Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
15 November 2024, 21:38:50

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,430 Posts in 12,834 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เรื่องราวน่าอ่าน  |  หนังสือดี ที่น่าอ่านยิ่ง  |  สตีเฟน ฮอว์กิง : อัจฉริยะร่างพิการ จักรวาลวิทยาและอนาคต
0 Members and 3 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: สตีเฟน ฮอว์กิง : อัจฉริยะร่างพิการ จักรวาลวิทยาและอนาคต  (Read 1149 times)
LAMBERG
มายิ้มในใจกันไว้เรื่อยๆ สนุกดีๆ
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 1,479


View Profile
« on: 24 January 2013, 19:55:34 »

         

 


Download หนังสือ A brief History of Time
http://alleeshadowtradition.com/pdf/stephen_hawking_a_brief_history_of_time.pdf

สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking) เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งวันรำลึกครบรอบ 300 ปีการตายของกาลิเลโอ นักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน ฮอว์กิงเกิดในเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ และฟิสิกส์ทฤษฎี ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ อีกทั้งยังได้เป็น “Lucasian Professor of Mathematics” ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่ไอแซค นิวตันเคยได้รับ ฮอว์กิงได้รับการยกย่องจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ด้วยกันว่าเป็นนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนหนึ่งของโลกปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์บางคนเทิดทูนฮอว์กิงว่าเป็นผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่องต่อจากไอน์สไตน์ เลยทีเดียว ผลงานค้นคว้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับฮอว์กิงมากที่สุดก็คือ ทฤษฎีหลุมดำ (black hole) และทฤษฎีที่ว่าด้วยกำเนิดและจุดจบของ จักรวาล ในสายตาของคนทั่วไปที่มิใช่นักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะที่พิการจะเดินเหินไปไหนมาไหนก็ไม่ได้ จะพูดจาปราศรัยกับใคร ก็ไม่ได้ แม้แต่จะเขียนหนังสือ แต่งตัว หรือกินอาหารด้วยตัวเองก็ไม่ได้ เพราะฮอว์กิงป่วยเป็นโรคทางประสาทที่เรียกว่า Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) ตั้งแต่อายุ 21 ปีซึ่งโรคนี้ ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางของเขาควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ได้เลย แต่อวัยวะหนึ่งเดียวของเขาที่ทำงานคือ “สมอง” โดยเขาต้องอยู่บนรถเข็นตลอดเวลา และที่ร้ายยิ่งกว่านั้นเอ็นหลอดเสียงของเขาก็ใช้ไม่ได้ตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา โดยต้องสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์และเครื่องเลียนเสียงพูด เวลาเขาต้องการจะสนทนาติดต่อกับโลกภายนอก เขาจะใช้เครื่องพูดโดยใช้นิ้วกดปุ่มของตัวอักษรต่างๆ ประกอบ เป็นคำที่เขาต้องการแล้วจึงกดเครื่องออกเสียง ดังนั้นเมื่อมีคนถามคำถามหนึ่งคำถามเขาจะใช้เวลานาน 10-15 นาที ในการตอบ

