พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระพุทธสาวก
ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ --------------------------
"
พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีอาจใช้คำว่า "พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" แทนได้)
"พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ
ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
คำว่า พระบรมธาตุ และ พระธาตุ ยังอาจใช้หมายถึงพระสถูปเจดีย์ต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ
--------------------------------------------
อ้างอิงจาก
www.relicsofbuddha.com--------------------------------------------
พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอรหันตสาวก------------------
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสัจธรรม มีหลักธรรมคำสอนที่สามารถปฏิบัติให้รู้ตามเห็นจริงได้ การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนานั้น บรรลุที่ใจ
ไม่สามารถแสดงออกให้ผู้อื่นรู้เห็นได้แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งซึ่งสามารถเป็นหลักฐานพยานแห่งการบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนา นั่นคือ พระธาตุ
---------------
คำว่า พระธาตุ เป็นคำกลางๆ เรียกใช้แบบรวมๆ ดังนั้นจึงมีการแยกประเภทของ พระธาตุ เป็น 2 ระดับคือ
ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุ
ของพระอรหันตสาวกเรียกว่า พระอรหันตธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้านั้น มีอยู่ 2 ประเภทคือ
-----------------
1. พระพุทธสรีระธาตุองค์ใหญ่ (ประเภทไม่แตกกระจาย) คงรูปตามเดิม มี 7 ส่วนคือ
1.1 พระอุณหิศ (กะโหลกศีรษะของพระพุทธเจ้าส่วนที่โปนออกไป) ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองอนุราชสิงหฬ
1.2 พระรากขวัญเบื้องขวา (ไหปลาร้า) ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองอนุราชสิงหฬ
1.3 พระรากขวัญเบื้องซ้าย(ไหปลาร้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พรหมโลก
1.4 พระทาฒธาตุขวาเบื้องบน(พระเขี้ยวแก้ว) ประดิษฐานอยู่ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
1.5 พระทาฒธาตุซ้ายเบื้องบน(พระเขี้ยวแก้ว ) ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารรัฐ
1.6 พระทาฒธาตุขวาเบื้องล่าง(พระเขี้ยวแก้ว) ประดิษฐานอยู่ ณ ลังกาสิงหฬ
1.7 พระทาฒธาตุซ้ายเบื้องล่าง(พระเขี้ยวแก้ว) ประดิษฐานอยู่ ณ นาคพิภพ
----------------
2. ประเภทแตกกระจายเป็นส่วนอื่นนอกจาก 7ส่วนนั้น จะไม่มีลักษณะเดิมของอัฐิเหลืออยู่
2.1 ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
2.2 ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก
2.3 ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเหลือง
--------------------
---------------------
---------------------
---------------------
---------------------
พระอรหันตธาตุของสาวกนั้นมีลักษณะแตกต่างจากพระบรมสารีริกธาตุ คือมีขนาดใหญ่กว่า วรรณะหยาบกว่า
และหลากหลายลักษณะสัณฐานตามวาสนาบารมีของพระอรหันต์แต่ละองค์
--------------------
ตัวอย่างสัณฐานของพระอรหันตธาตุของพระสาวกในสมัยพุทธกาล เช่น
พระธาตุพระสารีบุตร สัณฐานเป็นปริมณฑลบ้าง รีเป็นไข่จิ้งจก พรรณขาวสีสังข์ สีพิกุลแห้ง สีหวายตะค้า
------------------
พระธาตุพระโมคคัลลานะ สัณฐานกลม หรือรีเป็นผลมะตูม สีเหลือง สีขาว เขียวช้ำใน ลายดังไข่นกบ้าง ร้าวเป็นสายเลือดบ้าง
-----------------------
-----------------------
พระธาตุพระสีวลี สัณฐานดังเมล็ดในพุทรา หรือผลยอป่า หรือเมล็ดมะละกอ วรรณสีเขียวดังผักตบบ้าง สีแดงแบบสีหม้อใหม่บ้าง สีพิกุลแห้งบ้าง เหลืองดั่งหวายตะค้า หรือขาวดั่งสีสังข์บ้าง
-------------------------
-------------------------
พระธาตุพระอานนท์สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน พรรณดำดั่งน้ำรัก หรือสีขาวสะอาดดั่งสีเงิน
-------------------------
พระธาตุพระองคุลีมาล สัณฐานคอดดังคอลาก ที่มีรูโปร่งตลอดเส้นผมลอดได้ก็มี พรรณขาวดังสีสังข์ เหลืองดังดอกจำปา สีฟ้าหมอก
-------------------------
พระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ สัณฐานงอนช้อยดังงาช้าง พรรณขาวดังดอกมะลิตูม เหลืองอย่างหนึ่ง ดำอย่างหนึ่ง
