม่บรรลุมรรคผลใดๆ. วิธีการปฏิบัติอย่างนี้คงจะมิใช่ทางตรัสรู้เป็นแน่". จากนั้นพนะองค์ก็ทรงรำลึกถึงการบำเพ็ญเพียรทางจิต. จึงทรงเลิกละความเพียรด้วยวิธีทรมานกาย. หันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต. เลิกอดพระกระยาหาร กลับมาเสวยตามเดิม เพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง

ปัญจวัคคีย์ปลีกตัวหลีกหนี
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ ผู้มีความเลื่อมใสในการปฏบัติแบบทรมานร่างกาย. ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ละความเพียรนั้นแล้ว ก็รู้สึกหมดหวังจึงพากันหลีกหนี ทิ้งพระโพธิสัตว์ให้ประทับอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว. พากันเที่ยวสัญจรไปพักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. กรุงพาราณสี
ครั้นพระโพธิสัตว์ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว. ทรงพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา และตรัสรู้ตามได้โดยเร็ว
ในตอนแรก พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษาคือ อาฬารดาบส กาลามโคตร. แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้7วันแล้ว. และอีกท่านหนึ่งคือ อุทกดาบส รามบุตร. แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณว่า ท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เอง
ต่อจากนั้น. พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อสมัยบำเพ็ญทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง5 พักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ นั่งสนทนากันอยู่ เห็นพระพุทธองค์เสด็จมาแต่ไกล เข้าใจว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปัฏฐาก จึงทำกติกากันว่า จะไม่ควรไหว้ ไม่ควรลุกขึ้นต้อนรับ ไม่รับทั้งบาตรและจีวรของพระองค์. เพียงแต่จัดอาสนะไว้เท่านั้นก็พอ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ต่างก็ลืมกติกาที่นัดหมายกันไว้. กลับทำการต้อนรับเป็นอย่างดีดังที่เคยทำมา. แต่ก็ยังใช้คำทักทายว่า "อาวุโส". และเรียกพระนามว่า "โคดม" อันเป็นถ้อยคำที่แสดงความไม่เคารพ ดังนั้น พระพุทธองค์ทรงห้ามแล้วตรัสว่า
"อย่าเลย. พวกเธออย่ากล่ลวอย่างนั้น. บัดนี้ ตถาคตได้บรรลุอมฤตธรรมเองโดยชอบแล้ว เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงให้ฟัง. เมื่อเธอปฏิบัติตามที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็จะบรรลุอมฤตธรรมนั้น"
"อาวุโสโคดม. แม้พระองค์บำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฎ์เห็นปานนั้น ก็ยังไม่บรรลุธรรมพิเศษอันใด บัดนี้พระองค์คลายความเพียรนั้นแล้ว หันมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมาก แล้วจะบรรลุอมฤตธรรมได้อย่างไร?"
พระพุทธองค์ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ให้ระลึกถึงความหลังว่า
"ท่านทั้งหลาย. จำได้หรือไม่ว่า. วาจาเช่นนี้. เราเคยพูดกับท่านบ้างหรือไม่"
ปัญจวัคคีย์ระลึกขึ้นได้ว่า พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย. จึงยินยอมพร้อมใจกันฟังพระธรรมเทศนาโดยเคารพ

ฟังปฐมเทศนา
พระพุทธองค์ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณแก่พวกปัญจวัคคีย์. โดยตรัสพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา ซึ่งเนื้อความในพระธรรมเทศนานี้ พระพุทธองค์ทรงตำหนิหนทางปฏิบัติอันไร้ประโยชย์2 ทางที่บรรพชิตไม่ควรเสพคือ การปฏิบัติที่ย่อหย่อนเกินไป. แสวงหาแต่กามสุข เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นกิจของคนกิเลสหนา มิใช่ทางตรัสรู้ หาประโยชน์มิได้. และการปฏิบัติตนให้ได้รับความลำบาก เคร่งครัดเกินไป กระทำตนให้ได้รับความทุกข์ทรมาน ไม่ใช่ทาชแห่งความหลุดพ้น
จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสชี้แนะวิธีปฏิบัติแบบ "มัชฌิมาปฏิปทา".

คือ การปฏิบัติแบบกลางๆ ไม่ย่อหย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป
ดำเนินตามทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกร่า "อริยอัฏฐังคิกมรรค" คือทางที่ประกอบด้วยองค์8ประการอันประเสริฐ. เรียกอย่างสามัญว่า มรรคมีองค์8

เมื่อจบพระธรรมเทศนา. "ธรรมจักษุ" คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา. สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา"
พระพุทธองค์ทรงทราบว่า โกญฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว ทรงพอพระทัย จึงเปล่งอุทานด้วยพระดำรัสว่า
"อญฺญาสิ. วตโภ โกณฺฑญฺโญ. อญฺญาสิ. วตโภ โกณฺฑญฺโญ"
แปลว่า. "โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ. โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ"
ด้วยพระพุทธดำรัสนี้ คำว่า"อัญญา" จึงเป็นคำนำหน้าชื่อของท่านโกณฑัญญะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนเป็นที่รู้ทั่วกันว่า "พระอัญญาโกณฑัญญะ"

พระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา
ต่อจากนั้น ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ด้วยพระดำรัสว่า
"เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"

ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ โกณฑัญญะก็สำเร็จเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นพระสงฆ์รูปแรกในโลก และการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา". ภิกษุผู้ได้รับการบวชด้วยวิธีนี้ เรียกว่า. "เอหิภิกขุ"

วันต่อๆมา ท่านที่เหลืออีก4ท่าน ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันตามลำดับคือ. วันแรม1ค่ำ พระวัปปะ. วันแรม2ค่ำ พระภัททิยะ. วันแรม3ค่ำ พระมหานามะ. วันแรม4ค่ำ พระอัสสชิ. และอุปสมบทในวันที่ได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น. ครั้นถึงวันแรม5ค่ำเดือน8 พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระปัญจวัคคีย์มีญาณแก่กล้า พอที่จะบรรลุธรรมเบื้องสูงได้แล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนา "อนัตตลักขณสูตร". คือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่า. เป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน. โปรดพระปัญจวัคคีย์. เมื่อจบพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอเลขบุคคลด้วยกันทั้งหมด. ขณะนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก6รูป รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย
ในพรรษานั้น มีบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสีชื่อ "ยสะ" พร้อมด้วยสหายอีก54คน เข้ามาบวช และไดิสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด. รวมแล้วพรรษาแรกนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 61รูป

ได้รับยกย่องทางรัตตัญญู
พระอัญญาโกณฑัญญะ. เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว. พระพุทธองค์ทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนาพร้อมกับพระสาวกรุ่นแรกจำนวน 60 รูป ท่านได้เดินทางไปยังบ้านเดิมของท่าน. ได้นำหลานชายชื่อ"ปุณณมันตานี" ซึ่งเป็นบุตรของนางมันตานี ผู้เป็นน้องสาวของท่านมาบวช และได้สำเร็จอรหัต เป็นพระอรหันต์ เป็นกระสาวกองค์สำคัญในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า "พระปุณณมันตานีบุตรเถระ"
เพราะความที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะเป็นพระเถระ. ผู้มีอายุพรรษากาลมาก. มีประสบการณ์มาก จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง "ผู้รัตตัญญู". หมายถึง "ผู้รู้ราตรีนาน"

บั้นปลายชีวิต
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบหลีกเร้นอยู่ในสถานที่อันวิเวกตามลำพัง. ในคัมภีร์มโนรถปูรณี และคัมภีร์ธุรัตถวิลาสินี กล่าวไว้ตรงกันว่า. เป็นเวลา 12ปี. ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษา ณ ป่าหิมพานต์ตามลำพัง. นอกจากต้องการความสงบดังกล่าวแล้ว ยังมีเหตุผลส่วนตัวของท่านอีก3 ประการคือ
1.ท่านไม่ประสงค์จะเห็นพระอัครสาวกคือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานเถระ. ผู้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยแบ่งเบาภาระของพระพุทธองค์. ในกิจการพระศาสนาด้านต่างๆ ที่ต้องมาแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระผู้เฒ่าชราอย่างท่าน ซึ่งสังขารนับวันจะร่วงโรย และใกล้แตกดับเข้าไปทุกขณะ
2.ท่านได้รับความเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก ที่ต้องคอยต้อนรับผู้ไปมาหาสู่ ซึ่งมีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ การอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านจึงไม่เหมาะสมสำหรับพระแก่ชราอย่างท่าน
3.ท่านเบื่อหน่ายในความดื้อรั้นของพระสัทธิวิหาริกรุ่นหลังๆ ที่มักประพฤตินอกลู่นอกทาง. ห่างไกลจากการบรรลุมรรคผล

ท่านได้อยู่จำพรรษาในป่าหิมพานต์ บริเวณใกล้สระฉัททันต์ เป็นเวลานาน 12 ปี. วันที่ท่านจะนิพพาน ท่านพิจารณาอายุสังขารแล้ว ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อกราบทูลลานิพพาน ครั้นพระพุทธองค์ประทานอนุญาตแล้ว ท่านเดินทางกลับยังป่าหิมพานต์ และนิพพานในบรรณศาลาที่พักริมสระฉัททันต์นั้น. พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมาก ได้เสด็จไปทำฌาปนกิจศพให้ท่าน...



๒. พระอุรุเวลกัสสปเถระ.  เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก


พระอุรุเวลกัสสปะ. เกิดในตระกูลพราหมณ์กัสสปโคตร. มีน้องชาย 2 คน คือชื่อกัสสปะเหมือนกัน เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ได้ศึกษาจบไตรเพทมีความรู้ความสามารถอบรมสั่งสอนวิชาไตรเพทแก่มาณพเป็นจำนวนมาก. ชื่อเสียงเกียรติคุณฟุ้งขจรไป จนมีมาณพจากทั่วสารทิศยอมตนเข้ามาเป็นศิษย์เป็นบริวารของกัสสปะทั้ง 3 พี่น้องจำนวนมาก. ซึ่งแต่ละคนนั้นมีจำนวนบริวารแตกต่างกัน ดังนี้
กัสสปะพี่ชายคนโตนั้มีบริวาร 500 คน. กัสสปะคนกลางมีบริวาร 300 คน และกัสสปะคนเล็กสุดท้องมีบริวาร 200 คน

บวชเป็นฤาษีชฎิล

ต่อมา ทั้ง 3 พี่น้องมีความเห็นตรงกันว่า. "ลัทธิที่พวกตนนับถืออยู่นั้นไม่มีแก่นสาร".  จึงพากันออกบวชเป็นฤาษีชฎิล เกล้าผมเซิง บำเพ็ญพรตบูชาไฟ ตั้งอาศรมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตามลำดับกัน
พี่ชายคนโต ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตอนเหนือ ณ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า "อุรุเวลกัสสปะ". น้องชายคนกลาง ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำถัดไป ณ ตำบลนที. จึงได้ชื่อว่า "นทีกัสสปะ".  ส่วนน้องชายคนเล็ก ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำ ณ ตำบลคยา  จึงได้ชื่อว่า " คยากัสสปะ"

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และจำพรรษาแรก ที่ป่าอิสิปตมฤคทายวัน ในพรรษานั้น มีพระสงฆ์สาวกผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์จำนวน 60 รูป. เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระบรมศาสดาได้ส่งพระสาวกทั้ง 60 รูปนั้น ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังถิ่นต่างๆ. ส่วนพระองค์เองเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม

ในระหว่างทาง เสด็จเข้าไปประทับพักผ่อนภายใต้ร่มไม้ริมทางในไร่ฝ้าย ขณะนั้นมีพระราชกุมาร 30 พระองค์. ผู้ได้นามว่า " ภัททวัคคีย์" ได้พาภรรยาไปเที่ยวหาความสุขสำราญในราชอุทยาน. ราชกุมารองค์หนึ่งไม่มีภรรยา จึงพาหญิงโสเภณีไปเป็นคู่เที่ยว. เมื่อพวกราชกุมารกำลังเพลิดเพลินสนุกสนานกันอยู่นั้น. หญิงโสเภณีได้ขโมยของมีค่าหนีไป พวกราชกุมารออกติดตามหา ได้พบพระผู้มีพระภาคที่ไร่ฝ้าย จึงเข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลถามว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  พระองค์เห็นหญิงคนหนึ่งผ่านมาทางนี้บ้างหรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า"

"พวกท่านเห็นว่า. การแสวงหาหญิงกับการแสวงหาสิ่งประเสริฐในตน.  สิ่งไหนจะดีกว่ากัน?"

