Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 21:48:54

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอริยสาวก (Moderator: SATORI)  |  พระพุทธรูปลอยน้ำ
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: พระพุทธรูปลอยน้ำ  (Read 441 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« on: 23 July 2024, 22:12:32 »

พระพุทธรูปลอยน้ำ



ตำนานอภินิหารของพระพุทธรูปลอยน้ำ : หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อวัดบางพลี


พระพุทธรูปลอยน้ำ

            ประเทศไทยเป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาแห่งเดียวในโลกที่มีพระพุทธรูปปางต่างๆ มากที่สุด มีทั้งพระพุทธรูปขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สร้างด้วยอัญมณีก็มี สร้างด้วยทองคำก็มี สร้างด้วยสำริดก็มี เช่น ที่สุดในโลกที่วัดไตรมิตร และพระศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะในเมืองไทย และยังมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่อีกเป็นจำนวนมากที่ขนย้ายมาจากสุโขทัยและเมืองเหนือ การขนย้ายในสมัยโบราณมีอยู่ทางเดียวที่สะดวกคือมาทางน้ำ อย่างพระศรีศากยมุนีก็มีหลักฐานว่าได้อัญเชิญลงแพมาจากสุโขทัย แล้วอัญเชิญชักพระขึ้นจากแพทางประตูท่าช้างวังหลวง แต่ปรากฏว่าประตูแคบไป ต้องรื้อขยายประตูให้กว้าง จึงชักพระเข้ามาได้และอัญเชิญเป็นประธานในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม



           การอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในแพลอยตามน้ำมาจึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยน้ำมา เรื่องเดิมก็คงพูดกันว่าพระพุทธรูปลงแพลอยน้ำมา ภายหลังคำพูดสั้นลงเป็นพระพุทธรูปลอยน้ำ พระพุทธรูปเก่าที่ไม่ทราบประวัติ แต่รู้แน่ชัดว่ามาทางน้ำ  ประกอบกับท่านมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงเชื่อกันว่าท่านแสดงอภิหารลอยน้ำมา พระพุทธรูปตามตำนานดังกล่าวที่มีชื่อเสียงเล่าลือกันในปัจจุบันมีอยู่ ๓ องค์ด้วยกันคือ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อวัดบางพลี ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า พระสามพี่น้อง เพราะมีตำนานเล่ากันว่า

            กาลครั้งหนึ่งจะเป็นเมื่อไหร่ไม่ปรากฏ มีพระที่เป็นพี่น้องกัน ๓ องค์ อยู่ทางเหนือ ต่างก็มีอิทธิฤทธิ์สำแดงฤทธิ์ได้ คราวหนึ่งได้แสดงอภินิหารเป็นพระพุทธรูปล่องลอยมาตามแม่น้ำจากทางเหนือ หวังจะให้คนทางใต้ได้เห็น ได้มาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางประกง ตรงตำบลสัมปะทวน ได้ลอยทวนน้ำอยู่ทั้ง ๓ องค์ให้ชาวบ้านสัมปะทวนได้แลเห็น พวกชาวบ้านเห็นเป็นพระพุทธรูปก็ชวนกันเอาเชือกเส้นใหญ่ลงไปผูกมัด แล้วช่วยกันฉุดลากเข้าฝั่ง แต่ถึงแม้จะใช้คนถึง ๕๐๐ คนก็ยังไม่สามารถฉุดพระขึ้นมาได้ เชือกที่ใช้ฉุดก็ขาด หมดปัญญาก็พากันเลิกลา พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ก็จมหายไป สถานที่พระลอยทวนน้ำอยู่นั้นต่อมาจึงเรียกกันว่า สามพระทวน (ภายหลังจึงเพี้ยนเป็น สัมปะทวน คือบริเวณหน้าวัดสัมปะทวนอำเภอเมืองฉะเชิงเทราปัจจุบันนี้)