ฮอว์กิงมักถูกนำไปเทียบกับไอน์สไตน์และนิวตันอยู่เสมอ หรืออาจจะเรียกได้ว่าทั้ง 3 เป็นอัจฉริยะของแต่ละยุค
ฮอว์กิงวิจัยทฤษฎีของจักรวาลโดยใช้พลังงานความคิดทางสมองเท่านั้น เขามีสัญชาตญาณวิเศษที่สามารถหา คำตอบของสมการฟิสิกส์ที่ยากๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ปากกาขีดเขียน เปรียบเสมือนกับการที่ บีโธเฟนแต่งซิมโฟนีสำเร็จโดยไม่ต้องเขียนโน้ตลงบนกระดาษแม้สักตัวเดียว ในปี พ.ศ. 2515 เขาได้ทำให้คนทั่วโลกตกตะลึง เมื่อเขาพบว่าหลุมดำที่ใครๆ เคยคิดว่าจะดึงดูดสรรพสิ่งทุกอย่างเข้าสู่ ตัวมันนั้นจริงๆ แล้วสามารถแผ่รังสี และปลดปล่อยอนุภาคต่างๆ ออกมาได้ ฮอว์กิงได้พบว่าขณะจักรวาลระเบิด ใหม่ๆ แรงระเบิดที่มหาศาล ได้ทำให้เกิดหลุมดำขนาดเล็กมากมาย และเมื่อเขาพิจารณาคุณสมบัติด้านควอนตัมของ หลุมดำเล็กๆ เหล่านี้ เขาก็พบว่าหลุมดำเล็กๆ สามารถสูญเสียพลังงานไปได้เรื่อยๆ โดยการระเบิดให้ตัวมันเองหายวับ ไปกับตาในที่สุด ตราบเท่าทุกวันนี้ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดเห็นการระเบิดของหลุมดำในลักษณะที่ว่านี้เลย แต่หากมีใครเห็นนั่นก็ หมายความว่ารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สำหรับปีนั้นก็จะเป็นของฮอว์กิงทันที เมื่อปี พ.ศ. 2531 เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ประวัติย่อของกาลเวลา” หรือ A brief History of Time หนังสือเล่มนี้ ได้ติดอันดับหนังสือที่ขายดีที่สุดในโลกเล่มหนึ่ง โดยมียอดจำหน่ายกว่าหนึ่งล้านเล่ม และนั่นก็หมายความว่าคนทุกพันคน ในโลกจะมีหนังสือเล่มนี้ไว้ครอบครองหนึ่งเล่ม ภาษาที่เขาใช้ในการสื่อสารในหนังสือนั้นเรียบง่ายและทั้งเล่มมีสมการ อยู่เพียงสมการเดียวคือ E=mc2 ฮอว์กิงได้เขียนไว้ว่า เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิด "เวลา" ก็มีกำเนิดเหมือนกัน ปัจจุบันเรารู้ว่า จักรวาลของเรานั้นเกิดจากการระเบิดของสสารครั้งใหญ่ เมื่อประมาณ 15,000 ล้านปีมาแล้ว คำถาม ที่ใครๆ ก็มักจะถามคือ ก่อนนั้นจักรวาลมีสภาพเป็นอย่างไร ฮอว์กิงตอบว่าก่อนนั้นเวลาก็ไม่มี ดังนั้นการถามหาสิ่งที่ ไม่มีจึงเป็นคำถามที่ไม่มีความหมาย ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของฮอว์กิง (และนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ทั้งหลาย) ก็คือการรวมทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปและทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมเข้าด้วยกันเป็นทฤษฎีแรงโน้มถ่วงแบบควอนตัม ซึ่งถ้าทำสำเร็จก็จะกลายเป็นสุดยอดทฤษฎี หรือทฤษฎีสรรพสิ่ง (the theory of everything) ซึ่งจะสามารถอธิบายทุกสรรพสิ่งในเอกภพ โดยฮอว์กิงเชื่อว่าอีกไม่เกิน 20 จะมีการค้นพบทฤษฎีสรรพสิ่งนี้ อย่างไรก็ดี ฮอว์กิงได้เขียนไว้ในประวัติย่อของกาลเวลาว่า ถ้าหากมีสุดยอดทฤษฎีเช่นนี้อยู่จริง ทฤษฎีนั้นคงจะกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย รวมทั้งกำหนดด้วยว่าจะหาทฤษฎีพบหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้นบางทีทฤษฎีดังกล่าวอาจกำหนดให้ฮอว์กิงมีสภาพเป็นอย่างที่เขาเป็นอยู่ เพื่อแสดงให้มนุษย์ได้เห็นว่า ไม่มีอะไรที่จะขัดขวางพลังสติปัญญา และการติดตามค้นหาเป้าหมายสูงสุดของมนุษยชาติได้ สำหรับชีวิตส่วนตัว บิดาของฮอว์กิง ชื่อ แฟรงค์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเขตร้อน และมารดาของเขาชื่ออิโซเบล ซึ่งเป็นลูกสาวของนายแพทย์ชาวสก๊อต ฮอว์กิงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่บิดาเคยศึกษาอยู่ โดยเลือกเรียนทางด้านฟิสิกส์ เพราะชอบวิชาคำนวณ และยังได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ จากนั้นก็เข้าสู่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ศึกษาในระดับปริญญาเอกและทำวิจัยด้านจักรวาลวิทยา (Cosmology) และในช่วงนี้ที่แพทย์พบว่าเขาป่วยเป็นโรค ALS และกำลังจะตายภายใน 2 ปี ซึ่งในช่วงนี้ทำให้เขาได้พบกับ “เจน ไวลด์” ภรรยาคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนสมัยมัธยม และได้ให้กำลังใจเขาขณะต้องเผชิญโรคร้าย ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน ฮอว์กิงทุ่มชีวิตลงไปกับการศึกษาค้นคว้ากาล-อวกาศ และสภาวะ singularities ที่จุดเริ่มต้นของกาลเวลา โดยเมื่ออายุ 32 ปีเขาได้เข้าเป็นสมาชิกของรอยัล โซไซตี (Royal Society) และได้รับรางวัลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein Award) ซึ่งเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติที่สุดสำหรับนักทฤษฏีฟิสิกส์ นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ เหรียญตราและเครื่องราชอิสราภรณ์มากมาย สำหรับประวัติอย่างละเอียดของฮอว์กิงในเข้าไปชมเว็บไซต์ของฮอว์กิง (ภาคภาษาอังกฤษได้ที่ hawking.org.uk/

