User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
22 December 2024, 17:03:17
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618
Posts in
12,929
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
เหนือเกล้าชาวสยาม
|
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอริยสาวก
(Moderator:
SATORI
) |
พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
[
1
]
Author
Topic: พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (Read 2924 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
«
on:
11 March 2013, 20:18:21 »
พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า
ชื่อ งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า
วันและเวลา มาฆบูชา พ.ศ. 2555—31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สถานที่ ธงชาติของไทย ทั่วราชอาณาจักร
ผู้จัด รัฐบาลไทย คณะสงฆ์ไทย และพุทธศาสนิกชน
โอกาส การเฉลิมฉลองการครบรอบ 26 สัมพุทธศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสมเด็จพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
พุทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment)
เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555
การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า และประเทศไทย
โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี
เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี
แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)
ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555
ตราสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
ประเทศไทย
การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ได้เสนอรูปแบบพร้อมความหมายธงสัญลักษณ์แก่มหาเถรสมาคม และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เป็นสัญลักษณ์การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี
แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานทางราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ใช้ประดับตกแต่ง ณ สถานที่ราชการ
วัดและเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่ช่วงมาฆบูชา หรือช่วงเทศกาลวิสาขบูชา (วันที่ 29 พฤษภาคม 2555) เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2555
โดยธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี มีรูปแบบดังนี้
ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีเหลือง
มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี
รูปธรรมจักรมีซี่ จำนวน 12 ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ 3 ในอริยสัจ 4
มีชื่องานภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศหรือสถานที่ระดับสากล
สามารถสลับที่ระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้
ความหมายของธงสัญลักษณ์นั้น
ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
การจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ
1. พิธีหลวง พิธีที่มีความเกี่ยวข้องกับสำนักพระราชวัง หรือเป็นพิธีพุทธบูชาที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน
ในกิจกรรมพุทธบูชาในช่วงเวลาการฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในวาระต่าง ๆ เช่น พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวง
จากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานยังมณฑลพิธีงานพุทธชยันตี 2600 ปี ณ ท้องสนามหลวง การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด
งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเสด็จพระราชดำเนินไป
ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปสมโภชพุทธชยันตี การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกฉัตรประดิษฐานเหนือพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นต้น
2. รัฐพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ภาครัฐอำนวยการ รวมถึงพิธีต่าง ๆ ที่มหาเถรสมาคมดำริหรือมีมติให้เป็นกิจกรรมโดยคณะสงฆ์ไทย
เช่น การจัดตั้งคณะอำนวยการจัดงาน ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ
การจัดกิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 ท้องถิ่น : 1 พุทธบูชา เป็นต้น
3. ราษฎรพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ วัด พระสงฆ์ องค์กรภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนร่วมกันจัดขึ้นด้วยความศรัทธา ในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น กิจกรรมการเวียนเทียน การจัดทำบุญและถวายมหาสังฆทาน กิจกรรมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิจกรรมงานวัดลอยฟ้า
กิจกรรมฉายภาพยนต์สื่อธรรมะทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมตักบาตรพระ 1,000,000 รูป เป็นต้น
การเตรียมงาน
ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 28/2553 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555
ครบรอบ 26 ศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น และมหาเถรสมาคมได้มีมติที่ 628/2553
เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 เป็นพิเศษ เพราะวันวิสาขบูชา ปี 2555 ถือเป็นวันสำคัญยิ่งเป็นพิเศษ
เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 2,600 ปี หรือครบศตวรรษที่ 26 แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประสานขอรับฟังความคิดเห็นจากกรรมการมหาเถรสมาคม
อธิการบดีและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสงฆ์ เจ้าคณะภาค นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นสอดคล้องกันว่า