            ต่อจากนั้นพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ก็ล่องลอยไปตามแม่น้ำบางประกงไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธร แล้วสำแดงให้ชาวบ้านเห็น พวกชาวบ้านก็ชวนกันฉุดลากอีก แต่ก็ไม่สำเร็จ พระได้ลอยเข้าไปในคลองเล็กๆ แห่งหนึ่ง แล้วลอยวนอยู่ สถานที่นั้นจึงมีชื่อเรียกว่า “แหลมหัววน” และเรียกคลองนั้นว่า คลองสองพี่สองน้อง (ต่อมาเรียกสั้นลงว่า คลองสองพี่น้อง) หลังจากนั้นองค์พี่ใหญ่ได้สำแดงฤทธิ์ไปลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนสามเสน ประชาชนประมาณสามแสนคนช่วยกันฉุดก็ไม่สำเร็จอีก เรื่องตอนนี้คล้ายกับที่สุนทรภู่แต่งไว้ในนิราศพระบาทมีกลอนว่า

                        ถึงสามเสนแจ้งความตามสำเหนียก
            เมื่อแรกเรียกสามแสนทั้งกรุงศรี
            ประชุมฉุดพระพุทธรูปในวารี
            ไม่เคลื่อนที่ชลธารบาดาลดิน
                        จึงสาบนามสามแสนเป็นชื่อคุ้ง
            เออชาวกรุงกลับเรียกสามเสนสิ้น ...

            กล่าวโดยสรุปพระพุทธรูปได้ลอยไปถึงลำน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีพวกชาวประมงอาศัยอยู่มาก ชาวประมงมีความเลื่อมใสศรัทธา จึงอาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม เรียกว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เรื่องนี้กล่าวไว้ไม่ตรงกัน ตามประวัติจังหวัดสมุทรสงครามเล่าว่า พวกบ้านแหลมปากอ่าวเมืองเพชรบุรี อพยพหนีกองทัพพม่ามาอยู่ที่ฝั่งใต้ปากคลองแม่กลองติดกับวัดบ้านแหลม จึงตั้งชื่อหมู่บ้านที่มาอยู่ใหม่นี้ว่า หมู่บ้านแหลม ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการประมง คราวหนึ่งเอาอวนมาล้อมจับปลาในทะเล ได้พระทอง ๒ องค์ ได้แบ่งให้ชาวบ้านบางตะบูน เพชรบุรี ไปองค์หนึ่ง ได้อัญเชิญไปไว้ที่เขาตะเครา เรียกกันว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา




            ส่วนอีกองค์หนึ่ง ชาวบ้านแหลมได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดศรีจำปา ครั้นต่อมาวัดศรีจำปาชำรุดทรุดโทรมลง ชาวบ้านแหลมที่อพยพมาจากเพชรบุรี จึงสร้างวัดศรีจำปา

ขึ้นใหม่ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชาวบ้านแหลม ตามชื่อบ้านเดิมของตน และเรียกพระพุทธรูปที่ติดอวนมานั้นว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๙๘ วัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดหลวงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร”

            หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สูงเพียง ๕ ฟุต หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง มีคนเคารพนับถือกันมาก

            เรื่องที่เล่ามาข้างต้น เป็นตำนานจะถูกจะผิดอย่างไรก็ไม่ทราบ กล่าวไว้พอให้ทราบเท่านั้น จะเล่าตามประวัติของจังหวัดฉะเชิงเทราต่อไป

            ตามประวัติกล่าวว่า พระสามพี่น้องนั้น องค์ที่เป็นพี่ใหญ่คือหลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีขนาดสูงเพียง ๕ ฟุต องค์กลางนั้นว่าเมื่อลอยมาจากแหลมหัววนดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้ลอยมาที่หน้าวัดโสธร ประชาชนเป็นอันมากได้ช่วยกันฉุดขึ้นก็ไม่สำเร็จ ปรากฏในครั้งนั้นได้มีอาจารย์ทางไสยศาสตร์ผู้หนึ่ง ได้ทำพิธีบวงสรวงเทพยดา แล้วเอาได้สายสิญจน์ไปคล้องที่พระหัตถ์ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานบนวัดได้สำเร็จ แล้วถวายนามหลวงพ่อว่า พระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธร

            พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ แต่เดิมนั้นว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก หน้าตักกว้างเพียงศอกเศษ เป็นพระหล่อด้วยทองสำริด ต่อมาได้พอกปูนให้ใหญ่ขึ้น คือหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๕ นิ้ว เหตุที่ต้องพอกปูนกล่าวกันว่า เป็นเพราะพระพุทธรูปเดิมงามมาก ทางวัดเกรงว่าจะมีคนทุจริตคิดอยากได้ จึงพอกปูนปิดบังไว้ เหมือนอย่างพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตร ที่รอดจากอันตรายมาได้ก็เพราะการพอกปูนบังไว้

            เมื่อแรกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนวัดนั้น ยังไม่มีชื่อเรียก และวัดยังมีชื่อว่าวัดหงส์อยู่ เพราะมีเสาหงส์อยู่หน้าวัด ต่อมาเสาหงส์หัก คนจึงเรียกก้นว่า วัดเสาธงทอน แล้วกลายมาเป็นวัดโสธร เข้าใจว่าหลวงพ่อจะมามีชื่อเสียงสำแดงความศักดิ์สิทธิ์ในคราวนี้ คนจึงเรียกชื่อหลวงพ่อตามชื่อวัดว่าหลวงพ่อโสธร และแต่เดิมอุโบสถที่ประดิษฐานก็คับแคบ เพราะมีพระพุทธรูปอยู่รวมกันอีก ๑๘ องค์ ไม่มีการบูรณะให้ดีขึ้น

            ครั้นถึงวันวิสาขบูชา วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดโสธรวรารามวรวิหาร เพื่อทรงประกอบพิธีวิสาขบูชา ได้ทอดพระเนตรเห็นความชำรุดทรุดโทรม มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

            ตั้งใจมานมัสการหลวงพ่อโสธรนานแล้ว ทำไมสร้างอุโบสถแบบนี้ ไม่สมเกียรติหลวงพ่อโสธร ให้ปรับปรุงแก้ใขเสียใหม่

            ด้วยพระราชดำรัสดังกล่าว ทางวัดจึงดำเนินการปรับปรุงบริเวณวัดให้เรียบร้อยตามพระราชดำริ กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงมอบหมายให้นายประเวศ ลิมปรังษี เป็นสถาปนิกออกแบบพระอุโบสถ ดร.พิบูลย์ จินาวัฒน์ เป็นวิศวกร ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานก่อสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถ หลังใหม่จนแล้วเสร็จ อย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

            ผู้เขียนระลึกได้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปวัดโสธรดังกล่าวข้างต้น ได้ทรงปิดทองหลวงพ่อโสธรด้วย แต่แทนที่จะทรงปิดทองด้านหน้า กลับทรงปิดทางด้านหลัง ได้ค้นดูจากภาพเก่าที่รวบรวมเก็บไว้ พบว่ามีผู้นำไปพิมพ์เป็นบัตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นเวลา ๕๐ ปีพอดี เห็นว่าเป็นภาพที่หาดูได้ยากจึงส่งมาพิมพ์ฝากไว้


 

            บัตรอวยพรปีใหม่ดังกล่าว ครูสงบ สวนสิริ (สันตสิริ) เป็นผู้ส่งมาให้ ภายในมีคำกลอนดังนี้

            “ทุกคนคิดปิดทองพระปฏิมา
            เบื้องพักตราแนบไว้ให้กระจ่าง
            ครั้งพระองค์ทรงปิดเบื้องปฤษฎางค์
            เลิศด้วยสร้างอุทาหรณ์ไว้สอนใจ”

            คนส่วนมากถือกันว่า เมื่อปิดทองพระพุทธรูปก็ต้องปิดทองด้านหน้าสำคัญกว่าด้านหลัง เพราะมองเห็นด้านหน้าเพียงด้านเดียว ไม่เห็นด้านหลัง ซึ่งจะตั้งติดฝาผนัง และส่วนมากจะคิดว่าปิดทองด้านหน้าแล้วจะได้บุญแรง แต่ความจริงแล้วจะปิดด้านไหนก็ได้บุญเท่ากัน คนมาคิดกันเองว่า ปิดทองด้านหลังแล้วไม่ได้หน้าได้ตา สู้ปิดด้านหน้าไม่ได้ เท่ากับว่าทำดีเสียเปล่าด้วยเหตุนั้น จึงคิดกันว่าคนที่ทำอะไรแม้นจะทำดีมีความสำคัญ แต่เมื่อไม่มีใครเห็นว่าสำคัญ ก็พูดกันว่า ปิดทองหลังพระ (ดังปรากฏในเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” นั้นแล้ว)



