Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 23:36:54

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ชุมชนต้นแบบแห่งความพอเพียง ๔ ภาค และ ชุมชนตัวอย่างทั่วโลก  |  ชุมชนชาวอโศก  |  เครือข่ายสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เครือข่ายสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.)  (Read 1452 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 05:53:21 »

เครือข่ายสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย(คกร.)


"ซื่อสัตย์ เสียสละ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ยึดมั่นวัฒนธรรมไทย”

ความเป็นมา

เมื่อพูดถึงเกษตรกร จะมองถึงภาพของความยากจน ต้องทำงานหนัก ผู้มีหนี้สินท่วมตัว ชีวิตค่อนข้างมืดมน ทำให้คนไม่อยากเป็นเกษตรกร คนที่มีการศึกษาดี มีปัญญาดี มีความสามารถดีที่จะมาช่วยกันพัฒนาการด้านกสิกรรมมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ ต่างก็มุ่งหนีงานหนักไปสมัครงานสบาย ต้องการรายได้สูงๆ คอยกินผลผลิตจากเกษตรกร

กระแสการโฆษณาที่กระตุ้นให้คนมีความต้องการบริโภคสินค้านานาชนิด ทำให้คนลืมนึกถึงความต้องการที่แท้จริงของชีวิต เกษตรกรที่ไม่รู้เท่าทันจึงตกเป็นเหยื่อการเอารัดเอาเปรียบ ได้รับความทุกข์ยาก ที่ดินสำหรับทำกินตกเป็นของนายทุน การทำกสิกรรมที่ขาดความรู้ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของคน ผลผลิตการเกษตรเต็มจึงไปด้วยสารพิษอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

โดยเนื้อหาที่แท้จริง เกษตรกรเป็นผู้มีอาชีพบุญ เพราะเกษตรกรเป็นผู้ผลิตอาหารให้คน คนต้องกินอาหารทุกวัน แต่ถ้าอาหารที่ผลิตออกไปเต็มไปด้วยสารพิษ ก็เป็นการทำบาป เป็นการทำร้ายผู้บริโภค เกษตรกรน่าจะมีทางเลือกที่ไม่ต้องทำบาปก็ได้

กลุ่ม “ชุมชนชาวกสิกรรมไร้สารพิษ” ได้ก่อกำเนิดมาเมื่อ พ.ศ.2515 โดยเริ่มจากการมาร่วมกันศึกษาและปฏิบัติธรรม เน้น การถือศีลเคร่ง ซื่อสัตย์ เสียสละ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ยึดมั่นวัฒนธรรมไทย การพึ่งตนเอง ลดการบริโภคสิ่งที่ไม่จำเป็น การอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง ให้ความสำคัญกับ 3 อาชีพ คือ

กสิกรรมธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้สารเคมีที่ทำร้ายธรรมชาติ

ปุ๋ยสะอาด การทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง

ขยะวิทยา การแยกขยะ และการจัดระบบขยะให้เกิดคุณค่า

จากกลุ่มเล็กๆ ได้มีผู้เห็นด้วยและปฏิบัติตาม ได้รับผลดี มีความเป็นอยู่ที่ผาสุกจำนวนมากขึ้นในท้องที่ต่างๆทั่วประเทศ เกิดการรวมกลุ่มผู้ทำกสิกรรมไร้สารพิษเป็นชุมชนและองค์กรเอกชนในแต่ละท้องถิ่นมากขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาในเดือนมีนาคม 2544 จึงได้จัดระบบขององค์กรเป็นเครือข่ายเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อกัน โดยใช้ชื่อว่า “เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย” มีชื่อย่อว่า “คกร”

 เป้าหมาย

เพื่อสร้างลักษณะ 4 ประการ คือ

2.1 เศรษฐกิจพึ่งตน ชุมชนมีความเป็นอยู่ในลักษณะเศรษฐกิจแบบพอเพียง สามารถพึ่งตนจนเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้

2.2 ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนลดการพึ่งพาจากภายนอก มีการทำงานร่วมกันในระบบกลุ่ม มีงาน มีกิจการที่มั่นคง มีวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน หายนะธรรมไม่สามารถครอบงำชุมชนได้