-----------------------
อย่างไรก็ตามพระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุก็มีคุณสมบัติเหมือนกันคือ
1. หากมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวสารลงไปสามารถลอยน้ำได้ น้ำจะเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้และปรากฏรัศนีเป็นแฉกๆ อยู่โดยรอบ
---------------------
----------------------
2. หากลอยน้ำพร้อมๆ กัน หลายองค์ ก็จะค่อยๆ ลอยเข้าหากันและติดกันในที่สุด
----------------
3. หากเป็นพระธาตุที่มีขนาดใหญ่ ก็สามารถที่จะเปล่งแสงในกาลเวลาอันสมควรได้ เสด็จมาเพิ่มจำนวนได้ เสด็จหายไปได้ ขยายองค์ใหญ่ขึ้นได้ รวมหลายองค์เข้าเป็นองค์เดียวได้
---------------------
ในแผ่นดินไทยของเราได้รองรับพระพุทธศาสนาเป็นเวลาเกือบพันปี มีผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก แม้ในปัจจุบันก็ปรากฏเป็นข่าวเสมอว่ามีพระอริยสงฆ์ที่
มรณภาพแล้ว อัฐิแปรสภาพเป็นพระธาตุ จึงทำให้เกิดมีการบันทึกลักษณะการแปรสภาพจากอัฐิหรือเศษกายของพระอริยเจ้าสู่ความเป็นพระธาตุ
การแปรสภาพจากอัฐิเป็นพระธาตุมี 4 ลักษณะ คือ
1. จากเดิมกระดูกเป็นฟอง แล้วเริ่มหดตัวบางส่วน รวมตัวเข้าเป็นผลึก หินปูนจะมากขึ้นและเริ่มมน จนเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์ มีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดข้าวโพด
----------------
----------------
----------------
---------------
2. จากกระดูกที่เป็นชิ้นยาว แนวเยื่อกระดูกเป็นเส้นบางๆ เยื่อกระดูกเกาะเป็นผลึกหินปูนจนเต็มรูพรุน และแปรเป็นพระธาตุซึ่งคงรูปเดิมของชิ้นอัฐิ
---------------
---------------
---------------
---------------
3. ชิ้นอัฐิธรรมดามีองค์พระธาตุผุดขึ้นและค่อยๆโตขึ้น และหลุดออกเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
------------------------
----------------------
4. ในขณะเผาศพมีวัตถุธาตุเศษกาย ส่องแสงประกายหยดออกจากร่าง ตกกระทบกับสิ่งที่รองรับ ก็กระจายออกเป็นพระธาตุขนาดต่างๆ
------------------------
------------------------
นอกจากการแปรสภาพของอัฐิ ยังมีการแปรสภาพจากส่วนอื่น เช่น แปรสภาพจากเส้นเกสา โดยมีการรวมตัวกันเป็นเส้นเกสา มีเส้นในใสๆ งอกออกมาเกี่ยวพันกันจนแน่น
แล้วรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันและเป็นพระธาตุในที่สุด บางครั้งก็มีพระธาตุงอกออกมาจากปลายของเกสา และหลุดออกมาเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
-----------------
----------------
-----------------
-----------------
-----------------
ในบางครั้งก็มีผลึกพระธาตุเสด็จมาประทับรวมกับเส้นเกสาโดยปาฏิหารย์ แม้ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็มี
----------------
การแปรสภาพเป็นพระธาตุจากส่วนต่างๆของร่างกายของท่าน เช่น กระดูกสะบ้า เส้นเกสา เล็บ ฟัน ชานหมาก ข้าวก้นบาตร เป็นต้น
----------------
------------------
-------------------
------------------
แม้วัตถุมงคลของท่าน บางครั้งก็มีพระธาตุเสด็จมาเกาะอยู่ด้วย นอกจากนี้เถ้าอังคารก็สามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุได้
หรืออุจจาระของท่านก็สามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุ จนบางสำนักต้องสั่งให้เอาปูนมาโบกทับส้วมของท่านไว้ ไม่ให้คนมาขุด
น้ำที่สรงอัฐิเก็บไว้ไม่เททิ้งก็มีการรวมตัวแปรสภาพเป็นพระธาตุได้
----------------
-----------------
------------------
-----------------
พระอริยสงฆ์ไทยที่แปรสภาพเป็นพระธาตุนั้น มีจำนวนมากยิ่งนัก อาทิ เช่น
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
---------------------------
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
-------------------------
ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย
ครูบาผาผ่า ปัญญาวโร
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
----------------------------
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
----------------------------
หลวงปู่ต่วน อินทปัญโญ
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
หลวงปู่หลุย จันทสาโร
----------------------
หลวงปู่สีลา อิสสโร
หลวงปู่ขาว อนาลโย
--------------------