"แสวงหาสิ่งประเสริฐในตนดีกว่า. พระพุทธเจ้าข้า"

"ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงนั่งลง ตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง"

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา และอริยสัจสี่ ให้ฟัง  จนทั้งหมดได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบัน ถึงชั้นพระสกทาคามี. และพระอนาคามีทุกพระองค์. จากนั้น พระพุทธองค์ประทานการบรรพชาอุปสมบทให้แล้ว. ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา
พระบรมศาสดา เสด็จต่อไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เสด็จเข้าไปยังสำนักของอุรุเวลกัสสปะ. ตรัสขอพักอาศัยสักหนึ่ชราตรี แต่อุรุเวลกัสสปะเห็นว่าเป็นนักบวชต่างลัทธิ. จึงบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีสถานที่ให้พัก พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
"ธรรมดาว่า โคย่อมเข้าไปสู่ฝูงโค นักบวชก็ย่อมเข้าไปสู่สำนักของนักบวช. ถ้าท่านไม่มีความหนักใจ. ตถาคตจะขอพักอาศัยอยู่ในโรงไฟ ซึ่งเป็นที่บูชายัญของท่านนั้น"

" ท่านมหาสมณะ เรามิได้หนักใจเลย ถ้าท่านจะพักในที่นั้น. แต่ว่ามีพญานาคดุร้ายและมีพิษมากอยู่ในโรงไฟนั้น เกรงว่าท่านจะได้รับอันตรายถึงชีวิตก็ได้"

เมื่ออุรุเวลกัสสปะไม่ขัดข้อง. พระพุทธองค์จึงเสด็จเข้าไปในโรงไฟ ทรงพิจารณาตรวจดูสถานที่อันสมควรแล้วประทับนั่งสมาธิเจริญกรรมฐาน
ฝ่ายพญานาค เห็นผู้แปลกหน้าผิดกลิ่นเข้ามาในโรงไฟของตนก็โกรธ. จึงพ่นพิษออกมาเป็นควันไฟอบอวลทั่วทั้งโรงไฟ หวังจะทำอันตรายให้สิ้นชีวิต  แต่พระพุทธองค์ทรงแสดงพุทธานุภาพให้ปรากฏ ด้วยการบันดาลให้ควันไฟกลับไป สัมผัสเนื้อ หนัง เอ็น และกระดูกของพญานาค ทำให้ฤทธิ์เดชของพญานาคเหือดหายไป บังเกิดความเจ็บปวดขึ้นมาแทน


แสดงพุทธานุภาพข่มอุรุเวลกัสสปะ

ในราตรีนั้น พระพุทธองค์ทรงทรมานพญานาคด้วยวิธีต่างๆ ทรงเข้าเตโชกสิณสมาบัติบันดาลให้เปลวไฟรุ่งโรจน์ โชตนาการทั่วโรงไฟ. เหล่าชฎิลทั้งหลายต่างมองดูด้วยความดีใจว่า
"พระสมณะ คงจะวอดวายในกองเพลิง ด้วยพิษของพญานาคอย่างแน่นอน"
ในที่สุด พระพุทธองค์ก็ทรงปราบพญานาคจนหมดฤทธิ์โดยสิ้นเชิง แล้วจับเอาลงไปขดไว้ในบาตร

รุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะพาศิษย์ชฎิลมาตรวจดู เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น. จึงคิดว่า
"พระสมณะนี้มีอานุภาพมาก สามารถปราบพญานาคให้พ่ายแพ้ได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา"
คิดดังนี้แล้ว จึงยังมิยอมรับนับถือ แต่ในส่วนลึกของจิตใจก็รู้สึกเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์. จึงนิมนต์ให้พัก

วันต่อมา พระพุทธองค์เสด็จเข้าไปประทับที่ชายป่าใกล้ๆอาศรมของอุรุเวลกัสสปะนั้น ในยามราตรีของแต่ละคืน ได้มีทวยเทพเทวาตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชทั้ง4 ท้าวโกสีย์เทวราช และท้าวสหัมบดีพรหม ต่างก็มาเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ได้เปล่งรัศมีส่องสว่างทั่วทั้งไพรสณฑ์ ยังความฉงนสนเท่ห์ให้เกิดแก่อุรุเวลกัสสปะและบริวารเป็นอย่างยิ่ง ครั้นรุ่งเช้า ได้กราบทูลถามเหตุที่มาของแสงสว่างนั้น เมื่อได้ทราบเนื้อความตลอดแล้วรู้สึกศรัทธาเลื่อมใสยิ่งขึ้นแต่ก็ยังดำริอยู่ในใจว่า
"อานุภาพของพระสมณโคดมนี้ยิ่งใหญ่หาผู้เปรียบมิได้ แม้แต่เทพยดาทุกชั้นฟ้า ยังมาเข้าเฝ้าเพื่อขอฟังธรรม แต่ถึงจะยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม ก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเช่นเรา"
ครั้นต่อมาวันหนึ่ง เกิดพายุฝนตกลงมาอย่างหนักจนน้ำท่วมบริเวณอาศรม พวกชฎิลต้องขึ้นไปอยู่บนเรือและต่างพากันคิดว่า "พระสมณะคงถูกกระแสน้ำพัดหายไปแล้ว". จึงพายเรือมาดู เห็นผิวน้ำเป็นช่องว่างวงกลมมีฝุ่นฟุ้งขึ้นมา เห็นพระบรมศาสดาเสด็จเดินจงกรมอยู่ จึงกราบทูลอาราธนาให้เสด็จขึ้นมาบนเรือ


อุรุเวลกัสสปะกีดกันลาภสักการะ

ประเพณีของสำนักอุรุเวลกัสสปะนั้นจะมีเทศกาลที่ประชาชนชาวแคว้นอังคะนำของกินของใช้ต่างๆ จำนวนมากมาถวายพวกชฎิล กลางคืนก่อนจะถึงวันเทศกาลนั้น. อุรุเวลกัสสปะเกิดความวิตกกังวลว่า ถ้าประชาชนเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระสมณโคดมแล้ว ก็จะพากันเลื่อมใส พวกเราก็จะเสื่อมจากลาภสักการะ จะทำอย่างไรดีหนอ ประชาชนจึงจะไม่ได้เห็นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระสมโคดม เขากังวลอย่างนี้จนนอนไม่หลับ
พระบรมศาสดา ทรงทราบวารจิตของอุรุเวลกัสสปะด้วยเจโตปริยญาณ คือการรู้ใจผู้อื่น. พอรุ่งเช้า จึงเสด็จไปยังอุตตรกุรุทวีป ทรงจาริกบิณฑบาตทำภัตกิจที่สระอโนดาด และทรงพักผ่อน ณ ที่นั้นตลอดทั้งวัน. ครั้นเวลาเย็นจึงเสด็จกลับไปยังที่พักใกล้สำนักอุรุเวลกัสสปะ. วันต่อมาเวลาเช้า. อุรุเวลกัสสปะเข้าไปทูลถามว่า เมื่อวันวานพระองค์เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่ไหน เมื่อได้ฟังพระดำรัสตรัสบอกโดยตลอดแล้วรู้สึกตกใจและคิดอยู่ในใจว่า " พระสมณโคดมนี้ มีอานุภาพมากเหลือเกิน รู้กระทั่งจิตใจคนอื่น แต่ถึงกระนั้นก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา"


อุรุเวลกัสสปะละลัทธิเดิม

พระบรมศาสดา ทรงพักอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ เป็นเวลาถึง 2 เดือน ทรงแสดงอิทธิฤิทธิ์ปาฏิหาริย์ ทรมานอุรุเวลกัสสปะชฎิลหลายประการ. แต่อุรุเวลกัสสปะ ผู้มีสันดานกระด้าง มีทิฐิแรงกล้า ยังถือตนเองว่าเป็นพระอรหันต์อยู่เช่นเดิม
พระพุทธองค์ทรงดำริว่า. "ตถาคต จะยังโมฆบุรุษชฎิลนี้. ให้เกิดความสลดสังเวช". ดังนี้แล้วจึงตรัสว่า
"กัสสปะ. ตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์. ทางปฏิบัติของท่านยังห่างไกลต่อการสำเร็จเป็นพระอรหันต์ยิ่งนัก มิใช่ทางมรรคผลอันใดเลย. ไฉนท่านจึงถือตนว่าเป็นพระอรหันต์ ท่านลวงตนเองแล้วยังลวงคนอื่นอีก. ถ้าท่านรู้สึกสำนึกตัว และปฏิบัติตามคำสอนของเรา ท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ที่แท้จริงในไม่ช้า"

อุรุเวลกัสสปะ ได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็รู้สึกสลดใจ ก้มศีรษะลงกราบพระบาทแล้วทูลขออุปสมบท. พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
"กัสสปะ. ท่านเป็นอาจารย์เจ้าสำนักที่ยิ่งใหญ่ มีบริวารมากถึง 500 คน ท่านจงบอกให้บริวารเหล่านั้นทราบทั่วกันก่อน. ตถาคตจึงจะอุปสมบทให้"
อุรุเวลกัสสปะ จึงประกาศชักชวนชฎิลบริวารของตนทั้งหมด พากันลอยบริขารดาบส มีเครื่องแต่งผมทำเป็นชฎา และเครื่องบูชาเพลิง เป็นต้น ลงในแม่น้ำ แล้วทูลขออุปสมบท. พระศาสดาประทานการอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา พร้อมกันทั้งหมด
ฝ่ายนทีกัสสปะและคยากัสสปะ น้องชายทั้งสองคน ซึ่งตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตอนใต้ลงไปตามลำดับ เห็นบริขารของพี่ชายลอยมาตามน้ำ ทำให้คิดว่า. "อันตรายคงจะเกิดมีแก่พี่ชายของตน". จึงพร้อมด้วยบริวารรีบมาที่สำนักของพี่ชาย. เห็นพี่ชายอยู่ในเพศพระภิกษุ. จึงสอบถามได้ความว่า "พรหมจรรย์นี้. ประเสริฐยิ่งนัก". จึงพากันลอยบริขารลงในแม่น้ำแล้วขออุปสมบทด้วยกันทั้งหมด


ฟังอาทิตตตปริยายสูตร

พระพุทธองค์ ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พอสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว จึงเสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุชฎิลเหล่านั้น. จำนวน 1,003 รูป. ไปยังตำบลคตาสีสะ และประทับอยู่ ณ ที่นั้น ทรงพิจารณาเห็นอินทรีย์ของภิกษุใหม่แก่กล้าแล้ว. จึงตรัสเรียกท่านเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนา "อาทิตตปริยายสูตร". ทรงเปรียบเทียบสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนดุจเดียวกับไฟ. เพื่อให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของพวกเธอ ที่เคยบูชาไฟมาก่อน ทรงแสดงถึงอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เป็นของร้อน อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส. โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ เป็นของร้อน. และความรู้สึกว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์. เพราะตาเห็นรูป. หรือหูได้ยินเสียง เป็นต้น ก็เป็นของร้อน

ใจความโดยสรุป ก็คือ. เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส และใจกระทบอารมณ์ แล้วทำให้เกิดความเร่าร้อน. ร้อนเพราะราคะ โทสะ. และโมหะ เป็นต้น. ผู้ได้สดับและรู้เท่าทันกิเลสเหล่านี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวง. เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด. เมื่อคลายกำหนัดแล้ว จิตก็ไม่ยึดมั่นไม่ถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น

ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิลทั้ 1,003 รูป ส่งกระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จิตของพวกเธอก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง สำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพด้วยกันทั้งหมด


ตามเสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

พระอุรุเวลกัสสปะ. เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ช่วยกิจการพระพุทธศาสนา และช่วยแบ่งเบาภาระของพระบรมศาสดาได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ใหม่ๆ ได้ติดตามเสด็จพระบรมศาสดา ไปยังเมืองราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทับ ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์ และคฤหบดีชาวเมืองมคธ จำนวน 12 นหุตะ (1นหุตะ เท่ากับ 1หมื่น บางแห่งว่า 12 นหุตะ คือหมิ่น) เสด็จเข้ามาเฝ้า กราบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วประทับนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่พระองค์. ส่วนบริวารที่ติดตามมาเหล่านั้น ต่างก็แสดงกิริยาอาการต่างๆกัน คือ บางพวกก็ถวายบังคม บางพวกก็กราบทูลสนทนา บางพวกก็ประกาศชื่อและตระกูลของตน บางพวกก็นั่งเฉยๆ เป็นต้น. ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะคนเหล่านั้นยังไม่แน่ใจว่า ระหว่างพระบรมศาสดากับอุรุเวลกัสสปะนั้น ใครเป็นศิษย์ ใครเป็นอาจารย์กันแน่ เพราะว่าอุรุเวลกัสสปะก็เป็นเจ้าสำนักใหญ่ มีคนเคารพนับถือมากมาย และได้รับยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

พระพุทธองค์ทรงทราบวารจิตและความคิดของคนเหล่านั้นเป็นอย่าชดี เพื่อปลดเปลื้องความสงสัยของคนเหล่านั้น จึงตรัสถามพระอุรุเวลกัสสปะว่า
"กัสสปะ เธออยู่ในอุรุเวลาเสนานิคมมานาน เป็นอาจารย์สั่งสอนชฎิลให้บำเพ็ญพรต จนซูบผอม เธอเห็นโทษอะไรหรือ จึงเลิกละการบูชานั้นเสีย?"

พระอุรุเวลกัสสปะ เมื่อได้ฟังพุทธดำรัสแล้ว ก็ทราบถึงพุทธประสงค์ดี จึงน้อมนมัสการกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค การบูชายัญทั้งหลาย ล้วนแต่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งกามคุณ มีรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นของร้อน บัดนี้ ข้าพระองค์ได้รู้ชัดแล้วว่า ความรักใคร่ ความพอใจในกามคุณเหล่านั้น เป็นมลทิน ทำใจให้เศร้าหมอง ก่อให้เกิดกิเลสและความทุกข์ จึงละทิ้งการบูชาไฟนั้นเสีย บัดนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นธรรมอันสงบระงับแล้วพระเจ้าข้า". ครั้นแล้ว พระเถระได้ซบศีรษะลงแทบพระบาทของพระพุทธองค์ แล้วประกาศว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เป็นศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกของพระองค์"

จากกิริยาอาการและถ้อยคำของพระเถระนั้น ทำให้บริวารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมดเหล่านั้นหายสงสัย น้อมจิตลงเพื่อฟังพระธรรมเทศนา จากนั้นพระบรมศาสดาจึงทรงแสดง "อนุปุพพิกถา". และ "อริยสัจ4" ให้ฟัง

เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร 11 นหุตะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนอีก 1 นหุตะ ดำรงอยู่ในไตรสมณคมน์ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ


ได้รับยกย่องในทางผู้มีบริวารมาก

พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม อันเป็นธรรมะสำหรับผู้ใหญ่ใช้ปกครองดูแลบริวารให้มีความสุข ซึ่งประกอบด้วย
1.เมตตา. ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
2.กรุณา. ความสงสทร ปรารถนาจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3.มุทิตา. ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4.อุเบกขา. ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ

ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ และอีกทั้งรู้จักบำรุงจิตใจสงเคราะห์บริวารด้วยหลักธรรมและวัตถุสิ่งของ จึงทำให้ท่านสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจบริวารไว้ได้ เป็นที่รักเคารพของบริวาร และก็เป็นพุทธสาวกรูปเดียวที่มีบริวารมากที่สุด พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าพระสาวกทั้งปวง "ในฝ่ายผู้มีบริวารมาก"

ท่านดำรงอายุสังขารสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.