2.3 ประชามีธรรม ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักธรรมศาสนา มีความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูล มีเมตตา ให้อภัย มีน้ำใจที่ดีต่อกัน

2.4 ประเทศมีไท ประเทศไม่จำเป็นต้องพึ่งพาต่างประเทศ สามารถผลิตของกินของใช้ได้อย่างพอเพียง ไม่มีหนี้ มีความอุดมสมบูรณ์จนสามารถช่วยเหลือประเทศอื่นได้


ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน

แบ่งเป็นสองด้าน คือ ด้านจิตภาพ และ ด้านกายภาพ

3.1 ด้านจิตภาพ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรมของมนุษย์ เน้นให้สมาชิกลด ละ เลิก อบายมุข และพัฒนาคุณธรรมที่สูงขึ้นเท่าที่สามารถจะทำได้ คือ การลด ละ เลิก กามคุณ โลกธรรม อัตตา เป็นลำดับ

คุณธรรมพื้นฐาน 6 ประการ ต้องทำให้เกิดจริงเป็นจริงจนถึงขั้นเกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติและผู้อื่น ได้แก่

สะอาด ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ กตัญญู
สะอาด   เครื่องชี้วัด คือ ปราศจากอบายมุข อานิสงส์ คือ ไร้โรคกาย จิต
ขยัน เครื่องชี้วัด คือ กระตือรือร้น อานิสงส์ คือ มีกินมีใช้
ประหยัด เครื่องชี้วัด คือ รู้กิน รู้อยู่ อานิสงส์ คือ เศรษฐกิจมั่นคง
ซื่อสัตย์ เครื่องชี้วัด คือ ไม่คดโกง อานิสงส์ คือ ความเชื่อถือ
เสียสละ เครื่องชี้วัด คือ เห็นแก่ส่วนรวม อานิสงส์ คือ เป็นที่รัก
กตัญญู เครื่องชี้วัด คือ เกื้อกูลผู้มีคุณ อานิสงส์ คือ เป็นมนุษย์สมบูรณ์

3.2 ด้านกายภาพ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง สังคมพึ่งตน วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม

3.2.1   เศรษฐกิจพอเพียง ใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมทองคำ กล่าวคือ    ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้จำหน่าย เป็นกลุ่มเดียวกัน

ปลูกในสิ่งที่เรากิน
กินในสิ่งที่เราปลูก
ปลูกจนเหลือกินจึงจำหน่าย

ยุทธวิธีของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ขั้นตอน คือ

การผลิต เพื่อลดต้นทุน ใช้เทคโนโลยีเรียบง่าย ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ทำกสิกรรมไร้สารพิษ ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง ทำน้ำยาอเนกประสงค์ใช้เอง    การแปรรูป เพื่อกิน เพื่อใช้ เพื่อบริโภค จนพอเพียง แล้วจึงเพื่อขาย

การตลาด ใช้ระบบบุญนิยม เพื่อ
เป็นไท คือ การพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นหนี้
เป็นธรรม คือ ขายถูก ไม่ฉวยโอกาส ซื่อสัตย์ เสียสละ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน
เป็นพลัง คือ อิสรเสรีภาพ ภราดรภาพ สันติภาพ สมรรถภาพ และบูรณภาพ

3.2.2 สังคมพึ่งตน ใช้ยุทธวิธี 2 แกนหลัก คือ

(1) การจัดองค์กรชุมชน สร้างกลุ่มอาชีพ และกลุ่มกิจกรรม สร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ ลดการพึ่งพาจากภายนอก

(2) การสร้างค่านิยมที่ดีงาม ด้วยการ

- เร่งประหยัด
- อัดพลังสร้างสรร
- ช่วยกันอุดหนุนของไทย
- รู้บุญ เลิกบาป
-เอิบอาบเสียสละ

3.2.3 สร้างวัฒนธรรมที่ดี ด้วย 2 วิธี

(1) วิถีชีวิต ที่ประกอบด้วย

- การนิยมไทย
- เรียบง่าย ประหยัด
- ขยัน อดทน
- กตัญญู

(2) จุดไฟศรัทธา ในเรื่องของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และภูมิปัญญาไทย