            พระพุทธรูปลอยน้ำองค์ใหญ่คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และพระพุทธรูปลอยน้ำองค์กลางคือหลวงพ่อโสธร ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาว่าศักดิ์สิทธิ์ มีคนเคารพนับถือมาก ส่วนพระพุทธรูปลอยน้ำองค์เล็กไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แม้แต่หนังสือประวัติจังหวัดสมุทรปราการก็ไม่กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่กลับไปมีในประวัติจังหวัดฉะเชิงเทราว่า “ส่วนองค์สุดท้องล่องลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และชาวบ้านบางพลีได้อัญเชิญประดิษฐานอยู่ที่วัดบางพลี นั้นชื่อว่า หลวงพ่อโต ปรากฎว่ามีผู้เคารพนับถือมาก”

            ถ้ากล่าวตามหนังสือประวัติจังหวัดสมุทรปราการ ที่พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ไม่ได้กล่าวถึงหลวงพ่อโต วัดบางพลี ก็แสดงว่าเวลานั้นไม่มีการแห่แหนอย่างที่ทำกันในปัจจุบัน ผู้เขียนประวัติจึงมิได้กล่าวไว้

            ความจริงพระพุทธรูปลอยน้ำเคยมีจริง เรียกกันว่า “หลวงพ่อลอย” จะขอเล่าตามที่จำได้ว่า ประมาณร่วม ๑๐๐ ปีมาแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม (ธนบุรี) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโคกเข็ม จังหวัดชัยนาท ในระหว่างนั้นมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยมาติดที่ท่าหน้าวัด มีป้ายเขียนบอกว่า “พระฝนแล้วใครพบให้เขี่ยทิ้งไป” สมเด็จทราบเรื่องสั่งให้เก็บไว้ แล้วนำมาปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทองใหม่ ให้อัญเชิญกลับไปไว้ที่วัดโคกเข็ม ปรากฎภายหลังว่า มีคนอาราธนาขอน้ำมนต์รักษาโรคต่างๆ ได้ มีความศักดิ์สิทธิ์เลื่องลือไป

            หลวงพ่อลอย เป็นพระพุทธรูปยืนแกะด้วยไม้ เข้าใจว่าจะเป็นไม้พิธีตามความนิยมของคนแต่ก่อน ฉะนั้นจึงมีน้ำหนักเบาลอยน้ำได้ เมื่อหลายสิบปีมาแล้วผู้เขียนอยากเห็นองค์จริงของท่านจึงไปที่วัดวัดโคกเข็ม ก็ได้ทราบว่าหลวงพ่อลอยถูกขโมยไปนานแล้ว องค์ที่มีอยู่เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ แทนองค์จริงที่หายไป ขอเล่ารวมไว้เพราะเป็นพระพุทธรูปลอยน้ำจริงๆ

 Hits: 5663


.....
ขอบคุณ วัฒนธรรม
http://article.culture.go.th/index.php/layouts-modules-positions/3-column-layout-5/182-2019-12-09-03-19-21

.




Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #1 on: 21 December 2024, 21:57:49 »


หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปลอยน้ำ
..
งานบุญประจำปี
พิธีอัญเชิญหลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากแม่นํ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
..




