Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
05 April 2025, 04:37:34

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,962 Posts in 13,109 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ผนังเก่าเล่าเรื่อง (Moderator: ผนังเก่าเล่าเรื่อง)  |  ทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย  (Read 220 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« on: 21 March 2025, 20:29:47 »

ทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย


เส้นทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย ที่สาบสูญ

"ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องรังวัดแบ่งแยกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟสายหนองเต่า เขาทับควาย จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (27 ง): 1658. 12 กรกฎาคม 2491 (กดลิงค์ เข้าไปดูประกาศฯ)
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2491/D/027/1658.PDF

.

สะพาน ตอม่อสะพาน เป็นของที่รื้อยาก ทำลายยาก คงทน ก็เลยเป็นข้อดีนะครับ กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปเจอเอกสารนี้ในราชกิจจานุเบกษา ขอนำมาลงไว้เป็นบันทึกช่วยจำนะครับ





.




Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« Reply #1 on: 21 March 2025, 20:32:36 »


ทางรถไฟสายหนองเต่า–เขาทับควาย เป็นทางรถไฟสายหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ที่แยกออกมาจากเส้นทางรถไฟสายเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี–เชียงใหม่) สร้างสำหรับขนส่งแร่เหล็กจากเขาทับควาย เบื้องต้นได้มีการเวนคืนที่ดินที่จะสร้างทางรถไฟแยกจากสถานีรถไฟหนองเต่ามุ่งไปยังที่ตั้งของเขาทับควาย ผ่านตำบลหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ และตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2491 แต่ทว่าหลังการสำรวจก็พบว่าแร่เหล็กมีน้อย ไม่คุ้มทุนที่จะนำรถไฟเข้าไป เส้นทางรถไฟสายนี้จึงถูกระงับ หลังจากนั้นรางที่สร้างเสร็จจึงถูกนำออกไป และคันทางก็ถูกไถกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมาแต่นั้น ปัจจุบันเหลือเพียงซากสะพานข้ามคลองอนุศาสนนันท์



ซากสะพานข้ามคลองอนุศาสนนันท์
Khao Thap Khwai Railway, Lop Buri in 2017
.

(ข้อมูลและภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ทางรถไฟสายหนองเต่า–เขาทับควาย)

.

หมายเหตุ

คลองอนุศาสนนันท์ (คลองชลประทาน "เจ้าพระยา-ป่าสัก") แยกจาก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ไหลผ่าน อ.เมืองชัยนาท, ก่อนเข้าสู่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์, อ.บ้านหมี่ อ.โคกสำโรง อ.เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี, เข้าสู่ อ.หนองโดน อ.พระพุทธบาท อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี บรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา มีความยาวทั้งสิ้น 134 กิโลเมตร

.



« Last Edit: 21 March 2025, 20:34:50 by ppsan » Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« Reply #2 on: 21 March 2025, 20:38:27 »


ข้อมูลและภาพจาก...
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2032&postdays=0&postorder=asc&start=90
"ที่นี่สถานีหนองเต่าและสะพานปริศนา". รถไฟไทยดอตคอม.
.

ข้อมูลและภาพโดย
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
..

ซากสะพานร้าง ข้ามคลองอนุศาสนนันท์ (คลองชลประทาน) ส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายหนองเต่า–เขาทับควาย (ที่รื้อถอนไปแล้ว เหลือแต่ซากสะพาน)



เป็นสะพานโครงเหล็ก(สะพานดำ) แต่ปัจจุบันขึ้นสนิม จากสะพานดำกลายเป็นสะพานแดงสีสนิมไปแล้ว
.