3.2.4 สิ่งแวดล้อม 2 ด้าน คือ

(1) ชุมชน ได้แก่ การรักษาความสะอาดด้วย การปราศจากมลพิษและสิ่งเสพติด นำระบบ 5 ส.มาพัฒนาใช้ในชุมชน คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขอนามัย สร้างนิสัย

(2) ธรรมชาติ ได้แก่ การรักษา แหล่งน้ำ และป่าไม้ งดการเผา การทำลาย เพื่อให้ ดินงาม น้ำใส ใบไม้สดสวยสะอาด อากาศบริสุทธิ

แผนงาน

แบ่งเป็นสองด้าน คือ

4.1 งานพัฒนาการผลิต

4.1.1 การจัดอบรมสัมมนา ให้ความรู้ทางด้านจิตภาพและกายภาพแก่สมาชิกและผู้สนใจ ปีละประมาณ 20,000 คน

(1) สถานที่ ใช้ชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมได้ 19 แห่ง

(2) บุคลากร

ทางด้านศีลธรรม มีนักบวชเป็นแกนหลัก
ด้านงานอาชีพ มีประชากรในชุมชนและผู้ปฏิบัติธรรมจากภายนอกชุมชน
ด้านวิชาการ มีวิทยากรรับเชิญ และวิทยากรในชุมชน

(3) หลักสูตรการอบรม แบ่งเป็น 3 ระดับ

หลักสูตรสัจธรรมชีวิต ใช้เวลา 5 วัน 4 คืน เป้าหมายเพื่อชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตที่ ดี การอุดรูรั่วของชีวิต การสร้างกลุ่ม และองค์กรชุมชน เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

หลักสูตรสร้างชีวิต ใช้เวลา 5 วัน 4 คืน เป้าหมายเพื่อสร้างกลุ่มพัฒนางานอาชีพ และการขาย

หลักสูตรสร้างผู้นำ ใช้เวลา 7 วัน 6 คืน เป็นการอบรมแบบเข้มข้น เป้าหมายเพื่อสร้างผู้นำบริหาร กิจการในองค์กร

4.1.2 งานศูนย์พี่เลี้ยง พัฒนาจากศูนย์ฝึกอบรมให้สามารถเป็นองค์กรพี่เลี้ยง ดำเนินกิจกรรมในการติดตามผลและให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการอบรม เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็งจนสามารถพึ่งตนเองได้ และ พัฒนาชุมชน ตนเองเป็นองค์กรพี่เลี้ยงสำหรับชุมชนอื่นต่อไป

งานฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 70 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นงานของศูนย์องค์กรพี่เลี้ยง

4.2 งานพัฒนาการตลาด

4.2.1 พัฒนาตลาดในท้องถิ่น ส่งเสริมสมาชิกให้ทำการตลาดในนามกลุ่ม ค้าขายแบบแบ่งปัน ซื่อสัตย์ ของดี ราคาถูก ค้าขายในท้องถิ่นเป็นหลัก เมื่อล้นเหลือจึงให้ส่วนกลาง “คกร” ช่วยจำหน่าย

4.2.2 พัฒนาตลาดในวงกว้าง ดำเนินการโดยบริษัทในเครือข่าย คือ

บริษัท พลังบุญ จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานด้านการตลาดขายปลีกในประเทศ
บริษัท ขอบคุณ จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานด้านการตลาดขายส่งในประเทศ
บริษัท ภูมิบุญ จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานด้านการตลาดต่างประเทศ


บทสรุป   
เมื่อเกษตรกรพึ่งตนเองได้ ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีเศรษฐกิจแบบ พึ่งตนจนเป็น
ที่พึ่งของคนอื่นได้ ประชาชนส่วนใหญ่ ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมของศาสนา เป็นผู้เอื้อเฟื้อแบ่งปัน เป็นผู้สร้างสรรค์และมีน้ำใจ สังคมย่อมร่มเย็น ประเทศย่อมเป็นไท เป็นประเทศผู้ให้ มากกว่า ที่จะเป็นผู้ขอ

ประธาน คกร.: kudinfa@asoke.info             Organic Farming Network of Thailand : OFNT

http://www.asoke.info/04Agriculture/OFNT/Office/history01.html

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.046 seconds with 21 queries.