๓. พระสารีบุตรเถระ  เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา

พระสารีบุตรเถระ เกิดในตระกูลพราหมณ์ หมู่บ้านอุปติสสคาม เขตตำบลนาลันทา ใกล้ๆกรุงราชคฤห์. บิดาของท่านชื่อ วังคันตะ เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน มารดาชื่อ นางสารี. ชื่อเดิมของท่านคือ อุปติสสะ. แต่เพราะเป็นบุตรของนางสารี. จึงนิยมเรียกกันว่า"สารีบุตร"  ท่านเป็นบุตรชายคนโต มีน้องชาย3คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ เรวตะ. มีน้องสาวอีก3คนชื่อ จาลา อุปจาลา. สีสุปจาลา รวมเป็น7คนพี่น้อง
ใกล้ๆหมู่บ้านอุปติสสคาม ตำบลนาลันทานั้น มีอีกหมู่บ้ายหนึ่งชื่อ โกลิตคาม มีพราหมณ์ชื่อโกลิตะ เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน มีภรรยาชื่อนางโมคคัลลี มีบุตรชื่อโกลิตะ เหมือนชื่อบิดา และชื่อหมู่บ้าน แต่นิยมเรียกกันว่า.  "โมคคัลลานะ" ตามชื่อของมารดา

ทั้งสองตระกูลนี้ มีความเกี่ยวข้องเป็นสหายกันมานานถึง7ชั่วอายุคน ดังนั้นมาณพทั้งสองคือ "อุปติสสมาณพ" และ "โกลิตมาณพ" จึงเป็นสหายกันดุจบรรพบุรุษ มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์คนเดียวกัน เมื่อจบการศึกษาก็เป็นเพื่อนเที่ยวร่วมสุขร่วมทุกข์ หาความสนุกความสำราญ ดูการเล่นมหรสพตามประสาวัยรุ่น และให้รางวัลแก่ผู้แสดงบ้างตามโอกาสอันควร จะไปในที่ใดก็จะมีบริวารฝ่ายละ500คน ติดตามห้อมล้อมไปด้วยเสมอ

เบื่อโลกจึงออกบวช
วันหนึ่ง สหายทั้งสองพร้อมด้วยบริวารไปดูมหรสพด้วยกันเช่นเคย แต่ครั้งนี้มิได้มีความสนุกยินดี เบิกบานใจเหมือนครั้งก่อนๆเลย ทั้2 มีความคิดตรงกันว่า" ทั้งคนแสดงและคนดู ต่างก็มีอายุไม่ถึง100ปื ก็จะตายกันหมด ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลยกับการแสวงหาความสุขสำราญแบบนี้ เราควรแสวงหาโมกขธรรมความหลุดพ้น จะประเสริฐกว่า". ทั้ง2 เมื่อทราบความรู้สึกและความประสงค์ของงกันและกันแล้ว จึงตกลงกันนำบริวารฝ่ายละครึ่ง รวมกันได้500 คนออกบวช และปรึกษากันว่า "พวกเราควรจะไปบวชในสำนักของใคร และอาจารย์ไหนจึงจะดี"

สมัยนั้น  สญชัยปริพาชก  (เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร  หนึ่งในครูทั้งหก  นิยมเรียกว่า สญชัยปริพาชก   คำว่า"ปริพาชก" คือ นักบวชนอกพุทธศาสนาเพศชาย  ถ้าเพศหญิงเรียก ปริพาชิกา)   เป็นอาจารย์เจ้าสำนักใหญ้ในเมืองราชคฤห์  มีคนเคารพนับถือ  และมีศิษย์มีบริวารจำนวนมาก  มาณพทั้ง ๒ จึงพากันเข้าไปขอบวช  ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักนี้


   สำนักของสญชัยปริพาชกนั้น  ตั้งแต่มาณพทั้ง ๒ มาบวชอยู่ด้วยแล้ว ก็เจริญรุ่งเรืองด้วยลาภสักการะ และคนเคารพนับถือมากขึ้น  มาณพทั้ง ๒ ศึกษาอยู่ในสำนักนี้ไม่นาน  ก็สิ้นความรู้ของอาจารย์  เมื่อถามถึงวิทยาการที่สูงขึ้นไปอีก  อาจารย์ก็ไม่สามารถจะสอนให้ได้  จึงปรึกษากันว่า


   "การบวชอยู่ในสำนักนี้ไม่มีประโยชน์อะไร  ลัทธินี้มิใช่ทางเข้าถึงโมกขธรรม  เราควรพยายามแสวงหาอาจารย์  ผู้สามารถแสดงโมกขงธรรมแก่เราได้  จะประเสริฐกว่า  ดังนั้น  เราควรทำสัญญาต่อกันว่า  ในระหว่างเราทั้ง ๒  ถ้าผู้ใดได้อมฤตธรรมก่อน  ผู้นั้นจงบอกแก่กันให้รู้ด้วย


   วันหนึ่ง  พระอัสสชิ ซึ่งเป็นรูปหนึ่งในจำนวนพระปัญจวัคคีย์  ที่พระพุทธองค์ทรงส่งไปประกาศพระศาสนา ได้จาริกมาถึงกรุงราชคฤห์ และเข้าไปบิณฑบาตในเมือง   อุปติสสปริพาชก ออกจากอารามมาด้วยกิจธุระภายนอก  เห็นพระเถระแสดงออกซึ่งปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส  จะก้าวไปหรือถอยกลับ จะเหยียดแขนหรือพับแขน จะเหลียวซ้ายแลขวา  ดูน่าเลื่อมใสเรียบร้อยไปทุกอิริยาบถ ทอดจักษุแต่พอประมาณ  มีอาการแปลกจากบรรพชิตที่เคยเห็นมาแต่กาลก่อน  แต่ก็มิอาจที่จะถามได้  เพราะมิใช่กาลเวลาอันสมควร  จึงเดินตามไปห่าง ๆ


   เมื่อพระเถระได้รับอาหารพอสมควรแล้ว  จึงออกไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง  เพื่อทำภัตกิจ  อุปติสสปริพาชก จึงได้จัดผ้าสาฏกของตนปูลาดเป็นอาสนะให้ท่านนั่ง ถวายน้ำใช้น้ำฉัน และคอยเฝ้าปฏิบัติอยู่ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว  จึงกราบเรียนถามด้วยความเคารพว่า

"ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ  อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก  ผิวพรรณของท่านก็หมดจดผ่องใส  ท่านบวชในสำนักของใคร  ผู้ใดเป็นศาสดาของท่าน และท่านชอบใจธรรมะของใคร?"


   พระเถระตอบว่า "ปริพาชกผู้มีอายุ  เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะเชื้อสายศากยบุตร  ผู้เสด็จออกจากศากยสกุล  พระองค์เป็นศาสดาของเรา  เราชอบใจธรรมะของท่าน"


   "พระศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร ขอรับ?"


   พระเถระคิดว่า ธรรมดาปริพาชกทั้งหลาย  ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อพระศาสนา  ควรที่เราจะแสดงความลึกซึ้งคัมภีรภาพแห่งพระธรรม   จึงกล่าวว่า


   "ผู้มีอายุ  เราเป็นผู้บวชใหม่  มาสู่พระธรรมวินัยนี้ไม่นาน  ไม่สามารถจะแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดารได้  เราจักกล่าวแก่ท่านแต่โดยย่อพอรู้ความ"


   "ท่านสมณะ  ท่านจงกล่าวแต่เนื้อความเถิด  ข้าพเจ้าต้องการเฉพาะเนื้อความเท่านั้น ขอรับ"


พระอัสสชิเถระ ได้ฟังคำของอุปติสสปริพาชกแล้ว  จึงกล่าวหัวข้อธรรม มีใจความว่า


   เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา          เตสํ  เหตุ  ตถาคโต


   เตสญฺจ  โย  นิโรโธ จ          เอวํวาที   มหาสมโณ.


   "ธรรมเหล่าใด  มีเหตุเป็นแดนเกิด  พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น  และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้"


   อุปติสสะ เพียงได้ฟังหัวข้อธรรมนี้จากพระเถระเท่านั้น ก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน  เกิดธรรมจักษุคือ ดวงตาเห็นธรรมความรู้แจ่มแจ้งว่า


   "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา"


   ดังนี้แล้วถามว่า


   "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  เวลานี้พระบรมศาสดาของเรา ประทับอยู่ที่ไหน ขอรับ?"


   "ผู้มีอายุ  พระองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร"


   "ถ้าอย่างนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าไปก่อนเถิด  ข้าพเจ้าจะกลับไปหาสหายก่อน และจะพากันไปเฝ้าพระบรมศาสดาต่อภายหลัง"


อุปติสสะ กราบลาพระเถระแล้ว ทำประทักษิณ ๓ รอบ แล้วรีบกลับไปยังสำนักปริพาชก  ส่วน โกลิตะ  ผู้เป็นสหาย  เห็นอุปติสสะเดินมาแต่ไกล ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ผิวพรรณมีสง่าราศีกว่าวันอื่น ๆ จึงคิดว่า  "วันนี้ สหายของเรา คงได้พบอมฤตธรรมเป็นแน่"  เมื่อสหายเข้ามาถึง จึงรีบสอบถาม  ก็ได้ความตามที่คิดนั้น และเมื่ออุปติสสะแสดงหัวข้อธรรมให้ฟัง  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นเดียวกัน   ทั้งสองสหาย ตกลงที่จะพาบริวารไปเฝ้าพระบรมศาสดา  จึงเข้าไปหาอาจารย์สญชัยปริพาชก ชักชวนให้ร่วมเดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน


   แต่อาจารย์สญชัยปริพาชก ผู้มีทิฐิแรงกล้าถือตนว่า เป็นเจ้าสำนักใหญ่ มีคนเคารพนับถือมากมาย ไม่สามารถที่จะลดตัวลงไปเป็นศิษย์ใครได้ จึงไม่ยอมไปด้วย


   ศิษย์ทั้งสองอ้อนวอนว่า  "ท่านอาจารย์ขอรับ  เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก  เปรียบดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นส่องสว่าง  คนทั้งหลายจะหลั่งไหลไปฟังธรรม  แล้วท่านอาจารย์จะอยู่ได้อย่างไร?"


   "ท่านทั้งสอง  เราขอถามท่านว่า  ในโลกทุกวันนี้  มีคนโง่มากหรือคนฉลาดมาก?"


   "มีคนโง่มาก ขอรับ ท่านอาจารย์"


   "ถ้าอย่างนั้น  คนโง่จะมายังสำนักของเรา  ส่วนคนฉลาดจะไปสำนักของพระสมณโคดม  เราจะอยู่ต้อนรับคนโง่  ท่านทั้งสองจงไปกันเถิด  เราไปด้วยไม่ได้"


   สองสหายพาปริพาชกผู้เป็นบริวารของตน ๕๐๐ คน ออกจากสำนักไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เวฬุวันวิหาร  แต่มีบริวารส่วนหนึ่งจำนวน ๒๕๐ คน สมัครใจอยู่ในสำนักของอาจารย์สญชัย  จึงขอแยกตัวกลับไป


   สญชัยปริพาชก พอเห็นศิษย์ในสำนักออกไปคราวเดียวกันมากขนาดนั้น  เห็นสำนักเกือบจะว่างเปล่า  เหลือศิษย์อยู่เพียงไม่กี่คน  จึงเกิดความเสียใจอย่างแรงจนกระอักเลือด และถึงแก่มรณกรรมในเวลาต่อมา


อุปติสสะ และ โกลิตะ พร้อมด้วยบริวารพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร  ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัทสี่  ได้ทอดพระเนครเห็นสองสหายพร้อมด้วยบริวารเดินมาแต่ไกล  จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า


   "ภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกสองสหายที่กำลังเดินมานั้น คือ คู่อัครสาวกของตถาคต"


   เมื่อปริพาชกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารมาถึงที่ประทับ  กราบถวายบังคมแล้วนั่งในที่อันสมควร  ได้สดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว  บรรดาบริวารทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตตผล  เว้น อุปติสสะและโกลิตะ ผู้เป็นหัวหน้า


   ต่อจากนั้น  พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทแก่ทั้งหมด ด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"  โดยตรัสแก่อุปติสสะและโกลิตะว่า "จงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำทุกข์ให้หมดสิ้นไปเถิด"    ส่วนบริวาร  พระพุทืธองค์ตรัสว่า  "จงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด"   


   แล้วทรงบัญญัตินามให้ท่านอุปติสสะว่า  "พระสารีบุตร"  และให้ท่านโกลิตะว่า "พระโมคคัลลานะ"  ตามมงคลนามของมารดา


พระสารีบุตร หลังจากอุปสมบทแล้วได้ ๑๕ วัน  ได้ติดตามพระพุทธองค์ ซึ่งเสด็จไปประทับพักผ่อนพระอิริยาบถที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง ขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา ที่ภูเขาคิชฌกูฏนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งนามว่า  ทีฆนขะ ซึ่งเป็นอัคคิเวสนโคตร และเป็นหลานชายของพระสารีบุตร  เที่ยวติดตามหาลุงจนพบ  ได้เข้าเฝ้ากราบทูลถามถึงทิฐิ คือ ความเห็นของตนต่อพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพระองค์ ๆ ไม่ชอบใจหมดทุกสิ่ง"


   "ปริพาชก  ถ้าอย่างนั้น  ทิฐิคือความเห็นเช่นนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ปริพาชกด้วย  และปริพาชกก็ต้องไม่ชอบทิฐินั้นด้วยเหมือนกัน"


   ลำดับต่อจากนั้น  พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า "เวทนาปริคคหสูตร" ทรงแสดงถึงเวทนาทั้ง ๓ คือ


   "ในเวลาใด  เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนา คือความรู้สึกเป็นสุข  เวลานั้น  ย่อมไม่ได้เสวยทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา"


   "ในเวลาใด เมื่อบุคคลเสวยทุกขเวทนา คือความรู้สึกเป็นทุกข์  เวลานั้น  ย่อมไม่ได้เสวยสุขเวทนา และ อุเบกขาเวทนา"


   "ในเวลาใด  เมื่อบุคคลเสวยอุเบกขาเวทนา  เวลานั้น ย่อมไม่ได้เสวยสุขเวทนาและทุกขเวทนา"


   ขณะที่พระบรมศาสนาทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดทีฆนขะอยู่นั้น  พระสารีบุตรได้นั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์  คือด้านหลังพระศาสดา  พัดไปพลาง ฟังไปพลาง ส่งจิตพิจารณาไปตามกระแสธรรมเทศนานั้นต  จิตก็หลุดพ้นจากอาสวกิเลส  บรรลุพระอรหัตตผล  ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ  ประหนึ่งว่าบริโภคอาหารที่บุคคลจัดให้คนอื่น  ส่วน ทีฆนขะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล  แสดงตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา


ได้รับยกย่องในทางผู้มีปัญญา


   เมื่อพระสารีบุตร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว  ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถแสดงพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร และอริยสัจ๔ ได้เหมือนพระพุทธองค์ และเป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศเผยแผ่พระศาสนา ดังนั้น ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์นั้น ได้ทรงประกาศยกย่อง พระสารีบุตรในท่ามกลางสงฆ์  ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ  เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีปัญญา  และทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอัครสาวกเบื้องขวา


   นอกจากนี้ ในกาลต่อ ๆ มา ด้วยความสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมของพระเถระในด้านอื่น ๆ  พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านอีกหลายประการ กล่าวคือ


   ๑.เป็นผู้มีปัญญา อนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตด้วยกัน  เช่น สมัยที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เมืองเทวหะ  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลลาไปปัจฉาภูมิชนบท  ทรงรับสั่งให้ไปลาพระสารีบุตรก่อน เพื่อท่านจะได้แนะนำสั่งสอน มิให้เกิดความเสียหายในระหว่างการเดินทางและในสถานที่ที่ไปนั้นด้วย


   ๒.ยกย่องท่านเป็น "พระธรรมเสนาบดี"  ซึ่งคู่กับ  "พระธรรมราชา" คือพระองค์เอง


   ๓.ยกย่องท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ  เช่น  ท่านนับถือพระอัสสชิเป็นอาจารย์  เพราะท่านเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาด้วยการฟังธรรมจากพระอัสสชิ  ทุกคืนก่อนที่ท่านจะนอน  ท่านได้ทราบข่าวว่า พระอัสสชิอยู่ทางทิศใด  ท่านจะนมัสการไปทางทิศนั้นก่อนแล้วจึงนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น


   อีกเรื่องหนึ่งคือ  พราหมณ์ชราชื่อราธะ  มีศรัทธาจะอุปสมบท แต่ไม่มีภิกษุรูปใดรับเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้  พระพุทธองค์ตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่า  "ผู้ใดระลึกถึงอุปการคุณของพราหฟมณ์นี้ได้บ้าง" พรพระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า  "ระลึกได้ คือ ครั้งหนึ่งราธพราหมณ์ผู้นี้ได้เคยใส่บาตร ด้วยข้าวสุกแก่ท่านหนึ่งทัพพี"  พระพุทธองค์จึงทรงมอบให้ท่านพระสารีบุตร เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทให้แก่             ราธพราหมณ์


ถูกภิกษุหนุ่มฟ้อง


   พระเถระนับว่าเป็นผู้มีขันติธรรมความอดทนสูงยิ่ง  มีจิตสงบราบเรียบ ไม่หวั่นไหวด้วยอารมณ์ต่าง ๆ  ดังเรื่องในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต  และในธรรมบทว่า


   สมัยหนึ่ง พระเถระเมื่อออกพรรษาแล้ว มีความประสงค์จะเที่ยวจาริกไปยังชนบทต่าง ๆ  กราบทูลลาพระผู้มีพระภาคแล้ว  ออกจากพระเชตวนาราม  พร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวารของท่าน ขณะนั้น ก็มีภิกษุอีกจำนวนมากออกมาส่งพระเถระ  และพระเถระก็ทักทายปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น ด้วยอัธยาศัยไมตรี  ก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่พวกเธอเป็นอย่างยิ่ง   แต่มีภิกษุรูปหนึ่ง  ซึ่งพระเถระไม่ทันได้สังเกตเห็น จึงมิได้ทักทายด้วย  ก็เกิดความน้อยใจและรู้สึกโกรธพระเถระ  บังเอิญชายผ้าสังฆาฏิของพระเถระ  สบัดพลิ้วไปกระทบภิกษุรูปนั้นเข้า  โดยที่พระเถระไม่ทราบ  ภิกษุรูปนั้น จึงถือเอาเหตุนี้เข้าไปกราบทูลฟ้องต่อพระบรมศาสดาว่า


   "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระสารีบุตรเถระ เดินกระทบข้าพระองค์ แล้วไม่กล่าวขอโทษ  เพราะด้วยสำคัญว่าตนเป็นอัครสาวกของพระพุทธองค์ พระเจ้าข้า"


   พระพุทธองค์ แม้จะทรงทราบเป็นอย่างดี  แต่เพื่อให้เรื่องนี้ปรากฏแก่ที่ประชุมสงฆ์ จึงรับสั่งให้พระเถระเข้าเฝ้าแล้ว ตรัสถามเรื่องราวโดยตลอด


   เปรียบตนด้วยอุปมา ๙ อย่าง


   พระเถระมิได้กราบทูลปฏิเสธโดยตรงในที่ประชุมสงฆ์นั้น  แต่ได้อุปมาเปรียบเทียบตนเองเหมือนสิ่งของ ๙ อย่าง คือ..


   ๑-๔..เหมือน ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม  ซึ่งถูกของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ทิ้งใส่ แต่ก็ไม่รังเกียจ ไม่เบื่อหน่าย ไม่หวั่นไหว


   ๕.เหมือนเด็กจัณฑาล ที่มีความสงบเสงี่ยมเจียมตัวอยู่เสมอ เวลาเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ


   ๖.เหมือนโค ทื่ถูกตัดเขา  ฝึกหัดมาดีแล้ว  ย่อมไม่ทำร้ายใคร ๆ


   ๗.เหมือนผ้าขี้ริ้ว  สำหรับเช็ดฝุ่นละอองของสะอาดบ้าง  ไม่สะอาดบ้าง


   ๘.เบื่อหน่าย อึดอัดกายของตน เหมือนซากงู (ลอกคราบ)


   ๙.บริหารกายของตน เหมือนคนแบกหม้อน้ำมันที่รั่วทะลุ จึงมีน้ำมันไหลออกอยู่


   เมื่อพระเถระ กราบทูลอุปมาตนเองเหมือนเด็กจัณฑาล   เหมือนผ้าขี้ริ้ว เป็นต้น  ภิกษุปุถุชน ถึงกับตื้นตัน ไม่อาจอดกลั้นน้ำตาได้  พระขีณาสพก็เกิดธรรมสังเวช ส่วนภิกษุผู้กล่าวฟ้องก็เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย  หมอบกราบลงแทบพระบาทของพระศาสดา  แล้วกล่าวขอขมาโทษต่อพระเถระ


ถูกกล่าวหาว่ากราบไหว้ทิศ


   สมัยหนึ่ง  เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน  ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นปุถุชนและบวชได้ไม่นาน  สังเกตเห็นพระสารีบุตรเถระ  ก่อนนอนท่านจะประนมมือประคองอัญชลี  แล้วกราบอย่างนอบน้อม บางคืนกราบไปทางทิศเหนือ  บางคืนกราบไปทางทิศใต้  บางคืนกราบไปทางทิศตะวันออก  บางคืนกราบไปทางทิศตะวันตก  แล้วจึงนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น ๆ  จึงพากันเข้าใจว่า พระสารีบุตรนี้ยังเป็นมิจฉาทิฐิ กราบไหว้ทิศทั้งหลายอยู่  แล้วพากันเข้าเฝ้ากราบทูลความแด่พระผู้มีพระภาค


   พระพุทธองค์ แม้จะทรงทราบความมุ่งหมายการกระทำของพระเถระเป็นอย่างดี  แต่เพื่อประกาศความเป็นผู้ทรงคุณธรรมของพระเถระให้ปรากฏ จึงรับสั่งให้เรียกพระเถระมาเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามว่า


   "สารีบุตร  ทราบว่า เธอยังกราบนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่อีกหรือ?"


   พระเถระทราบพุทธประสงค์ที่ทรงถามเช่นนั้น  จึงกราบทูลว่า


   "พระพุทธเจ้าข้า  ข้าพระองค์มิได้กระทำการนอบน้อมทิศทั้งหลาย  แต่ที่ข้าพระองค์กระทำนั้น  เพราะทราบว่า  พระอัสสชิเถระ ผู้เป็นพระอาจารย์ สอนธรรมแก่ข้าพระองค์จนได้บรรลุโสดาปัตติผล  ท่านอยู่ทางทิศนั้น  ข้าพระองค์จึงกราบนอบน้อมพระอาจารย์  เพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงก่อน แล้วจึงนอน หันศีรษะไปทางทิศที่อาจารย์สถิตอยู่นั้น พระพุทธเจ้าข้า"


   พระพุทธองค์ ตรัสยกย่องชมเชยพระสารีบุตรเถระเป็นอันมากแล้ว  ตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาพระเถระเป็นแบบอย่าง  จงกระทำการเคารพนอบน้อมต่ออาจารย์ผู้อบรมสั่งสอน ดังเช่นพระสารีบุตรปฏิบัตินั้น


พระเถระถูกพราหมณ์ตี


   พระเถระผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติคุณธรรมต่าง ๆ ชื่อเสียงฟุ้งขจรไปทั่วชมพูทวีป  บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันยกย่องสรรเสริญในจริยาวัตรของท่าน  คุณธรรมอันเป็นเลิศอีกประการหนึ่งของพระเถระก็คือ ความไม่โกรธ  ไม่มีใครจะสามารถทำให้ท่านโกรธได้  แม้ท่านจะถูกพวกมิจฉาทิฐิตำหนิ  ด่าหรือตี  ท่านก็ไม่เคยโกรธ  ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง ต้องการจะทดลองคุณธรรมของท่านว่าจะสมจริงดังคำร่ำลือหรือไม่


   วันหนึ่ง  พระเถระกำลังเดินบิณฑบาตในหมู่บ้าน  พราหมณ์นั้นได้โอกาส จึงเดินตามไปข้างหลังแล้ว ใช้ฝ่ามือตีเต็มแรงที่กลางหลังของพระเถระ


   พระเถระยังคงเดินไปตามปกติ  เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  ไม่แสดงอาการแม้สักว่าเหลียวกลับมามองดู


   ขณะนั้น ความเร่าร้อนเกิดขึ้นทั่วสรีระของพราหมณ์นั้น  เขาตกใจมาก รีบหมอบกราบลงแทบเท้าพระเถระ  พร้อมกับกล่าววิงวอนให้พระเถระยกโทษให้  พระเถระจึงถามว่า


   "พราหมณ์  นี่อะไรกันล่ะ?"


   "พระคุณเจ้า  กระผมตีท่านที่ข้างหลังเมื่อสักครู่นี้ ขอรับ"


   "พราหมณ์  เอาละ  ช่างเถิด  เรายกโทษให้"


   "พระคุณเจ้า  ถ้าท่านยกโทษให้กระผมจริง  ก็ขอนิมนต์ ท่านเข้าไปฉันภัตตาหารในบ้านของกระผมด้วยเถิดขอรับ"


พระเถระส่งบาตรให้พราหมณ์นั้น แล้วเดินตามเข้าไปฉันภัตตาหารในบ้านของพราหมณ์ตามคำอาราธนา


   คนทั้งหลายเห็นพราหมณ์ตีพระเถระแล้ว  ก็รู้สึกโกรธ  จึงพากันถือท่อนไ-ม้และก้อนหิน  มายืนรอโอกาส เพื่อจะทำร้ายพราหมณ์นั้น   พระเถระ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ส่งบาตรให้พราหมณ์ถือเดินตามออกมา คนทั้งหลายเห็นพราหมณ์นั้นถือบาตรเดินตามพระเถระออกมา  ก็ไม่กล้าทำอะไร  ได้แต่พากันพูดว่า  "พระเถระถูกพราหมณ์ตีแล้ว  ยังเข้าไปฉันภัตตาหารในบ้านของเขาอีก"  พระเถระเห็นหมู่คนมีท่อนไม้และก้อนหินในมือ ยืนรอกันอยู่ จึงถามว่า


   "ท่านทั้งหลาย  นี่เรื่องอะไรกัน?"


   "พระคุณเจ้า  พราหมณ์ผู้นี้ตีท่าน ดังนั้น  พวกเราจะทำร้ายเขา เพื่อเป็นการทำโทษเขา ขอรับ"


   "ก็พราหมณ์ผู้นี้  ตีพวกท่านหรือตีอาตมาเล่า?"


   "ตีพระคุณเจ้า ขอรับ"


   "เมื่อเขาตีอาตมา  และอาตมาก็ยกโทษให้เขาแล้ว  ดังนั้น  โทษคือความผิดของเขาจึงไม่มี  พวกท่านจะทำโทษเขาด้วยเร่ื่องอะไร?"


   พวกคนเหล่านั้น ฟังคำของพระเถระแล้ว  ไม่มีคำพูดอะไรที่่จะนำมาโต้แย้งได้  จึงพากันหลีกไป


พระเถระถูกนันทกยักษ์ทุบ


   


   สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์  ส่วนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานเถระ  อัครสาวกทั้ง๒ ได้ปลีกตัวจาริกไปอยู่ ณ กโปตกันทราวิหาร  (วิหารที่สร้างใกล้ซอกเขา ซึ่งเป็นที่อยู่ของนกพิราบ)


   


   ในดิถีคืนเดือนเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง พระสารีบุตรเถระ ซึ่งปลงผมใหม่ ๆ นั่งเข้าสมาธิอยู่ในที่กลางแจ้ง  ขณะนั้นมียักษ์ ๒ ตนผ่านมาทางนั้น  ยักษ์ตนหนึ่งชื่อ นันทกะ เป็นมิจฉาทิฐิ  ส่วนยักษ์อีกตนหนึ่ง เป็นสัมมาทิฐิ เคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัย


   ยักษ์นันทกะเห็นพระเถระแล้ว ก็นึกอยากจะตีที่ศีรษะของท่าน จึงบอกความประสงค์ของตนกับสหาย  แม้ยักษ์ผู้เป็นสหายจะกล่าวห้ามปรามถึง ๓ ครั้ง


   "อย่าเลยสหาย  อย่าทำร้ายสมณศากยบุตรพุทธสาวกเลย  สมณะรูปนี้ มีคุณธรรมสูงยิ่งนัก มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก"


   ยักษ์นันทกะ ไม่เชื่อคำห้ามปรามของสหาย  ใช้ไม่กระบองประจำกายตีพระเถระที่สีรษะอย่างเต็มแรง  ซึ่งความแรงนั้นสามารถทำให้ช้างสูง ๘ ศอกจมดินได้ หรือามารถทำลายยอดภูเขาขนาดใหญ่ให้ทลายลงได้  และในทันใดนั้นเอง  เจ้ายักษ์มิจฉาทิฐินตนนั้นก็ร้องลั่นว่า "โอ๊ย..ร้อนเหลือเกิน"  พอสิ้นเสียง  ร่างของมันก็จมลงในแผ่นดิน  เข้าไปสู่ประตูมหานรกอเวจี ณ ที่นั้นเอง


   


   เหตุการณ์ครั้งนี้  พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้เห็นโดยตลอดด้วยทิพยจักษุ  รุ่งเช้าจึงเข้าไปหาพระสารีบุตรเถระ แล้วถามว่า


   "ท่านสารีบุตร ยังสบายดีอยู่หือ ที่ยักษ์ตีท่านนั้น อาการเป็นอย่างไรบ้าง?"