Professor Hawking has given many lectures to the general public. Many of these past lectures have been released in his 1993 book, 'Black Holes and Baby Universes, and other essays'. Below are some of the more recent public lectures. Included with these lectures is a Glossary of some of the terms used.

Godel and the End of Physics (written in 2002)"In this talk, I want to ask how far can we go in our search for understanding and knowledge. Will we ever find a complete form of the laws of nature? By a complete form, I mean a set of rules that in principle at least enable us to predict the future to an arbitrary accuracy, knowing the state of the universe at one time. A qualitative understanding of the laws has been the aim of philosophers and scientists, from Aristotle onwards."
My Life in Physics (written in 2006)"I did my first degree in Oxford. In my final examination, I was asked about my future plans. I replied, if you give me a first class degree, I will go to Cambridge. If I only get a second, I will stay in Oxford. They gave me a first. I arrived in Cambridge as a graduate student in October 1962."The Origin of the Universe (written in 2005)"Why are we here? Where did we come from? The answer generally given was that humans were of comparatively recent origin, because it must have been obvious, even at early times, that the human race was improving in knowledge and technology. So it can't have been around that long, or it would have progressed even more.
"The Beginning of Time (written in 1996)"In this lecture, I would like to discuss whether time itself has a beginning, and whether it will have an end. All the evidence seems to indicate, that the universe has not existed forever, but that it had a beginning, about 15 billion years ago. This is probably the most remarkable discovery of modern cosmology. Yet it is now taken for granted. We are not yet certain whether the universe will have an end."The Nature of Space and TimeStephen Hawking and Roger Penrose gave a series of 3 lectures each at the Isaac Newton Institute in Cambridge. The full series is available in a book of the same name. Here we have compiled Stephen's contribution to the series, as well as the final debate.
This is available for download as pdf format or 4 postscript files or (penrose1.ps penrose2.ps penrose3.ps penrose4.ps).
Space and Time Warps (written in 1999)"In science fiction, space and time warps are a commonplace. They are used for rapid journeys around the galaxy, or for travel through time. But today's science fiction, is often tomorrow's science fact. So what are the chances for space and time warps.
"Does God Play Dice (written in 1999)"This lecture is about whether we can predict the future, or whether it is arbitrary and random. In ancient times, the world must have seemed pretty arbitrary. Disasters such as floods or diseases must have seemed to happen without warning or apparen t reason. Primitive people attributed such natural phenomena, to a pantheon of gods and goddesses, who behaved in a capricious and whimsical way. There was no way to predict what they would do, and the only hope was to win favour by gifts or actions.
"Life in the Universe (written in 1996)"In this talk, I would like to speculate a little, on the development of life in the universe, and in particular, the development of intelligent life. I shall take this to include the human race, even though much of its behaviour through out history, has been pretty stupid, and not calculated to aid the survival of the species."

เขียนโดย Project Control ที่ 22:59





ลองเลื่อนแถบข้างล่างนี่ ดูด้วยนะครับ เพราะภาพสุดท้ายนี้ใหญ่มาก

Logged
มาคืน "สยามเมืองเคยยิ้ม" กลับสู่ "สยามเมืองยิ้มยุคก้าวหน้า" ด้วย ยิ้มสยาม กันนะครับ ... Welcome To Smile Siam by Siamese Smile

Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.045 seconds with 21 queries.