ควรมีการจัดกิจกรรมพิเศษให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
ในปี พ.ศ. 2555 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีการประชุมหารือร่วมกับ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนกรมการศาสนา
ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้แทนมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ
และองค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อสรุปหาแนวทางการจัดงาน และเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบ
ให้ใช้แนวทางการดำเนินงานตามที่ที่ประชุมของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดังกล่าวเสนอมา โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับ
การจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการจัด โดยที่ประชุมมีมติร่วมกันดังนี้
ใช้ชื่อว่า “งานฉลองสัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า”
รัฐบาลและคณะสงฆ์ไทยโดยมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานหลัก
ใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล
การจัดงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และด้านกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ระยะเวลาจัดงานในช่วงสัปดาห์เทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 - วันที่ 4 มิถุนายน 2555 รวม 7 วัน
ให้มีธงสัญลักษณ์ “งานฉลอง สัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” เพื่อให้ทุกวัดทั้งในและต่างประเทศใช้ประดับบริเวณวัดและสถานที่เหมาะสม
คณะกรรมการจัดงานภาครัฐ
ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กรรมการประกอบด้วย
มหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
พิธีหลวง
หมายกำหนดการพิธีและพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2555 ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ดังต่อไปนี้
วันที่ เวลา พระราชพิธี สถานที่
วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 07.00 น. - 10.00 น. พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง*
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 17.00 น. พระราชพิธีทรงตั้งเปรียญ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 16.00 น. - 17.00 น. พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา* ลานพระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 17.30 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปงานวันวิสาขบูชา มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 18.00 น. พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
การจัดงานในประเทศอื่น ๆ
ในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้มีการจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ พร้อมกันในปี พ.ศ. 2555 เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยการนับพุทธศักราชที่แตกต่างกัน ทำให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี
แห่งการตรัสรู้ เร็วกว่าประเทศไทย 1 ปี 1
โดยในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดีย ได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วิสาขบูชา พ.ศ. 2553 ถึงพ.ศ. 2555
เช่นในประเทศศรีลังกาใช้ชื่องานว่า The 2600th Sambuddathwa Jayanthi โดยจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่ทั่วประเทศในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา
ในปี พ.ศ. 2554 (พ.ศ. 2555 ตามการนับพุทธศักราชแบบศรีลังกา) มีการออกเหรียญที่ระลึกโดยรัฐบาล การจัดสร้างอนุสรณ์สถานพุทธชยันตี
และการบูรณะพุทธเจดีย์สถานโบราณในเมืองอนุราธปุระ และกิจกรรมพุทธบูชาต่าง ๆ ถูกจัดขึ้นทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ส่งเสริมให้ประชาชนไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน โดยมีการจัดงานใหญ่ของรัฐบาลและคณะสงฆ์ศรีลังกา
ในพุทธสถานสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติในประเทศอินเดีย-เนปาล ตลอดทั้งปี
หมายเหตุ
1: ประเทศไทยจัดงานฉลอง พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งช้ากว่าประเทศอื่น ๆ 1 ปี
โดยประเทศอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จัดงานฉลองนี้ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554 (ตามการนับพุทธศักราชแบบไทย)
เนื่องจากประเทศไทยนับพุทธศักราชช้ากว่าประเทศอื่น โดยประเทศไทยนับหนึ่งปีหลังพุทธปรินิพพานเป็น พ.ศ. 1
แต่ประเทศอื่นนับตั้งแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเป็น พ.ศ. 1 (ดูเพิ่มที่ พุทธศักราช)
พุทธศักราช
พุทธศักราช หรือ พ.ศ. (Buddhist calendar) คือ ช่วงกำหนดเวลาซึ่งกำหนดเอาปี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นเบื้องต้นในการกำหนดนับ
ซึ่งพุทธศักราชนี้ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในประเทศพม่าและประเทศกัมพูชานับในปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเลย
เช่น ในประเทศไทยเป็นปี พ.ศ. 2548 แต่ในพม่าและกัมพูชาเป็น พ.ศ. 2549 ส่วนในประเทศศรีลังกาจะเปลี่ยนศักราชในวันวิสาขบูชา
พุทธศักราชและคริสต์ศักราช
ในสมัยก่อน ปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินสุริยคติสากล นับเดือนที่เปลี่ยนศักราชไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ไทยจะเปลี่ยนศักราชในวันที่ 1 เมษายน
ในขณะที่สากลจะเปลี่ยนในวันที่ 1 มกราคม ทำให้พุทธศักราชและคริสต์ศักราชคาบเกี่ยวกัน โดยที่สามเดือนแรกในคริสต์ศักราช (มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม)
จะตรงกับพุทธศักราชก่อนหน้า เช่น ค.ศ. 1900 สามเดือนแรกจะตรงกับ พ.ศ. 2442 และเดือนอื่นๆ จะตรงกับ พ.ศ. 2443