   "ท่านโมคคัลลานะ  ผมสบายดี แต่รู้สึกเจ็บที่ศีรษะนิดหน่อย"


   พระโมคคัลลานะ ได้ฟังแล้วก็กล่าวว่า


   "น่าอัศจรรย์จริง ๆ  ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย  ท่านสารีบุตรนี่มีฤทธิ์มาก  มีอานุภาพมากจริง ๆ ถูกยักษ์ตีรุนแรงขนาดนี้  ยังบอกว่าเพียงแค่เจ็บที่ศีรษะนิดหน่อย"


   ส่วนพระสารีบุตร ก็กล่าวชมพระมหาโมคคัลลานะว่า


   "ช่างน่าอัศจรรย์เช่นกัน  ท่านโมคคัลลานะ ท่านก็มีฤทธานุภาพมาก หาผู้เสมอเหมือนมิได้  ท่านเห็นแม้กระทั่งยักษ์  ส่วนผมเอง แม้แต่ปีศาจคลุกฝุ่นสักตนก็ยังไม่เคยเห็นเลย"


   


   พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับเสียงการสนทนาของพระเถระทั้งสอง ด้วยพระโสตทิพย์  จึงทรงเปล่งพุทธอุทานนี้ว่า


   "ผู้ใดมีจิตตั้งมั่น  ไม่หวั่นไหวดุจภูเขา


   ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด


   ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันชวนให้ขัดเคือง


   ผู้อบรมจิตได้ขนาดนี้  ความทุกข์จะมีได้อย่างไร"


ถูกโยมมารดาด่า


   วันหนึ่ง พระเถระพาภิกษุบริวาร ประมาณ๕๐๐รูป ไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้ไปถึงบ้านของโยมมารดา และนางได้นิมนต์ให้ริวารขึ้นไปฉันภัตท่านพร้อมด้วยภิกษุบริวารขึ้นไปฉันภัตตาหาร

นางได้นิมนต์ให้ท่านพร้อมด้วยภิกษุบริวารขึ้นไปฉันภัตตาหารบนบ้าน นางถวายอาหารพระเถระพร้อมกับด่าไปด้วยว่า  "ท่านผู้เจริญ  ท่านไม่ได้อาหารและน้ำข้าวที่เป็นเดน ก็สมควรจะกินน้ำข้าวที่ติดอยู่หลังกระบวยในเรือนคนอื่น  ท่านสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิออกไปบวช  ทำให้ตระกูลของเราต้องฉิบหาย"   จากนั้น นางได้ถวายอาหารแก่ภิกษุทั้งหลาย  พร้อมกับพูดว่า ภิกษุเหล่านั้นว่า  "พวกท่านพาลูกของฉันไปเป็นคนรับใช้"


   พระเถระกับภิกษุบริวาร ฉันภัตตาหารแล้ว ก็พากันกลับยังเวฬุวัน


   ลำดับนั้น  พระราหุลเถระ ได้นำภัตตาหารเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค  พระพุทธองค์ทรงตรัสถามว่า


   "ราหุล  พวกเธอไปที่ไหนกันมา?"


   "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พวกข้าพระองค์ไปที่บ้านของย่า พระเจ้าข้า"


   "ก็อุปัชฌาย์ของเธอ ถูกย่าว่าล่าวอย่างไรบ้าง?"


   "พระอุปัชฌาย์ ถูกย่าด่าอย่างนี้ ๆ  พระเจ้าข้า"


   "แล้วอุปัชฌาย์ของเธอว่าอย่างไร?"


   "ไม่ว่าอะไร ๆ เลย พระเจ้าข้า"


เป็นต้นแบบของการทำสังคายนา


    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมองปาวา ของเจ้ามัลละทั้งหลาย  พระพุทธองค์รับสั่งให้พระสารีบุตรแสดงธรรม แก่หมู่ภิกษุสงฆ์ที่มาประชุมกัน  พระเถระเห็นเป็นโอกาสอันเหมาะสม  จึงยกเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นแก่พวกนิครนถ์  ซึ่งทเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องความเห็นไม่ลงรอยกน  เกี่ยวกับคำสอนของอาจารย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว  ขึ้นมาเป็นมูลเหตุ  แล้วกล่าวแก่พระสงฆ์ในสมาคมนันว่า

"ท่านทั้งหลาย บรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ท่านทั้งหลายพึงร้อยกรองให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ควรทะเลาะวิวาทกันด้วยธรรมนั้น  เพื่อให้พรหมจรรย์อยู่ยั่งยืนตลอดกาลนาน อันจะนำมาซึ่งประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เป็นการอนุเคราะห์แก่สัตว์โลก "


   แล้วพระเถระก็จำแนกหัวข้อธรรมออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ ๑๐ หมวด  สะดวกแก่การจดจำและสาธยาย  และจัดเป็นหมวดย่อย ๆ อีก เพื่อมิให้สับสนแก่พุทธบริษัทในการที่จะนำไปฏิบัติ  นับว่าพระเถระเป็นผู้มองการณ์ไกล  ป้องกันความสับสนแตกแยกของพุทธบริษัทในภายหลัง


   และการกระทำของพระเถระในครั้งนี้  ได้เป็นแบบอย่างของการทำสัคายนา  หลังพุทธปรินิพพาน สืบต่อมา


   


   กราบทูลลานิพพาน


   


   ในปัจฉิมโพธิกาล  ขณะที่พระบรมศาสดาประทับ ณ พระวิหารเชตวัน  เมืองสาวัตถี  พระสารีบุตรถวายวัตรปฏิบัติแด่พระบรมศาสดา  แล้วกราบทูลลาไปสู่ที่พักของตนนั่งสมาธิเข้สมาบัติ  เมื่อออกจากสมาบัติ แล้วพิจารณาตรึกตรองว่า  "ธรรมดาประเพณีแต่โบราณมา  พระบรมศาสดาทรงนิพพานก่อน  หรือพระอัครสาวกนิพพานก่อน"    ก็ทราบแน่ชัดในใจว่า    "พระอัครสาวกนิพพานก่อน"


   จากนั้น ได้พิจารณาอายุสังขารของตนเองก็ทราบว่า  "จะมีอายุดำรงอยู่ได้อีก ๗ วันเท่านั้น"   จึงพิจารณาต่อไปว่า  "เราควรจะไปนิพพานที่ไหนดีหนอ  "    และพระเถระก็นึกถึงพระราหุลว่า  พระราหุลไปนิพพานที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์  ที่ดาวดึงสเทวโลก   พระอัญญาโกณฑัญญะ ไปนิพพานที่สระฉัททันต์  ป่าหิมพานต์"  ลำดับนั้น  พระเถระได้ปรารภถึงมารดาของตนว่า...


   "มารดาของเรานี้  ได้เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์  ถึงกระนั้นก็ยังไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย  แล้วอุปนิสัยมรรคผลจะพึงมีแก่มารดาของเราบ้างหรือไม่หนอ?"


   ครั้นพระเถระพิจารณาไปก็ได้ทราบว่า  "มารดานั้นมีอุปนิสัยแห่งพะโสดาบัน"    จึงตกลงใจที่จะไปนิพพานที่บ้านของตน  เพื่อโปรดมารดาเป็นวาระสุดท้าย


   เมื่อคิดดังนี้แล้ว  พระเถระได้สั่งให้พระจุนทะ ผู้เป็นน้องชาย ให้ไปแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ว่า   "เราจะไปเยี่ยมมารดาที่นาลันทา  ขอให้ภิกษุทั้งหลายเตรียมบริขารให้พร้อม เพื่อเดินทางไปด้วยกัน"  จากนั้น "พระเถระก็ทำความสะอาด ปัดกวาดกุฏิที่พักอาศัยของตน  ซึ่งเรื่องนี้ ท่านถืออย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้นักบวชนอกศาสนาถือเป็นเหตุติเตียนว่า สาวกของพระสมณโคดมละเลยการดูแลเสนาสนะ  เมื่อปัดกวาดเสนาสนะเรียบร้อยแล้ว ออกมายืนดูข้างนอก  พลางกล่าวว่า   "การได้เห็นที่พักอาศัยครั้งนี้เป้นปัจฉิมทัศนา  โอกาสที่จะได้กลับมาเห็นอีกนั้นไม่มีอีกแล้ว"   เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว   พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร  ก็พาพระสงฆ์เหล่านั้นไปเฝ้าพระบรมศาสดา  กราบทูลลาว่า


   "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  บัดนี้  ชีวิตของข้าพระองค์เหลืออีกเพียง ๗ วันเท่านั้น  ข้าพระองค์ขอถวายบังคมลานิพพาน  ขอพระองค์ทรงพระกรุณาอนุญาตให้ข้าพระองค์สละอายุสังขารในครั้งนี้ด้วยเถิด  พระพุทธเจ้าข้า"


   "สารีบุตร  เธอจะไปนิพพานที่ไหน?"


   "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  ข้าพระองค์จะไปนิพพาน ณ ห้องทีข้าพระองค์เกิดในเรือนของมารดา  พระพุทธเจ้าข้า"


   "สารีบุตร  เธอจงกำหนดการนั้นโดยควรเถิด  สารีบุตร  บรรดาภิกษุน้อง ๆ ของเธอ  จะได้เห็นพี่ชายดุจเธอนั้นได้ยากยิ่ง   เธอจงแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกแก่ภิกษุน้อง ๆ ของเธอเหล่านั้นเถิด"


พระเถระเมื่อได้รับพุทธประทานโอกาสเช่นนั้น  จึงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศสูง ๑ ชั่วลำตาล  จนถึง ๗ ชั่วลำตาลโดยลำดับ  แล้วกลับลงมา  ถวายบังคมพระบรมศาสดาในแต่ละครั้ง  จากนั้นจึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย  ณ ท่ามกลางอากาศแล้วลงมาถวายบังคมลาพระผู้มีพระภาค  คลานถอยออกจากพระคนธกุฎี


   ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระดำเนินออกมาส่งพระเถระถึงหน้าพระคันธกุฏี  พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กระทำประทักษิณเวียน ๓ รอบแล้ว ประคองอัญลีนมัสการทั้ง ๔ ทิศ พลางกราบทูลลาว่า


   "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  ในที่สุดอสงไขยแสนกัปล่วงมาแล้ว  ข้าพระองค์ได้ห มอบลงแทบพระบาทแห่งพระอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้ตั้งปณิธานปรารถนาพบพระองค  และแล้วมโนรถของข้าพระพุทธเจ้าก็สำเร็จสมประสงค์ตั้งแต่ได้เห็นพระองค์เป็นปฐมทัศนา  บัดนี้ การได้เห็นพระองค์ ผู้เป็นนาถะของข้าพระพุทธเจ้าเป็นปัจฉิมทัศนา  โอกาสที่จะได้เห็นพระองค์ ไม่มีอีกแล้ว"


   พระเถระกราบทูลเพียงเท่านี้แล้ว ถวายบังคมออกไปได้ระยะพอสมควร ก้มกราบนมัสการลงที่พื้นพสุธา บ่ายหน้าออกจากพระเชตวันมหาวิหาร พร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวาร ๕๐๐ รูป  ท่านพระเถระเดินทาง ๗ วันก็ถึงบ้านนาลันทา  หยุดพักภายใต้ร่มไม้ใกล้หมู่บ้านนั้น  และในเย็นวันนั้น  อุปเรวัตตกุมาร  ผู้เป็นหลานชายของท่าน ออกมานอกบ้าน พบท่านแล้วจึงเข้าไปนมัสการ  พระเถระสั่งหลานชายให้ไปแจ้งแก่โยมมารดาให้ทราบว่า "ขณะนี้ท่านมาพักอยู่นอกบ้าน ให้จัดห้องที่ท่านเกิดไว้ให้ท่านด้วย"


   ฝ่ายนางพราหมณี มารดาของพระเถระได้ทราบข่าวก็ดีใจ คิดว่า "ลูกชายบวชตั้งแต่หนุ่ม คงจะเบื่อหน่ายแล้วมาสึกเอาตอนแก่"  จึงสั่งให้คนรีบจัดห้องให้พระลูกชายพัก  และสถานที่สำหรับพระสงฆ์ที่ติดตามมาด้วยเหล่านั้น  เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงให้อุปเรวัตตกุมาร ไปนิมนต์พระเถระพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เข้ามาในบ้าน


   


   เทศน์โปรดโยมมารดาแล้วนิพพาน


   


   ในราตรีนั้น  พระเถระเกิดอาพาธอย่างแรงกล้า ด้วยโรค  ปักขันธิกาพาธ  มีอาการท้องร่วงอย่างแรง ถึงกับถ่ายออกมาเป็นโลหิต  พระจุนทะและพระภิกษุผู้เป็นบริวารช่วยกันพยาบาลเท่าที่พอจะทำได้  ฝ่ายนางสารี พราหมณีผู้มารดา ก็เฝ้าดูอาการด้วยความห่วงใย


   ถึงยามดึก เทพยดาทั้งหลายจากสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ตั้งแต่ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ และท้าวสักกเทวราช เป็นต้น  ตลอดจนถึงท้าวมหาพรหมแห่งพรหมโลก  ได้ลงมาเยี่ยมอาการอาพาธของพระเถระตามลำดับ  เมื่อเทพยดาเจ้ากลับไปแล้ว  โยมมารดาได้ถามพระลูกชายว่า


   "อุปติสสะ  พวกที่มาเยี่ยมลูก  มีร่างกายสว่างไสวเหล่านั้น  เป็นใครกันหรือลูก  แม่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย"


   พระเถระบอกชื่อเทพยดาแต่ละองค์ที่มาให้โยมมารดาฟัง  จนถึงท้าวมหาพรหม  นางได้ฟังแล้วเกิดปีติเอิบอิ่มใจ  ทั้งตื่นเต้นอัศจรรย์ถึงกับเปล่งอุทานถามพระลูกชายว่า


   "โอ..อุปติสสะ  นี่ลูกเป็นใหญ่กว่าท้าวมหาพรหมเชียวหรือนี่"


   เมื่อได้ฟังคำตอบจากพระลูกชายแล้ว  นางคิดต่อไปอีกว่า  ลูกของเรายังมีอานุภาพถึงเพียงนี้  พระสมณโคดมผู้เป็นบรมครูของลูกเรา จะมีอานุภาพยิ่งใหญ่สักเพียงไหน


   พระเถระเห็นว่า  โยมมารดากำลังเอิบอิ่มด้วยปีติ  มีจิตใจอ่อนโยนสมควรจะรับฟังพระธรรมเทศนาแล้ว  จึงได้แสดงธรรมโปรดโยมมารดา  พรรณนาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ  ยังโยมมารดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล  เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา  ได้ชื่อว่า กระทำปฏิการะสนองคุณข้าวป้อนน้ำนมโยมมารดาดังที่ตั้งใจมา  ปิดประตูนรก  เปิดประตูสวรรค์ ให้แก่โยมมารดาได้สำเร็จ


   ลำดับนั้น พระเถระบอกให้โยมมารดาออกไปข้างนอกแล้ว  ถามพระจุนทะน้องชายว่า  "ขณะนี้เวลาล่วงราตรีสู่ยามที่เท่าไร?"