ถ้าไปเดินบนสะพานนี้ ไม่มีไม้หมอนรอง มีแต่คานสะพานล้วนๆ แถมมีผุเป็นบางช่วงอีก เดินเหยียบทีดังก๊อบแก๊บๆไปตลอด แล้วพอเดินข้ามไปถึงอีกฝั่ง ก็หาก็ทางลงไม่ได้อีก



สะพานที่ว่านี้เป็นสะพานรถไฟซึ่งตามโครงการแล้ว เป็นทางรถไฟที่จะสร้างแยกออกจากย่านสถานีหนองเต่าไปยังเขาทับควายในเขตอำเภอโคกสำโรง เพื่อเข้าไปเอาแร่เหล็กครับ สะพานนี้ก็ได้ถูกสร้างขึ้น แต่เมื่อไปสำรวจมาแล้วพบว่าไม่คุ้มกับการสร้างทางรถไฟเข้าไปเอา โครงการนี้เลยต้องถูกระงับไปเป็นการถาวร ทำให้สะพานแห่งนี้กลายเป็นอนุสรณ์ของโครงการนี้ไปครับ ก็เหมือนกับตอม่อโฮปเวลล์ล่ะครับ ส่วนทางเดินกับถนนที่ผมเดินมาจากย่านสถานีหนองเต่ามาที่สะพานนั้น มันคือแนวคันทางของเส้นทางแยกหนองเต่า - เขาทับควายนี่เองครับ

(ตรงคอสะพานแห่งนี้ แนวคันทางที่อยู่ใกล้คลองอนุศาสนนันท์ได้ถูกชาวนาใช้รถแทรกเตอร์ทะลายลงไปเป็นที่นาหมดแล้ว คงเหลือแต่แนวคันทางในที่ดอน ยังพอมีเหลืออยู่จนกระทั่งถึงเขาทับควาย)

..



สะพานนี้มีทั้งหมด 4 ช่วง (4 Span) ซึ่ง Span อันแรกจะเป็นโครงเหล็กแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า



ส่วนอีก 3 Span ที่เหลือจะเป็นโครงเหล็กแบบหกเหลี่ยมยาว

..



มาดูที่ตอม่อครับ ก็ยังเหมือนกับสะพานทั่วๆไปครับ เป็นตอม่อแบบคอนกรีตที่หล่อขึ้นมา
.



กลับมาดูใต้สะพานครับ เมื่อหงายหน้าขึ้นไปก็จะเห็นว่าตรงกลางตัวสะพานจะมีโครงไว้วางหมอนรองรางด้วยครับ
.



มาดูกันที่บริเวณคอสะพานครับ ดูแล้วมีเศษหินโรยทางอยู่ด้วยครับ
.



เอาล่ะครับ จะเดินบนสะพานดีหรือเปล่าครับ สะพานมีแต่โครงเปล่าๆ ไม่มีหมอนรองรางเลยครับ
.



สรุปว่าผมจะข้ามสะพานนี้ครับ ขนาดสะพาน 3 หอ สะพาน 2 หอ ที่สูงๆผมยังข้ามได้หน้าตาเฉย นี่แค่สะพานร้างที่ไม่สูงมาก อีกอย่างผมเป็นลูกแม่น้ำป่าสัก ตกน้ำไปก็ยังว่ายขึ้นฝั่งได้ จะกลัวทำไมเนอะ ก่อนข้ามก็เหลือบไปเห็นตัวหนังสือที่โครงเหล็ก Span อันแรกครับ เขียนไว้ว่า "กม. 151+368.00 ยาว 77 ม." ก็สรุปได้ว่าสะพานนี้ตั้งอยู่ที่ กม.151 กับอีก 368 เมตร (หลักกม.ที่สถานีหนองเต่า กม.150+080 งั้นแสดงว่าสะพานนี้อยู่ห่างจากสถานีหนองเต่า 1 กิโลเมตร 288 เมตร) ส่วน 77 ม. นั้น เข้าใจว่าสะพานร้างอันนี้มีความยาวทั้งหมด 77 เมตรครับ

..




Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« Reply #3 on: 21 March 2025, 20:40:50 »




นี่ครับ จะเดินข้ามต้องเดินบนโครงเหล็กนี่ครับ พอดีกับเท้าเลยครับ ต้องก้าวเท้าดีๆหน่อยครับ ไม่งั้นหล่นแน่ๆ
.