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไปเป็น 1 มกราคม ให้เทียบเท่ากับสากล
โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป จึงทำให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียงแค่ 9 เดือน (เมษายน - ธันวาคม)
===================================
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
Re: พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
«
Reply #1 on:
11 March 2013, 20:19:19 »
-----------------------------------
ประสูติ
ตรัสรู้
ปรินิพพาน
----------------------------------
------------------------------------
ภาพพุทธประวัติ
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน พระะเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา
พระะเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา พระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน สันดุสิตเทพบุตรได้รับอาราธนาจากทวยเทพให้จุติสู่โลกมนุษย์
สันดุสิตเทพบุตรได้รับอาราธนาจากทวยเทพให้จุติสู่โลกมนุษย์เพื่อขนสรรพสัตว์ในวัฏสงสารสู่ความพ้นทุกข์
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน พระนางสิริมหามายาทรงสุบินนิมิต
พระนางสิริมหามายาทรงมีพระสุบินนิมิตเห็นพระยาช้างเผือกเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดาของสันดุสิตเทพบุตร
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา
เจ้าชายสิทธัตถะประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดาที่ลุมพินีวัน ระหว่างกรุงเทวทหะกับกรุงกบิลพัสดุุ์์์ เมื่อวันเพ็ญ ๑๕ ค่า เดือน ๖
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน อสิตดาบสเข้าเยี่ยม
อสิตดาบสลงจากภูเขาหิมาลัยมาเยี่ยมพระเจ้าสุทโธทนะ และพระราชาทรงนำราชกุมารสิทธัตถะออกมาให้วันทาพระดาบส
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน ทำนายพระลักษณะของพระสิทธัตถกุมาร
ตอนทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ พราหมณ์อื่นทำนายเป็น 2 นัย ว่า หากครองฆราวาสจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
แต่พราหมณ์หนุ่มชื่อโกณฑัญญะฟันธงทำนายเป็นนัยเดียวว่า จะออกบวชและเป็นศาสดาเอกของโลก
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะมีพระทัยใฝ่ในสันติ
เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในทางสันติตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพิจาณาเห็นว่า การประกอบอาชีพใดก็ตาม
มนุษย์ล้วนแต่จะต้องแข่งขันชิงดีชิงเด่นและทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามเสมอ แม้แต่ในหมู่สัตว์เองสัตว์ใหญ่ก็จะเบียดเบียนสัตว์เล็กให้เห็นเป็นประจำ
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงแสดงความสามารถในการแข่งขันการใช้ธนู
เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงแสดงความสามารถในการแข่งขันการใช้ธนูจนได้รับชัยชนะเหนือผู้อื่น และได้รับสิทธิในการอภิเษกกับเจ้าหญิงยโสธรา(พิมพา)ผู้เลอโฉม
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา(พิมพา)
เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา(พิมพา)
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๔
วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกมานอกพระราชวัง พร้อมด้วยนายฉันนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ
ทรงเห็นว่าชีวิตสมณะเป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นความไม่งามของนางสนม
เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นความไม่เรียบร้อยและความไม่งามของบรรดานางสนมในขณะนอนหลับในยามค่ำคืน
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรพระชายาและพระโอรสครั้งสุดท้าย
เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรพระนางยโสธราพระชายาและราหุลพระโอรสเป็นครั้งสุดท้าย
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมีนายฉันนะตามเสด็จเพื่อออกผนวช
เจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยที่จะออกผนวช จึงได้ประทับบนหลังม้าชื่อกัณฐกะโดยมีนายฉันนะตามเสด็จในค่ำคืนวันหนึ่ง
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน เจ้าชายสิทธัตถะใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลี ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เมื่อทรงม้ากัณฐกะพร้อมกับนายฉันนะมาถึงที่ริมฝั่งแม่น้ำ เจ้าชายสิทธัตถะได้ใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลีเพื่อแปลงเพศบรรพชาเป็นนักบวช
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน พระเจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญทุกรกิริยา
พระเจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญทุกรกิริยา(ทรมานตน) จนร่างกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ในท่ามกลางการดูแลของปัญจวัคคีย์
แต่เมื่อได้สดับพิณสามสายของเทวดาแล้ว ก็ได้ปรับเปลี่ยนพระทัยหันมาปฏิบัติทางสายกลาง
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน พระเจ้าชายสิทธัตถะรับข้าวปายาสจากนางวิสาขา
พระเจ้าชายสิทธัตถะทรงรับข้าวปายาสที่นางวิสาขาน้อมนำมาถวายภายหลังจากทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา(ทรมานตน)
ภาพพุทธประวัติลายเส้น ตอน พระเจ้าชายสิทธัตถะลอยถาดเสี่ยงทาย
พระเจ้าชายสิทธัตถะทรงลอยถาดเสี่ยงทาย ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาครู้ว่า พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้แล้ว
======================================
Logged
Pages:
[
1
]
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.114 seconds with 20 queries.
Loading...