   พระจุนทะ น้องชายตอบว่า  "ใกล้รุ่งสว่างแล้ว"


   จึงสั่งให้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้มาประชุมพร้อมกัน  เมื่อทุกท่านมาพร้อมแล้ว  ขอให้พระเถระช่วยพยุงกาย ลุกขึ้นนั่ง แล้วกล่าวว่า


   "ดูก่อนอาวุโส  ท่านทั้งหลายติดตามข้าพเจ้ามาเป็นเวลา ๔๔ พรรษาแล้ว  กายกรรม และวจีกรรมอันใดของเรา  ที่ท่านทั้งหลายมิชอบใจหากจะพึงมี  ขอท่านทั้งหลาย จงงดอดโทษกรรมอันนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด"


   ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นศิษย์ ตอบพระเถระว่า


   "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า  ข้าพเจ้าทั้งหลายติดตามท่านดุจเงาตามตัว มาตลอดกาลประมาณเท่านี้  กรรมอันใดของท่านที่มิชอบใจแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายนั้นไม่มีเลย  แต่ถ้าหากว่าข้าพเจ้าทั้งหลายมีความประมาทพลาดพลั้งในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว  ขอท่านจงงดอดโทษานุโทษนั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด"


   เมื่อแสงเงินแสงทอง อันเป็นสัญญาณแห่งรุ่งอรุณปรากฏขึ้น  พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็ดับขันธปรินิพพาน  ในวันปุรณมี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๑๒


   ครั้นสว่างดีแล้ว  พระจุนทะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์และหมู่ญาติ ประกอบพิธีคารวะศพพระเถระ แล้วนำไปสู่เชิงตะกอน ทำพิธีฌาปนกิจ  เมื่อเพลิงดับแล้ว  พระจุนทะได้นำอัฐิธาตุ และบริขาร คือบาตรและจีวรของพระสารีบุตร ไปถวายแด่พระพุทธองค์  ซึ่งก็ทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์ บรรจุอัฐิพระเถระที่ซุ้มประตูแห่งพระเชตวันมหาวิหารนั้น..




   ๔. พระมหาโมคคัลลานเถระ  เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์


พระมหาโมคคัลลานะ  เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้าน ในหมู่บ้านโกลิตคาม  ได้ชื่อว่า "โกลิตะ" ตามชื่อของหมู่บ้าน  มารดาชือว่า "โมคคัลลี"  คนทั่วไปึงเรียกท่านว่า "โมคคัลลานะ"ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากกับอุปติสสมาณพ  เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย  นอกจากนี้ ยังีอุปนิสัยใจคอเหมือนกัน  และยังได้ออกบวชพร้อมกันอีกด้วย (ประวัติเบื้องต้นของท่าน พึงศึกษาจากประวัติของพระสารีบุตร)


   


   ทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ


   พระมหาโมคคัลลานะ เมื่ออุปสมบทได้ ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่ป่าใกล้บ้านกัลลวาลมุตตคาม  แขวงมคธ  ถูกถีนมิทธารมณ์คือ ความง่วงเหงาเข้าครอบงำ  ไม่สามารถจะทำความเพียรได้  ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่สวนเภสกลาวัน ซึ่งเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่เนื้อ  ใกล้เมืองสุงสุมารคิรี  อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นภัคคะ  ทรงทราบด้วยพระญาณว่า  พระโมคคัลลานะโงกง่วงอยู่ จึงทรงทำปาฏิหาริย์ ให้เห็นปรากฎประหนึ่งว่า เสด็จประทับอยู่ตรงหน้า ทรงแสดงอุบาย สำหรับระงับความง่วงแก่เธอตามลำดับ  ดังนี้


   ๑.โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น  เธอจงทำไว้ในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


   ๒.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองถึงธรรมที่ได้เรียนมาแล้ว ได้ฟังมาแล้วให้มาก  จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


๓.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้วให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


   ๔.ถ้ายังละไม่ด้  เธอควรยอนช่องหูทั้งสองข้าง  และลูบตัวด้วยฝ่ามือ  จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


   ๕.ถ้ายังละไม่ได้  เธอจงลุกขึ้นแล้วลูบนัยน์ตา ลูบหน้าด้วยน้ำ  เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว  จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


   ๖.ถ้ายังละไม่ได้  เธอควรทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา  คือ กำหนดความสว่างไว้ในใจเหมือนกัน  ทั้งกลางวันและกลางคืน  ทำใจให้เปิดให้สว่าง  จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


   ๗.ถ้ายังละไม่ได้  เธอควรเดินจงกรมสำรวมอินทรีย์  มีจิตไม่คิดไปภายนอก  จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


   ๘.ถ้ายังละไม่ได้  เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์  นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เหล่ื่อมกัน  มีสติสัมปชัญญะ  หมายใจว่าจะลุกขึ้นเป็นนิตย์  เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า  เราจะไม่ประกอบความสุขในการนอน และการเคลิ้มหลับอีก  ด้วยอุบายอย่างนี้  จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้


   พระพุทธองค์ ตรัสสอนอุบายเพื่อบรรเทาความง่วงโดยลำดับ  จนที่สุด ถ้ายังไม่หายง่วง ก็ให้นอน  แต่ให้นอนอย่างมีสติ  เมื่อประทานอุบายแก้ง่วงดังนี้แล้ว  ได้ประทานพระโอวาทอีก ๓ ข้อคือ..


   ๑.โมคคัลลานะ  เธอจงทำไว้ในใจว่า  เราจะไม่ชูงวง  คือ ความถือตัวว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ เข้าไปสู่สกุล  เพราะถ้าภิกษุถือตัวเข้าไปสู่สกุลด้วยคิดว่า  เขาจะต้องต้อนรับเราอย่างนั้นอย่างนี้  ถ้าคนในสกุลเขามีการงานมาก  ก็จะเกิดอิดหนาระอาใจ  ถ้าเขาไม่ใส่ใจต้อนรับ  เธอก็จะเก้อเขินคิดไปในทางต่าง ๆ  เกิดความฟุ้งซ่าน  ไม่สำรวม  จิตก็จะห่างจากสมาธิ


   ๒.โมคคัลลานะ  เธอจงทำไว้ในใจว่า  เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกัน  เพราะถ้าเถียงกันก็จะต้องพูดมาก  และผิดใจกัน  เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน  ไม่สำรวม  จิตก็จะห่างจากสมาธิ


   ๓.โมคคัลลานะ  ตถาคตไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยประการทั้งปวง  แต่ก็ไม่ตำหนิการคลุกคลีไปทุกอย่าง  คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับหมู่ชน  ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต  แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนสนะอันสงบสงัด  ปราศจากเสียงอื้ออึง  ควรแก่การหลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย

ลำดับนั้น  พระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติ อันเป็นธรรม ชักนำไปสู่การสิ้นตัณหา  เกษมจากโยคะ คือ กิเลส เครื่องประกอบให้จิตติดอยู่


   พระพุทธองค์ ตรัสสอนในเรื่องธาตุกรรมฐาน  ให้พิจารณาอัตภาพร่างกายนี้ แยกเป็นส่วน ๆ ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ  ดิน น้ำ ไฟ ลม  ประกอบกันเข้าเป็นร่างกาย  โดยใจความว่า


   "ภิกษุ  ในพระธรรมวินัยนี้  เมื่อได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น  ก็ควรกำหนดธรรมเหล่านั้น  ในยามเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง  และให้พิจารณาด้วยปัญญา อันประกอบด้วยความหน่าย  ความดับ  และความไม่ยึดมั่นถือมั่น  จิตก็จะพ้นจากอาสวกิเลส  เป็นผู้รู้ว่า ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว"


   พระมหาโมคคัลลานะ  ได้สดับพระบรมพุทโธวาทนี้แล้ว  ปฏิบัติตาม และก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น  อันเป็นวันที่ ๗  หลังจากที่ท่านได้อุปสมบท


   


   พระเถระมีความสามารถในทางอิทธิฤทธิ์


   พระมหาโมคคัลลานะ  เมื่อบวชและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้ว ปรากฏว่า  ท่านมีความสามารถโดดเด่นในทางอิทธิปาฏิหาริย์  เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้้งหลาย  ท่านสามารถแสดงฤทธิ์ ไปยังภูมิของสัตว์นรกและไปโลกสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ได้  ท่านได้พบเห็นสัตว์นรกในขุมต่าง ๆ ที่ได้รับทุกข์ทรมาน ด้วยผลบาปกรรมที่ทำไว้ในเมืองมนุษย์  ได้พบเห็นเทพบุตรเทพธิดาที่ได้เสวยความสุขจากการทำบุญไว้ในเมืองมนุษย์เช่นกัน  ท่านได้นำข่าวสารของสัตว์นรกและเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้น  มาแจ้งแก่บรรดาญาติและชนทั้งหลายให้ทราบ  ทำให้บรรดาญาติและชนเหล่านั้นพากันละเว้นกรรมชั่วลามกอันจะพาตนไปเสวยผลกรรมในนรก  พากันทำบุญกุศลอันจะนำตนไปสู่สุคติโลกสวรรค์  และพร้อมกันนั้นก็พากันทำบุญอุทิศไปให้แก่ญาติของตน  เหล่าชนบางพวกที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมในพระพุทธศาสนา  ก็พากันละทิ้งลัธิศาสนาเดิมมาศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น  ทำให้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายต้องเสื่อมจากลาภสักการะเป็นอยู่ลำบากอดอยากขึ้นเรื่อย ๆ


   เรื่องที่พระเถระไปเยี่ยมชมโลกสวรรค์ชั้้นต่าง ๆ นั้น มีเรื่องกล่าวไว้ในคัมภีร์ธรรมบท หมวดปิยวรรคและโกธวรรคว่า..


   วันหนึ่ง พระเถระได้ขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอริยฤทธิ์  ได้เห็นปราสาทหลังหนึ่ง  มีแสงแวววาวด้วยแก้วนานาประการ มีขนาดใหญ่ทั้งกว้างทั้งสูง  มีนางเทพธิดาอยู่ในปราสาทนั้นจนเนืองแน่น  พระเถระจึงถามว่า..


   "แม่เทพธิดา  วิมานนี้เป็นของใคร  (เกิดขึ้นเพื่อใคร)?"


   "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  วิมานนี้เกิดขึ้นเพื่อนันทิยมาณพ  ผู้สร้างศาลา ๔ มุข ๔ ห้อง ถวายพระบรมศาสดา  พวกดิฉันมาเกิดในที่นี้ ก็ด้วยหวังว่าจะได้เป็นบาทจาริกาของนันทิยะนั้น  แต่จนบัดนี้ ก็ยังไม่พบนันทิยะ  เพราะท่านยังไม่ละอัตภาพจากโลกมนุษย์เลย  ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนำข่าวสารไปบอกแก่นันทิยะให้ละอัตภาพมนุษย์ อันเปรียบประดุจถาดดิน มาถือเอาอัตภาพอันเป็นทิพย์ ซึ่งเปรีบประดุจถาดทองคำล้ำค่าในโลกสวรรค์นี้ด้วยเถิด เจ้าค่ะ"


   อันที่จริง  วิมานนั้นได้เกิดขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พร้อมกับขณะที่นันทิยมาณพได้สร้างศาลาจตุรมุขมี ๔ ห้อง  ถวายแด่พระบรมศาสดา แล้วหลั่งน้ำทักษิโณทกตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์


   พระเถระได้จาริกท่องเที่ยวไปยังสวรรค์ชั้นอื่น ๆ  ได้พบเห็นวิมานทองของเหล่าเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายแล้ว  ได้ไต่ถามเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้นว่าทำบุญอะไร  ทำทานด้วยสิ่งใด  จึงได้เสวยผลบุญ  ได้รับทิพยสมบัติวิมานแก้ว วิมานทองอันงดงามยิ่งนักเช่นนี้


   เทพบุตรและเทพธิดาเหล่านั้น  ต่างก็รู้สึกละอายที่จะบอกแก่พระเถระ  เพราะบุญทานที่พวกตนกระทำนั้นมีประมาณเพียงเล็กน้อย คือ