โครงเหล็กที่ว่ามีรูไว้ใส่อุปกรณ์ยึดเหนี่ยวโครงสร้างกับหมอนรองรางด้วยครับ
.



โครงสร้างของตัวสะพานทั้งหมดจะใช้กรรมวิธีหมุดย้ำครับ ดูได้เลยครับ สะพานเก่าๆเดิมๆจะใช้กรรมวิธีหมุดย้ำกันทั้งหมดครับ
.



ช่วงรอยต่อระหว่าง Span 1 กับ Span 2 ครับ โดยโครงสะพานจะยึดติดกับตอม่อสะพาน โดยวางตัวโครงสะพานลงไปแล้วใช้น๊อตยึดติดกับตอม่อ
.



ดูจากรูปเหมือนว่าคอสะพานฝั่งนี้กว้างกว่าในสะพานหรือเปล่าครับเจฟ แปลกตาดีจริง ๆ ถ้าในปัจจุบันมีรถวิ่งผ่านก็คงจะดี เพราะสภาพจะได้ไม่โทรมขนาดนี้
.



ยังเหลือระยะทางอีกไกลครับกว่าจะไปถึงอีกฝั่ง คนไม่กลัวก็เดินตามมาเลยครับ
.



สังเกตดูดีๆครับ โครงสะพานแต่ละช่วงจะไม่ได้ขนานเป็นเส้นตรง 180 องศานะครับ จะขนานเป็นเส้นทแยงแทนครับ
.

black_express
1st Class Pass (Air)
ดูจากรูปเหมือนว่าคอสะพานฝั่งนี้กว้างกว่าในสะพานหรือเปล่าครับเจฟ แปลกตาดีจริง ๆ ถ้าในปัจจุบันมีรถวิ่งผ่านก็คงจะดี เพราะสภาพจะได้ไม่โทรมขนาดนี้
.(ภาพไม่มี).

ยังมีสะพานแบบนี้อีกแห่งหนึ่งครับ คุณเต้ย ใช้ไม้ปูพื้นสะพานให้รถยนต์วิ่งข้ามด้วย คือสะพานรถไฟ (เดิม ) ข้ามคลองอนุศาสนนันท์ จากสถานีบ้านหมอ ไปยังบ่อดินขาวของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ท่าหลวง
.....

umic2000
2nd Class Pass

..
[KTTA-50-L wrote:



สะพานนี้มีทั้งหมด 4 ช่วง (4 Span) ซึ่ง Span อันแรกจะเป็นโครงเหล็กแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
.

(รูปที่ 2)


ส่วนอีก 3 Span ที่เหลือจะเป็นโครงเหล็กแบบหกเหลี่ยมยาว]

..

สังเกตอะไรไหมครับท่านสมาชิกทั้งหลาย ว่าสะพานแบบแผงขึ้นที่ข้ามคลองอนุศาสนนันท์หรือคลองชลประทานชัยนาท - ป่าสัก จะมีรูปทรงของสะพานคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะโครงสร้างและรูปทรงสะพานแบบในรูปที่ 2 ซึ่งมีสะพานรูปทรงเดียวกันตามสถานที่ดังต่อไปนี้

1. สะพานทางรถไฟสายเหนือข้ามคลองอนุศาสนนันท์ ณ บ.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ( ขออนุญาตยืมรูปพี่เต้ยหน่อยนะครับ )


2. ทางรถไฟขนแร่เหล็ก สถานีหนองเต่า - เขาทับควาย บ.หนองเต่า อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

3. ทางรถไฟไปบ่อดินขาวที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี (รอบนี้ผมพิมพ์ว่าบ้านหมอ บ่ใช่บ้านหม้อแบบคราวก่อนแล้วเด้อ ท่านพี่เจฟที่เคารพ)
https://www.facebook.com/groups/259276574570765/posts/1963904304107975/

.