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
หลวงปู่แหวน สุจินโณ
--------------------------
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
---------------------------
หลวงปู่คำดี ปภาโส
หลวงปู่ครูบาพรหมา พรหมจักโก
------------------------
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดนรนาคสุนทริการาม
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
--------------------------
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
หลวงปู่อุ่น อุตตโม
หลวงปู่สาม อกิญจโน
------------------------------
หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
หลวงปู่ชา สุภัทโท
----------------------
หลวงปู่บุญ ชินวโส
หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
-----------------------------
ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ
หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
หลวงปู่บัว สิริปุณโณ
หลวงปู่วัน อุตตโม
หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ
------------------------
หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร
หลวงปู่สุภาพ ธัมมปัญโญ
พระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ)
---------------------------
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
------------------
หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ
หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม
พระโพธิธรรมาจารย์(หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
-----------------------------
ครูบาสมหมาย นันทิโย
คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
-------------------------
และยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม
--------------------------
สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัฐิของท่านแปรสภาพนั้น มีผู้รู้กล่าวว่าเป็นเพราะพลังจิตของท่านที่ฝึกมาดีแล้ว จิตของท่านเป็นจิตบริสุทธิ์ จึงทำให้กายของท่านเป็นของบริสุทธิ์ได้ด้วย
การแปรสภาพช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่ที่ว่าท่านบรรลุธรรมแล้วมีชีวิตอยู่ต่อนานหรือไม่ ถ้าท่านมีชีวิตครองธาตุขันธ์อยู่นาน
ย่อมเป็นที่แน่ใจได้ว่าจะสามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุได้แน่นอน และรวดเร็ว แต่ถ้าท่านบรรลุธรรมแล้ว มรณภาพไปโดยเร็ว
ไม่เป็นที่แน่ใจว่าจะสามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุได้หรือไม่ หรืออาจจะเป็นแต่ใช้เวลานาน
ร่างกายบางส่วนที่ท่านเพ่งจิตบ่อยๆก็สามารถจะแปรสภาพเป็นพระธาตุได้ และมีความใสบริสุทธิ์สะอาดกว่าส่วนอื่น
เพราะธาตุกายเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพอย่างสูงสุดและพยายามแสวงหามาไว้สักการบูชา
บางครั้งก็ได้มาแต่เพียงอัฐิชิ้นเล็กๆที่ยังไม่แปรสภาพหรือเส้นเกสาที่ยังไม่แปรสภาพ ถึงกระนั้นก็ยังเป็นที่หวงแหนของเจ้าของยิ่งนัก
เพราะพระธาตุนั้นเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพยานแห่งการบรรลุธรรมให้ผู้ที่สักการบูชาได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง
และมีกำลังใจในการทำความดี มีกำลังใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เห็นธรรม เพราะเมื่อเห็นพระธาตุแล้วก็รู้ว่าการปฏิบัติธรรมนั้นได้ผลจริง บริสุทธิ์จริง พ้นทุกข์จริง
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
นะโมฯ 3 จบ
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ
อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ
สถานที่จัดแสดงพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี
----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
สารคดีพระธาตุ วัดอโศการาม พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและสมโภชน์ พระธุตังคเจดีย์ เมษายน พศ. 2551
ตำราพระธาตุ พร้อมด้วยสัณฐานและวรรณพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพุทธสาวกขีนาสวะอรหันต์เจ้าทั้งหลายโดยสังเขป ของโรงพิมพ์การศาสนา
พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นาวาอากาศโท ภาสกร จูฑะพุทธิ
ที่มา :
http://www.kaolud.com/publicize/pratart/pratart.html=================================
[/size]