   @บางองค์บอกว่า  เพียงรักษาคำสัตย์  จึงได้สมบัติคือวิมานนี้


   @บางองค์บอกว่า  เพียงห้ามความโกรธ  จึงได้วิมานนี้


   @บางองค์บอกว่า  เพียงถวายอ้อยลำเดียว  จึงได้วิมานนี้


   @บางองค์บอกว่า  เพียงถวายมะพลับ  ลิ้นจี่ ฯลฯ  ผลเดียว  จึงได้วิมานนี้


   พระเถระจาริกไปยังสวรรค์ชั้นต่าง ๆ  พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว  ก็กลับมาสู่มนุษย์โลก  นำข่าวสารที่ได้พบเห็นมาแจ้งแก่หมู่ชนทั้งหลาย  ซึ่งต่างก็พากันศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ทำบุญสร้างกุศล  เพื่อหวังผลอันเป็นสุขสมบัติไปปรโลก

พระเถระทรมานพญานาค


   สมัยหนึ่ง  พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา นามว่า "อัคคิทัต" จึงรับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานเถระ ไปอบรมสั่งสอนให้ลดทิฐิมานะ ละการถือลีมธินั้นเสีย


   พระเถระรับพระพุทธบัญชาแล้ว ไปยังสำนักของอัคคิทัตนั้น  กล่าวขอที่พักอาศัยสักราตรีหนึ่ง  แต่อัคคิทัตปฏิเสธว่า ไม่มีสถานที่ให้พัก  พระเถระจึงกล่าวต่อไปว่า "อัคคิทัต  ถ้าอย่างนั้น  เราขอพักที่กองทรายนั่นก็แล้วกัน


   ก็ที่กองทรายนั้น มีพญานาคตัวใหญ่มีพิษร้ายแรงอาศัยอยู่  อัคคิทัตเกรงว่า พระเถระจะได้รับอันตรายจึงไม่อนุญาต  แต่เมื่อพระเถระรบเร้าหนักขึ้น จนต้องยอมอนุญาต  พระเถระจึงเดินไปที่กองทรายนั้น  พญานาคเห็นพระเถระเดินมา  รู้ว่าไม่ใช่พวกของตน จึงพ่นควันพิษเข้าใส่พระเถระ  ฝ่ายพระเถระก็เข้าเตโชกสิณ บังหวนควันไฟให้กลับไปทำอันตรายแก่พญานาค  ทั้งพระเถระและพญานาคต่างก็พ่นควันพ่นไฟเข้าใส่กัน จนเกิดแสงรุ่งโรจน์โชตนาการ  พิษควันไฟไม่สามารถทำอันตรายพระเถระได้เลย  แต่ทำอันตรายแก่พญานาคฝ่ายเดียว


   อัคคิทัตกับบริวารมองดูแล้ว คิดตรงกันว่า  "พระเถระคงจะมอดไหม้ในกองเพลิงเสียแล้ว  พร้อมทั้งคิดว่า  สาสมแล้ว  เพราะเราห้ามแล้วก็ไม่ยอมเชื่อฟัง"


   รุ่งเช้า  อัคคิทัตกับบริวารเดินมดู  ปรากฏว่า  พระเถระนั่งอยู่บนกองทราย  โดยมีพญานาคขดรอบกองทรายแล้ว แผ่พังพานอยู่เหนือศีรษะพระเถระ  จึงพากันคิดว่า "น่าอัศจรรย์  สมณะนี้มีอานุภาพยิ่งนัก"


   ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง  พระมหาโมคคัลลานเถระ จึงลงจากกองทรายแล้ว  เข้าไปกราบบังคมทูลอาราธานาให้เสด็จประทับนั่งบนกองทราย  แล้วกล่าวกับอัคคิทัตว่า  "พระพุทธองค์  เป็นศาสดาของข้าพเจ้า   ๆ  เป็นสาวกของพระพุทธองค์"


   ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาค  ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้อัคคิทัตพร้อมทั้งบริวาร เลิกละการเคารพบูชาภูเขา ป่า ต้นไม้ และจอมปลวก  เป็นต้น  ที่พวกตนพากันเคารพบูชาว่า  เป็นที่พึ่งอันเกษมสูงสุด  ให้หันมาระลึกถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์  อันเป็นสิ่งประเสริฐสุด นำไปสู่การพ้นทุกข์ทั้งปวง


   เมื่อจบพระธรรมเทศนา  อัคคิทัตและบริวาร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด  แล้วกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา   พระบรมศาสดาได้ประทานให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา


   เรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระมหาโมคคัลลานเถระนั้นมีมาก  แต่นำมากล่าวไว้ในที่นี้พอเป็นตัวอย่างเพียงเท่านี้


พระเถระมีอัธยาศัยใจกว้าง


   พระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมและความสามารถในอิทธิปาฏิหาริย์เหนือกว่าพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ  แต่ท่านก็เป็นผู้มีอัธยาศัยใจกว้าง ไม่กีดกัน ไม่เบียดบังความดีความสามารถของผู้อื่น ไม่ฉวยโอกาสชิงความดีความชอบจากผู้อื่น  ดังจะเห็นได้จากเรื่องต่อไปนี้..


   สมัยหนึ่ง เศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ อยากจะเห็นพระอรหันต์ที่แท้จริง  เพราะในเมืองราชคฤห์นั้น มีเจ้าลัทธิหลายสำนัก ซึ่งต่างก็โอ้อวดว่าตนเป็นพระอรหันต์  ทั้ง ๆ ที่การปฏิบัติและหลักคำสอนก็ต่างกันเป็นอย่างมาก และหาแก่นสารมิได้  จึงทำการทดสอบด้วยการให้บริวารกลึงไม้จันทน์แดง ทำเป็นบาตรแล้วผูกติดปลายไม้ไผ่ต่อกันหลาย ๆ ลำ  ตั้งไว้หน้าบ้านแล้วประกาศว่า  "ผู้ใดเป็นพระอรหันต์  ก็จงเหาะมาเอาบาตรใบนี้ไป"


   เจ้าลัทธิทั้งหบายคือ สำนักครูทั้ง ๖ มี  ปูรณกัสสป  มักขลิโคสาล  อชิตเกสกัมพล  สัญชัยเวลัฏฐบุตร   ปกุทธกัจจายนะ  และ นิครนถนาฎบุตร  ต่างก็ปรารถนาจะได้บาตร  แต่ไม่สามารถเหาะมาเอาไปได้  จึงมาเกลี้้ยกล่อมเศรษฐีให้ยกบาตรให้ตน  โดยไม่ต้องเหาะขึ้นไป  แต่เศรษฐีก็ยังคงยืนยันว่า ต้องเหาะขึ้นไปเอาเองเท่านั้นจึงจะได้


   ผ่านไป ๖ วัน  ครั้นวันรุ่งขึ้น  พระมหาโมคคัลลานเถระ กับ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ  กำลังยืนห่มจีวรอยู่บนก้อนหินใหญ่  เพื่อเข้าไปบิณฑบาตในเมือง  ได้ยินพวกชาวบ้านพูดกันว่า  "ในโลกนี้ คงจะไม่มีพระอรหันต์  เพราะวันนี้เป็นวันที่ ๗ แล้วที่ท่านเศรษฐีประกาศให้พระอรหันต์เหาะมาเอาบาตร  แม้แต่ครูทั้ง๖  ที่โอ้อวดนักหนาว่า เป็นพระอรหันต์ ก็ยังไม่สามารถเหาะขึ้นไปเอาบาตรได้เลย  เราเพิ่งรู้วันนี้เองว่า พระอรหันต์ไม่มีในโลก"


   พระเถระทั้งสอง ต้องการประกาศให้ประชาขนทั้งหลายรู้ว่า  ในพระพุทธศาสนามีพระอรหันต์อยู่จริง  ดังนั้น  พระมหาโมคคัลลานเถระ แม้จะมีฤทธานุภาพและอายุพรรษามากกว่า  แต่อาศัยความที่ท่านเป็นผู้มีใจกว้าง  มีความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนสหธรรมิก  ต้องการให้คุณพิเศษของพระเถระรูปอื่นปรากฏบ้าง  จึงบอกให้พระปิณโฑลภารทวาชะ เหาะขึ้นไปเอาบาตรนั้นลงมา


   ท่านปิณโฑลภารทวาชะ กล่าวถ่อมตนด้วยความเคารพว่า  "ข้าพเจ้ามีอานุภาพน้อย  ขอท่านจงขึ้นไปเอาเองเถิด"   แต่พระเถระก็ให้โอกาสท่าน  ดังนั้น  ท่านปิณโฑลภารทวาชะ จึงเหาะขึ้นบนอากาศพร้อมทั้งก้อนหินที่ยืนอยู่นั้น  เหาะวนเวียนรอบบ้านของเศรษฐี  จนเศรษฐีและชาวเมืองพากันแตกตื่นมาดูกันอย่างโกลาหล


   อีกเรื่องหนึ่งคือ  เมื่อพระบรมศาสดาทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์แล้ว  เสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ ดาวดึงสเทวโลก  มหาชนที่ประชุมกันอยู่ที่นั้น ไม่ทราบว่า พระพุทธองค์หายไปไหน  จึงพากันเข้าไปถวายพระมหาโมคคัลลานเถระ


   แม้พระเถระจะทราบเป็นอย่างดี  แต่ท่านก็ไม่ตอบโดยตรง  กลับบอกให้ไปถามพระอนุรุทธเถระ  ทั้งนี้  ก็เพื่อยกย่องคุณความรู้  ความสามารถของพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ ให้ปรากฏบ้างนั่นเอง


   


   ได้รับยกย่องในทางอิทธิฤทธิ์


   เมื่อพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว  ท่านเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนา  ช่วยแบ่งเบาภารกิจ และยังพุทธดำริต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยดี  เพราะท่านมีฤทธิ์มีอานุภาพยิ่งกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ  จนได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา  แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ  เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีฤทธิ์  และทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง  พระอัครสาวกเบื้องซ้าย  โดยทรงยกย่องให้้เป็นอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรเถระว่า..

"พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา  เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร  พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย  เปรียบเสมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดมาแล้ว  พระสารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล  พระโมคคัลลานะย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องสูงขึ้นไป"


   นอกจากนี้ พระมหาโมคคัลลานะ ยังเป็นผู้มีความสามารถในการนวกรรม  คืองานก่อสร้าง   พระบรมศาสดาเคยทรงมอบหมายให้ท่านรับหน้าที่ นวกัมมาธิฏฐายี  คือ ผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้างวิหารบุพพาราม ที่เมืองสาวัตถี  ซึ่งนางวิสาขา  บริจาคทรัพย์สร้างถวายอีกด้วย


   


   พระมหาโมคคัลลานะถูกโจรทุบ


   วันเวลาผ่านไปตามลำดับ  เข้าสู่ปัจฉิมโพธิกาล  ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พักอยู่ที่กาฬศิลา  ในมคธชนบทนั้น


   พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย มีความโกรธแค้นพระมหาโมคคัลลานะเป็นอย่างมาก  เพราะความที่ท่านมีฤทธานุภาพมาก  สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ไปเยี่ยมชมสวรรค์และนรกได้  แล้วนำข่าวสารมาบอกแก่ญาติมิตรของผู้ไปเกิดในสวรรค์และนรกให้ได้ทราบ  ประชาชนทั้งหลายจึงพากันเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ทำให้พวกเดียรถีย์ต้องเสื่อมคลายความเคารพนับถือจากประชาชน  ลาภสักการะเสื่อมลง  ความเป็นอยู่ก็ลำบาก ฝืดเคือง  จึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นพ้องต้องกันว่า  "ต้องกำจัดพระมหาโมคคัลลานะ เพื่อตัดปัญหา"


   ตกลงกันแล้ว ก็เรี่ยไรเงินทุนจากบรรดาศิษย์ และอุปัฏฐากของตน  เมื่อได้เงินมาพอแก่ความต้องการแล้ว  ได้ติดต่อจ้างโจรให้ฆ่าพระเถระ  พวกโจรใจบาป ได้รับเงินสินบนแล้วพากันไปล้อมจับพระเถระถึงที่พัก  แต่พระเถระรู้ตัว และหลบหนีไปได้ถึง ๒ ครั้ง


   ในครั้งที่ ๓  พระเถระได้พิจารณาเห็นกรรมเก่าที่ตนเคยทำไว้ในอดีตชาติติดตามมา  และเห็นว่ากรรมเก่านั้นทำอย่างไรก็หนีไม่พ้น   จึงยอมให้พวกโจรจับอย่างง่ายดาย  และถูกพวกโจรทุบตีจนกระดูกแตก แหลกเหลวไม่มีชิ้นดี  พวกโจรแน่ใจว่าท่านตายแล้ว  จึงนำร่างของท่านไปทิ้งในป่าแห่งหนึ่ง แล้วพากันหลบหนีไป


   


   พวกโจรถูกจับ


   ข่าวพระเถระถูกโจรฆ่า แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว  จนพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงทราบ  จึงส่งจารบุรุษออกสืบหาตัวโจรร้าย


   ฝ่ายพวกโจรเมื่อได้เงินรางวัลมาแล้ว  ก็เที่ยวหาความสุขสำราญตามสันดานโจร  เข้าไปโรงสุราดื่มกันจนเมามาย  แล้วก็ทะเลาะกันเอง  โจรคนหนึ่งถูกเพื่อนใช้ศอกถองที่กลางหลังจนล้มกลิ้ง  พอลุกขึ้นมาได้ ก็ชี้หน้าด่าด้วยความโกรธว่า


   "เฮ้ย..ไอ้สารเลว  มึ..ถองกูทำไมวะ?"


   "ไอ้โจรถ่อย  ก็มึ..อวดอ้างว่าเป็นคนตีพระโมคคัลลานะก่อนทำไม  กูเองที่เป็นคนตีก่อน  มึ..ไม่รู้หรือ?"


   ขณะที่พวกโจรโต้เถียงกันอยู่นั้น  พวกจารบุรุษจึงเข้าจับกุมโจรทั้งหมดส่งตัวให้พระเจ้าอชาตศัตรูสอบสวน  พระองค์ตรัสถามว่า..


   "พวกเจ้า ฆ่าพระมหาโมคคัลลานะหรือ?"


   "ใช่แล้ว  พระเจ้าข้า"


   "ใครใช้ให้พวกเจ้าฆ่าพระเถระเล่า?"