และมีข้อสังเกตอีกอย่างนึงว่า คลองอนุศาสนนันท์ช่วงตั้งแต่ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ถึงช่วงอ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี จะมีความกว้างมากกว่าคลองในช่วงอื่นๆ ส่วนความลึกผมไม่แน่ใจนะครับว่าแต่ละช่วงขุดลึกเท่ากันหรือไม่ แต่ช่วงแถว อ.ตาคลี ผมเคยลองลงไปกลางๆ คลองช่วงเดือนเมษายน ผลปรากฏว่าจมมิดหัวเท้าแทบไม่แตะพื้นเลย แถมกระแสน้ำข้างล่างเชี่ยวมาก อันนี้เป็นข้อสังเกตของผมเกี่ยวสะพานและคลองสายนี้นะครับ

.




Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« Reply #4 on: 21 March 2025, 20:42:44 »




...

Ep.1

เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-โรงปูนซีเมนต์ท่าหลวง
.

https://www.youtube.com/watch?v=Zw8fO9mUeSQ

เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-โรงปูนซีเมนต์ท่าหลวง
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/Zw8fO9mUeSQ?si=EJf8XDnZTSdvEnEa

..

Ep.2



https://www.youtube.com/watch?v=cPpNQgXM6Ns

เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-บ่อดินขาว(ที่หายสาบสูญ)

นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/cPpNQgXM6Ns?si=CuSJG49yFLipwdzj


.....



https://www.youtube.com/watch?v=cPpNQgXM6Ns
เส้นทางรถไฟสายเก่า บ้านหมอ-บ่อดินขาว(ที่หายสาบสูญ)
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/cPpNQgXM6Ns?si=rcIHYPjr3IFDo7Oa

.




« Last Edit: 21 March 2025, 21:03:01 by ppsan » Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« Reply #5 on: 21 March 2025, 21:06:12 »




โครง Span ช่วง 2 ครับ เป็นหกเลี่ยมแบบยาว ซึ่งโครงรูปร่างแบบนี้มีทั้ง 3 สะพานที่ผาดผ่านคลองอนุศาสนนันท์
.



ระหว่างช่วงท้ายๆของ Span ที่ 2 มีนกชนิดนึงทำรังอยู่ด้วยครับ ไม่ทราบว่าเป็นนกอะไร เห็นแต่รังกับไข่ 1 ฟอง
.



อ้าว...พอมาดูตอม่อระหว่าง Span ที่ 2 กับ Span ที่ 3 ปรากฏว่าฝั่งของ Span ที่ 3 มีรอยชำรุดเกิดขึ้นครับ ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ดูแลรักษา ผมว่าไอ้ Span ที่ 3 เนี้ยล่ะที่จะลงไปอาบน้ำในคลอง
.



ในส่วนของแนวคานที่ไว้ติดหมอนรองรางตรงนี้ต้องยื่นออกมาจากโครง span ด้วยครับ เพราะเนื่องจากบริเวณตอม่อที่รับโครงสร้างเป็นในแนวทแยงไม่ใช่แนวตรง
.



หันกลับไปมองทางฝั่งที่มาจากตัวสถานีหนองเต่า
.



เอาล่ะครับมาดูกันต่อ แนวนี้มองไปยังปลายรางที่เขาทับควายครับ
.



การเดินบนสะพานอันนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษครับ เนื่องจากหมอนรองรางที่เป็นไม้ได้ถูกรื้ออกไปแล้ว ทำให้มีช่องว่างเพิ่มขึ้น ถ้าเดินไม่ดีจะเซตกจากสะพานลงไปในคลองได้ครับ
.



มองไปยังปลายสายของคลองครับอยู่แถวๆบ้านผมเนี้ยล่ะ ถ้ามีเรือซะลำคงล่องกลับบ้านโดยเรือแล้วครับ
.



ส่วนอีกฝั่งนึกปลายสายซึ่งต่อเชื่อมมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทครับ
.

คลองอนุศาสนนันท์ (คลองชลประทาน "เจ้าพระยา-ป่าสัก") แยกจาก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ไหลผ่าน อ.เมืองชัยนาท, ก่อนเข้าสู่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์, อ.บ้านหมี่ อ.โคกสำโรง อ.เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี, เข้าสู่ อ.หนองโดน อ.พระพุทธบาท อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี บรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา มีความยาวทั้งสิ้น 134 กิโลเมตร
.



