ppsan
|
|
« on: 14 March 2013, 17:48:43 » |
|
"ตุ๊ดตู่" ที่แท้แค่ "เหี้ย"จำพวกหนึ่ง
เหี้ย,เหี้ยลายดอก สัตว์เลื้อยคลานที่ชื่อของมันถูกคนไทยใช้มาเป็นคำด่ายอดนิยมอย่าง “เหี้ย” (หรือที่แก้เคล็ดเรียกมันว่าตัวเงินตัวทอง และพยายามเรียกให้มันดูสุภาพตามชื่อวิทยาศาสตร์ว่า“วรนุส”-Varanus salvator ) ปัจจุบันถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ขายได้ทั้งหนังทั้งเนื้อ คนที่ชอบกินเนื้อเหี้ยหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเนื้อเหี้ยตรงส่วนหางที่เรียกว่า“บ้องตัน”นั้นอร่อยนัก ขณะที่ในทางระบบนิเวศตามธรรมชาตินั้น เหี้ยสัตว์ที่คนไทยตั้งแง่รังเกียจ ถือเป็นนักกำจัดซากตัวยงมันช่วยกำจัดสิ่งปฏิกูลกำจัดซากจากสิ่งแวดล้อม แต่เหี้ยก็มีพฤติกรรมไม่ดีตรงที่มันชอบไปขโมยกินไก่ กินไข่ กินเป็ด ของชาวบ้าน ทำให้คนไทยไม่ชอบมันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังนำพฤติกรรมไม่ดีของมันรวมรูปร่างลักษณะที่ดูไม่เจริญตา(น่าเกลียดในสายตาคนส่วนใหญ่)มาใช้เป็นคำด่าที่นับจากอดีตถึงปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมอยู่ไม่สร่างซา สำหรับ “เหี้ย” (อังกฤษ: Water monitor, ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus salvator) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในสกุล Varanus ที่มีความยาวใหญ่เป็นอันดับสองรองจากมังกรโคโมโด (Komodo dragon; Varanus komodoensis) ที่พบบนเกาะโคโมโด ประเทศอินโดนีเซีย เหี้ย มีลักษณะลำตัวเป็นเกล็ดหนังสีดำ มีลายเป็นดอก(วงรี)สีเหลืองพาดขวางทางยาวตามลำตัวเป็นช่วงๆ มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงูใช้สำหรับรับกลิ่น พูดถึงเหี้ยแล้วอาจมีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเหี้ยคือตะกวด ซึ่งอันที่จริงสัตว์ตระกูลเหี้ยที่พบเห็นกันในบ้านเรา มันไม่ใช่เหี้ยอย่างเดียวแต่มันเป็นสัตว์วงศ์เดียวกัน มีอยู่ทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
ตะกวด,แลน 1. เหี้ย เหี้ยดอก มังกรดอก ตัวเงินตัวทอง (Water Monitor ; Varanus salvator) มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศาคณาเหี้ยเมืองไทย ตัวมีสีดำมีลายดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน พาดขวางลำตัว หางมีสีดำหรือลายปล้องดำสลับเหลืองอ่อน บางตัวมีจุดแดงเล็กๆที่หาง ชอบอาศัยตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ พบทั่วทุกภาคในเมืองไทย 2.ตะกวด แลน (Bengal monitor ; Varanus bengalensis)พบทุกภาคทั่วไทย มีสีรวมๆทั้งตัวเป็นสีเหลืองอ่อน เหลืองหม่น สีน้ำตาลเป็นจุดเล็กๆ ส่วนหัวมักมีสีอ่อนกว่าตัว มีหางเรียวยาวเป็นพิเศษ ขึ้นต้นไม้เก่ง ชอบอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ
เห่าช้าง 3.เห่าช้าง (Roughneck monitor lizard ; Varanus rudicollis) มีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากเหี้ย ตัวและหางมีวีดำ มีลานสีจางๆ เป็นปื้น เป็นดอก เป็นปล้อง ตามลำตัว หัวมีสีเทาคล้ำ พบทางภาคใต้และภาคตะวันตก เมื่อจวนตัวจะพองคอขู่ฟ่อๆจึงถูกเรียกว่า "เห่าช้าง" ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำลายของมันมีพิษ หากถูกกัดจะเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ความจริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด
เหี้ยดำ 4.เหี้ยดำหรือมังกรดำ (Black water monitor, Black dragon ; Varanus salvator komaini ) มีรูปลักษณะคล้ายเหี้ย แต่ตัวเล็กกว่า ลำตัวมีสีดำ(ด้าน)ทั้งตัว ท้องมีสีเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วง พบทางภาคใต้ ชายทะเล และเกาะเล็กๆ
แลนดอน 5.แลนดอน (Yellow monitor ; Varanus flavescens) มีสีคล้ายตะกวด แต่หัวมีสีเหลืองสดหรือสีส้มเรื่อๆ ชอบอยู่บนที่ดอนจึงถูกเรียกว่าแลนดอน พบตามจังหวัดชายแดนที่ติดกับพม่า
ตุ๊ดตู่ 6.ตุ๊ดตู่ (Red-headed Monitor(Harlequin Monitor) ; Varanus dumerilii) มีขนาดเล็กที่สุดในวงศาคณาเหี้ยไทย ลำตัวมีสีน้ำตาลเทามีลายเป็นปล้องเป็นวงแหวนสีอ่อน หัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอ่อน ข้างใต้คอมีสีอ่อนจนเกือบขาว พบว่าอาศัยอยู่ทางภาคใต้เป็นหลัก และนั่นก็คือเรื่องราวคร่าวๆของเหี้ยกับสัตว์ในตระกูลเหี้ยในเมืองไทย ที่แม้ใครๆหลายๆคนจะไม่ชอบมัน แต่มันก็เป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน โดยสามารถพบเห็นเหี้ยได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำ ห้วยหนอง คลองบึง ป่าชายเลน ปากแม่น้ำ รวมถึงที่ลำคลองและท่อระบายน้ำ หรือแม้กระทั่งที่ทำเนียบและรัฐสภาก็มักจะปรากฏข่าวการพบเห็นเหี้ยเดินเพ่นพ่านแถวๆนั้นอยู่บ่อยครั้ง
|