   "พวกสมณะเปลือย พระเจ้าข้า"


   พระราชารับสั่งให้จับสมณะเปลือยทั้งหมด เกือบ ๕๐๐ คน ขุดหลุมฝังแค่สะดือ  รวมกับพวกโจรอีกประมาณ ๕๐๐ คน แล้วกลบด้วยฟางจุดไฟเผาทั้งเป็น  จากนั้นรับสั่งให้ใช้ไถเหล็กไถให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  ส่วนพวกหัวโจกอีก ๔ คนนั้น ให้ใช้หลาวเสียบทั้งเป็น  แล้วตั้งประจานไว้หน้าเมือง


   


   บุพกรรมของพระมหาโมคคัลลานเถระ


   ในอดีตชาติ พระมหาโมคคัลลานเถระ  เกิดเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่  ต่อมาเมื่อเจริญเติบโตขึ้น  พ่อแม่ทั้งสองประสบเคราะห์กรรม ตาบอดด้วยกันทั้งสองคน  เป็นภาระที่ลูกชายคนเดียวต้องปรนนิบัติเลี้ยงดู  การงานทุกอย่างทั้งนอกบ้านในบ้านลูกชายจัดการเป็นที่เรียบร้อย  พ่อแม่ทั้งสองมิต้องกังวล


   ต่อมาพ่อแม่เห็นว่าลูกชายเข้าสู่วัยที่สมควรจะมีคู่ครองได้แล้ว  อีกทั้งเห็นว่า  ลูกชายต้องรับภาระหนักแต่ผู้เดียว  ควรจะมีผู้ช่วยแบ่งเบาภาระบ้าง  จึงจัดการสู่ขอหญิงสาวที่มีชาติตระกูลใกล้เคียงกัน  ให้มาแต่งงานเป็นคู่ของลูกชาย  ทั้ง ๆ ที่ลูกชายมิได้เต็มใจ   เพราะตนเองผู้เดียวก็สามารถปฏิบัติเลี้ยงดูบิดามารดาได้เป็นอย่างดี  แต่เมื่อบิดามารดาเป็นภาระจัดการให้  ก็ไม่ขัดความประสงค์ของท่าน  เมื่อแต่งงานแล้ว  ชีวิตครอบครัวที่มีลูกสะใภ้พ่อผัวแม่ผัวอยู่ร่วมชายคาเดียวกันมาในระยะแรก ๆ  ก็ราบรื่นสงบสุขเป็นอย่างดี


   เมื่อกาลเวลาผ่านนาน ๆ ไป  ลูกสะใภ้ก็เริ่มรังเกียจพ่อผัวแม่ผัวที่ตาบอดด้วยกันทั้งสองคน  จึงหาวิธีกำจัดท่านทั้งสองด้วยการยุแหย่สามีให้เกลียดชังพ่อแม่  คือ เมื่อสามีออกไปทำงานนอกบ้านก็แกล้งทำบ้านเรือนให้สกปรกรกรุงรัง  เมื่อสามีกลับมา ก็ฟ้องว่า พ่อแม่ทั้งสองเป็นผู้กระทำ  ตนเองไม่สามารถที่จะทนเห็นทนอยู่กับผู้เฒ่าตาบอดทั้งสองคนนี้ได้อีกต่อไปแล้ว


   ระยะแรก ๆ  สามีก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไรนัก  ได้แต่รับฟังแล้วก็นิ่งเฉย  แต่เมื่อภรรยาพูดบ่อย ๆ   และเห็นบ้านเรือนสกปรกมากยิ่งขึ้น  จึงเชื่อคำของภรรยา และได้ปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรกับตาแก่ตาบอดทั้งสองคนนี้ดี


   "เอาท่านใส่เกวียนไปฆ่าทิ้งในป่า"   ภรรยาเสนอความคิดเห็น


   สามีแม้จะไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้  เพราะตนเป็นคนรักเคารพและกตัญญูต่อพ่อแม่มาตลอด   แต่เมื่อภรรยารบเร้าไม่รู้จบสิ้น  จึงใจอ่อน ยอมทำตามที่ภรรยาแนะนำ   ครั้นรุ่งเช้า  ได้จัดอาหารเลี้ยงดูพ่อแม่เป็นอย่างดี  แล้วกล่าวว่า


   "คุณพ่อคุณแม่   ญาติที่หมู่บ้านโน้นต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ไปเยี่ยม   พวกเราไปกันในวันนี้เถิด"


   ลูกชายให้พ่อแม่นั่งบนเกวียนแล้วออกเดินทาง  พอมาถึงทางเปลี่ยวกลางป่าใหญ่ ส่งเชือกบังคับโคให้พ่อถือไว้  แล้วพูดหลอกว่า


   "คุณพ่อจับปลายเชือกนี้ไว้  โคจะลากเกวียนไปตามทางนี้  ทราบว่า ในป่านี้มีพวกโจรซุ่มอยู่  ลูกจะลงเดินตรวจดูโดยรอบ"


   เมื่อลงเดินไปได้สักครูหนึ่ง  ก็แกล้งเปลี่ยนเสียงร้องตะโกนประหนึ่งว่า เสียงโจรดักซุ่มอยู่  แล้วเข้ามาทุบตีทำร้ายบิดามารดา


   ฝ่ายบิดามารดาเชื่อว่า เป็นโจรจริง ๆ  แม้จะถูกทุบตีอยู่ ก็ยังร้องบอกให้ลูกรีบหนีไป  พ่อแม่แก่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง  ลูกจงรักษาชีวิตไว้เถิด


   ลูกชาย ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ร้องบอกอยู่อย่างนั้น  ก็ยังทุบตีจนตายด้วยมือของตน  ทิ้งศพไว้ในป่านั้น แล้วตนเองก็เดินทางกลับบ้าน


   อนึ่ง  ในอรรถกถาสรภังคชาดก  คัมภีร์ขุททกนิกาย  กล่าวเนื้อความในตอนนี้ว่า


   ลูกชายพอได้ยินเสียงมารดาบิดาร้องบอกให้รีบหนีไป  ไม่ต้องเป็นห่วงพ่อแม่  ก็กลับคิดได้ว่า  "ตนทำกรรมหนัก  พ่อแม่ แม้จะถูกเราทุบตีอยู่นี้  ก็ยังร้องคร่ำครวญด้วยความรักและห่วงใย  ให้เรารีบหนีไปโดยมิได้คำนึงถึงชีวิตของตนเอง"    ดังนี้  แล้วจึงเข้ามาบีบนวดให้ แล้วบอกกับพ่อแม่ว่า  "บัดนี้ พวกโจรหนีไปหมดแล้ว"    จากนั้น ก็นำท่านกลับมาปรนนิบัติ ดูแลที่บ้านเป็นอย่างดี


   ลูกชาย  เมื่อตายแล้วต้องชดใช้กรรมหมกไหม้อยู่ในนรกเป็นเวลานาน   เมื่อพ้นจากนรกแล้วมาเกิดใหม่   ต้องถูกทุบตีจนแหลกละเอียดอีกหลายร้อยชาติ  ในชาติสุดท้ายนี้  แม้จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์  มีฤทธิ์ สามารถจะเนรมิตดำดินล่องหนหายตัวได้  เหาะเหินเดินอากาศได้  แต่ก็ไม่สามารถจะหนีผลกรรมได้  ท่านจึงยอมให้พวกโจรจับทุบจนร่างแหลกเหลวดังกล่าวมานั่นเอง.


   


   กราบทูลลานิพพาน


   พระมหาโมคคัลลานเถระ  เมื่อพวกโจรหนีไปหมดแล้ว  จึงคิดว่า


   "เราควรไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคก่อน จึงจะนิพพาน"


   ดังนี้แล้ว  ก็เรียบเรียงสรีรกายประสานกระดูกผูกให้มั่นด้วยกำลังฌาน  เหาะมาเฝ้าพระบรมศาสดา  ถวายบังคมแล้วกราบทูลลานิพพาน   พระพุทธองค์ตรัสถามว่า


   "โมคคัลลานะ  เธอจะนิพพานที่ไหน  เมื่อไร?"


   "ข้าพระองค์  จะนิพพานที่กาฬศิลาในวันนี้  พระพุทธเจ้าข้า"


   "โมคคัลลานะ  ถ้าอย่างนั้น  เธอจงแสดงธรรมแก่ตถาคตก่อน  ด้วยว่าการได้เห็นพระเถระเช่นเธอนี้  จะไม่มีอีกแล้ว"


   พระเถระ  ได้รับพระพุทธบัญชาเช่นนั้น  จึงทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศ  แสดงพระธรรมเทศนาแล้วลงมาถวายอภิวาท กราบทูลลา ไปยังกาฬศิลา  และนิพพาน ณ ที่นั้น       ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒   หลังจากพระสารีบุตรนิพพานได้  ๑๕ วัน


   พระผู้มีพระภาค  เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย  ทรงเป็นองค์ประธานจุดเพลิงฌาปนกิจศพให้ท่าน  ขณะนั้น  ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาโดยรอบบริเวณ  มหาชนพากันประชุมทำสักการะอัฐิธาตุ ตลอด ๗ วัน  พระพุทธองค์โปรดให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้  ณ  ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งพระเชตวันมหาวิหารนั้น


   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  เมื่อพระอัครสาวกทั้งขวาและซ้าย นิพพานหมดแล้ว  ก็เปรียบประหนึ่งต้นหว้าแก่ที่กิ่งใหญ่ทั้งสองหักลงแล้ว  คงเหลือแต่พระอานนท์   ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐากเพียงองค์เดียว  เที่ยวติดตาม ประหนึ่งว่า เงาตามพระองค์  ฉะนั้น..



๕. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ  เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก


    พระปุณณมันตานี  เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล   ในหมู่บ้าน พราหมณ์โทณวัตถุ  อันไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์มากนัก  เดิมท่านมีชื่อว่า  "ปุณณะ"  แต่เนื่องจากมารดาของท่านชื่อ นางมันตานี        คนทั่วไปจึงมักเรียกท่านว่า  "ปุณณมันตานีบุตร"   และโดยสายเลือดนับว่าท่านเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ  เพราะนางมันตานี พราหมณี มารดาของท่านนั้น เป็นน้องสาวของพระอัญญาโกณฑัญญะ


   ปุณณมันตานีบุตร  ได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา โดยการชักนำของพระอัญญาโกณฑัญญะเถระ ผู้เป็นลุง  ในสมัยเมื่อพระพุทธองค์ หลังจากทรงจำพรรษาแรก ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  พอออกพรรษาแล้ว  ทรงส่งสาวกจำนวน ๖๐ รูป ออกประกาศพระศาสนา  นับว่าเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก  พระอัญญาโกณฑัญญะก็เป็นอีกรูปหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย  ท่านได้กลับไปที่บ้านของท่าน  แสดงธรรมโปรดญาติพี่น้อง  ขณะนั้น ปุณณมันตานีบุตรหลานชายของท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสขอบวชในพระพุทธศาสนา  ซึ่งท่านให้บรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อนแล้วพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่กรุงราชคฤห์  พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้  เมื่อบวชแล้วไม่นาน อุตสาห์บำเพ็ญเพียร  เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล


   


   ปฏิบัติอย่างไร  สอนอย่างนั้น


   เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว  มีปฏิปทาตั้งมั่นอยู่ในกถาวัตถุ  คือ ถ้อยคำที่ควรพูดหรือเรื่องที่ควรนำมาสนทนาในหมู่ภิกษุ ๑๐ ประการ คือ..


   ๑. อัปปิจฉกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย


   ๒. สันตุฏฐิกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ


   ๓. ปริเวกกถา     ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัด


   ๔. อสังสัคคกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ


   ๕. วิริยารัมภกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร


   ๖. สีลตกถา     ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล


   ๗. สมาธิกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่นสมาธิ


   ๘. ปัญญากถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา


   ๙. วิมุตติกถา    ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความหลุดพ้น


   ๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น


   คุณธรรม คือ กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้กล่าวสั้น ๆ ก็คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ  ปรารภความเพียร  บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ  และวิมุตติญาณทัสสนะ   ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ  จะสั่งสอนบริษัทบริวารของท่านด้วยคุณธรรม ๑๐ ประการนี้  แม้แต่พระอานนท์  เมื่อบวชใหม่ ๆ ก็ได้ฟังคุณธรรม ๑๐ ประการนี้จากท่าน จนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน  ด้วยเหตุนี้ ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่าน ไม่ว่าจะไปสู่ที่ใด ๆ ก็จะพากันกล่าวยกย่องพรรณนาคุณของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ  ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน ให้ปรากฏแก่พุทธบริษัทในที่นั้น ๆ เสมอ  แม้พระสารีบุตรเถระ ได้ทราบข่าวคุณธรรมของท่านแล้ว  ก็มีความปรารถนาจะได้สนทนาธรรมกับท่าน


   


   สนทนาธรรมกับพระสารีบุตร


   สมัยหนึ่ง  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองสาวัตถี  ณ ที่นั้น  พระสารีบุตร กับ พระปุณณมันตานีบุตร ได้มีโอกาสพบกัน  พระสารีบุตรได้สนทนาไต่ถามท่านเกี่ยวกับวิสุทธิ ๗ ประการ อันได้แก่..


   ๑. สีลวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งศีล


   ๒. จิตตวิสุทธิ    ความหมดจดแห่งจิต


   ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ  ความหมดจดแห่่งทิฐิ


   ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย


   ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง


   ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ


   ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ  กล่าวคือ  มรรคญาณ


   


   พระปุณณมันตานีบุตร ได้ถวายคำอธิบายว่า  วิสุทธิทั้ง ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นปัจจัยอาศัยส่งต่อกันไปจนถึงพระนิพพาน  ท่านเปรียบเหมือนรถ ๗ คัน  ที่ส่งบุคคลถึงจุดหมายปลายทางโดยส่งต่อ ๆ ผลัดกันไปโดยลำดับ  คือ ลงจากคันที่ ๑ แล้วขึ้นคันที่๒  ลงจากคันที่ ๒ แล้วขึ้นคันที่๓ ต่อกันไปอย่างนี้ จนถึงคันที่ ๗


   เมื่อการสนทนาไต่ถามกันและกันจบลง  พระเถระทั้งสองต่างก็กล่าวอนุโมทนาคุณกถาของกันและกัน  และแยกกันกลับสู่ที่พักของตน


   เพราะความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร  ก็สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วย


   พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ  เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก


   พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนา พอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว  ก็ดับขันธปรินิพพาน.




« Last Edit: 27 December 2012, 00:19:58 by SATORI » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.105 seconds with 21 queries.