เดินมาถึงคอสะพานอีกฝั่งนึงของสะพานดำนี้แล้วครับ
.



คอสะพานฝั่งนี้มีส่วนที่เป็นคอนกรีตด้วยครับ ซึ่งน่าเอาไว้นำดินมาใส่เพิ่มเป็นคันทางมุ่งออกจากตัวสะพานนี้ และกันการทรุดตัวของแนวคันทางตรงคอสะพานด้วยครับ
.



สะพานก็ไม่ยาวเท่าไหร่ครับ เดินเดี๊ยวเดียวก็มาถึงอีกฝั่งแล้ว คราวนี้ลองมองข้ามไปยังฝั่งที่ผมเดินมาจากสถานีหนองเต่าครับ
.





มาดูที่คอสะพานกันครับ จะเห็นได้ว่าคันทางที่ทำขึ้นมาถึงสะพานอันนี้ได้ถูกทลายลงมาหายไปแล้วเรียบร้อยครับ
.



มองไปตรงพุ่มไม้ข้างหน้าครับ จะเป็นแนวคันทางไปยังเขาทับควาย ซึ่งแนวคันทางได้ถูกทลายเป็นคันนา ทุ่งนา แทนไปแล้วครับ
.



รูปนี้จะเห็นได้ชัดเจนมากกว่าครับ
.



ส่วนตัวเลขตรงนี้น่าจะหมายถึงจำนวนกิโลเมตรจากตัวสะพานนี้ไปยังปลายรางที่เขาทับควายหรือเปล่าหว่า
.

Mongwin
1st Class Pass (Air)

สะพาน ตอม่อสะพาน เป็นของที่รื้อยาก ทำลายยาก คงทน ก็เลยเป็นข้อดีนะครับ กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปเจอเอกสารนี้ในราชกิจจานุเบกษา ขอนำมาลงไว้เป็นบันทึกช่วยจำนะครับ





.



และแล้วการสำรวจของผมก็เสร็จสิ้นครับสำหรับสถานีรถไฟหนองเต่าและสะพานปริศนา รูปนี้ถ่ายในทางฝั่งตรงข้ามกับถนนสายลพบุรี - บ้านหมี่ครับ
.



ใกล้ๆกับสะพานก็จะมีถนนลูกรังขนานไปกับคลองสายนี้ครับ ผมเลือกใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางกลับ เนืองจากอาการร้อนมาก จนเวียนหัวแล้วครับ ขืนขึ้นสะพานเดินข้ามไปอีกรอบผมได้ตกน้ำแน่ๆ
.




Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« Reply #6 on: 21 March 2025, 21:08:43 »


เส้นทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย ที่สาบสูญ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Oct 12, 2024



https://www.youtube.com/watch?v=i-hboBxlqGw

เส้นทางรถไฟสายเก่า หนองเต่า-เขาทับควาย ที่สาบสูญ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/i-hboBxlqGw?si=O_tCKARP8aMTd-fi




« Last Edit: 21 March 2025, 21:27:29 by ppsan » Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,792


View Profile
« Reply #7 on: 21 March 2025, 21:22:21 »








https://www.youtube.com/watch?v=tlCt8gDY3sM

หมวดศิลา สถานีบ้านหมี่
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/tlCt8gDY3sM?si=e1xvTcNoZ3CG-dLV

.

..............







https://www.youtube.com/watch?v=QyFXL4R4ero

ทางรถไฟสายเก่า”หมวดศิลาบ้านหมี่”และรถข้างต่ำที่เคยใช้บรรทุกหินในยุครถจักรไอน้ำ
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)

https://youtu.be/QyFXL4R4ero?si=J9D-b8STD77HnUvl

.




« Last Edit: 21 March 2025, 21:33:28 by ppsan » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.06 seconds with 17 queries.