กาลครั้งหนึ่ง มีพระพี่น้องกัน ๓ องค์ อยู่ทางเหนือ คราวหนึ่งได้แสดงอภินิหารเป็นพระพุทธรูปล่องลอยมาตามแม่น้ำจากทางเหนือ หวังจะให้คนทางใต้ได้เห็น ได้มาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางประกง ตรงตำบลสัมปะทวน ได้ลอยทวนน้ำอยู่ทั้ง ๓ องค์ให้ชาวบ้านสัมปะทวนได้แลเห็น พวกชาวบ้านเห็นเป็นพระพุทธรูปก็ชวนกันเอาเชือกเส้นใหญ่ลงไปผูกมัด แล้วช่วยกันฉุดลากเข้าฝั่ง แต่ถึงแม้จะใช้คนถึง ๕๐๐ คนก็ยังไม่สามารถฉุดพระขึ้นมาได้ เชือกที่ใช้ฉุดก็ขาด หมดปัญญาก็พากันเลิกลา พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ก็จมหายไป สถานที่พระลอยทวนน้ำอยู่นั้นต่อมาจึงเรียกกันว่า สามพระทวน (ภายหลังจึงเพี้ยนเป็น สัมปะทวน คือบริเวณหน้าวัดสัมปะทวนอำเภอเมืองฉะเชิงเทราปัจจุบันนี้)

.




ตามประวัติกล่าวว่า พระสามพี่น้องนั้น องค์ที่เป็นพี่ใหญ่คือหลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีขนาดสูงเพียง ๕ ฟุต องค์กลางนั้นว่าเมื่อลอยมาจากแหลมหัววนดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้ลอยมาที่หน้าวัดโสธร ประชาชนเป็นอันมากได้ช่วยกันฉุดขึ้นก็ไม่สำเร็จ ปรากฏในครั้งนั้นได้มีอาจารย์ทางไสยศาสตร์ผู้หนึ่ง ได้ทำพิธีบวงสรวงเทพยดา แล้วเอาได้สายสิญจน์ไปคล้องที่พระหัตถ์ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานบนวัดได้สำเร็จ แล้วถวายนามหลวงพ่อว่า พระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธร

.




พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ แต่เดิมนั้นว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก หน้าตักกว้างเพียงศอกเศษ เป็นพระหล่อด้วยทองสำริด ต่อมาได้พอกปูนให้ใหญ่ขึ้น คือหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๕ นิ้ว เหตุที่ต้องพอกปูนกล่าวกันว่า เป็นเพราะพระพุทธรูปเดิมงามมาก ทางวัดเกรงว่าจะมีคนทุจริตคิดอยากได้ จึงพอกปูนปิดบังไว้ เหมือนอย่างพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตร ที่รอดจากอันตรายมาได้ก็เพราะการพอกปูนบังไว้

.




เมื่อแรกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนวัดนั้น ยังไม่มีชื่อเรียก และวัดยังมีชื่อว่าวัดหงส์อยู่ เพราะมีเสาหงส์อยู่หน้าวัด ต่อมาเสาหงส์หัก คนจึงเรียกก้นว่า วัดเสาธงทอน แล้วกลายมาเป็นวัดโสธร เข้าใจว่าหลวงพ่อจะมามีชื่อเสียงสำแดงความศักดิ์สิทธิ์ในคราวนี้ คนจึงเรียกชื่อหลวงพ่อตามชื่อวัดว่าหลวงพ่อโสธร และแต่เดิมอุโบสถที่ประดิษฐานก็คับแคบ เพราะมีพระพุทธรูปอยู่รวมกันอีก ๑๘ องค์ ไม่มีการบูรณะให้ดีขึ้น

.




พระพุทธรูปลอยน้ำองค์ใหญ่คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม และพระพุทธรูปลอยน้ำองค์กลางคือหลวงพ่อโสธร ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาว่าศักดิ์สิทธิ์ มีคนเคารพนับถือมาก ส่วนพระพุทธรูปลอยน้ำองค์เล็กไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แม้แต่หนังสือประวัติจังหวัดสมุทรปราการก็ไม่กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่กลับไปมีในประวัติจังหวัดฉะเชิงเทราว่า “ส่วนองค์สุดท้องล่องลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และชาวบ้านบางพลีได้อัญเชิญประดิษฐานอยู่ที่วัดบางพลี นั้นชื่อว่า หลวงพ่อโต ปรากฎว่ามีผู้เคารพนับถือมาก”

.




.



.



.




Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.062 seconds with 22 queries.