Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 03:00:49

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้  |  เรื่องที่ควรรู้เท่าทันระดับโลก  |  รัฐบาลที่มองไม่เห็น (New World Order)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: รัฐบาลที่มองไม่เห็น (New World Order)  (Read 1251 times)
LAMBERG
มายิ้มในใจกันไว้เรื่อยๆ สนุกดีๆ
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 1,479


View Profile
« on: 13 January 2013, 11:34:57 »

รัฐบาลที่มองไม่เห็น (New World Order)


รัฐบาลที่มองไม่เห็น???

อันที่จริงแล้วอำนาจอิทธิพลของชาวยิวที่มีต่ออเมริกานั้น.. อาจจะเรียกได้ว่ามีมาตั้งแต่อเมริกายังไม่ได้อุบัติขึ้นมาเป็นประเทศกันเลยก็ว่าได้ หรือในขณะที่อเมริกายังเป็นเพียงแค่อาณานิคมของอังกฤษ ระบบการค้าและอุตสาหกรรมต่างๆ ในอเมริกาล้วนแล้วแต่ถูกผูกขาดควบคุม โดยบรรดาบรรษัทที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์อังกฤษให้เป็นผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ในเขตอาณานิคมกันมาโดยตลอด… และแน่นอนว่าหนึ่งในบรรดาบรรษัทที่ว่านั้น ก็หนีไม่พ้นบริษัท “อินเดีย ตะวันออก” ที่อยู่ในเครือข่ายของตระกูลรอทไชลด์นั่นเอง…


และแม้นว่าการดิ้นรนเพื่อประกาศอิสรภาพของอเมริกา จะมีที่มาจากปัญหาความไม่เป็นธรรมต่อระบบการค้าและการจัดเก็บภาษีโดยบรรดาบรรษัทที่ควบคุมดูแลผลประโยชน์เหล่านี้ แต่เมื่อความขัดแย้งต่างๆ ได้บานปลายไปสู่การทำสงครามระหว่างกองทัพอาณานิคมกับกองทัพอังกฤษ บรรดากลุ่มธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังบรรษัทเหล่านี้ก็ไม่ได้กระทบกระเทือนไปด้วยเลย คณะรัฐบาลชุดแรกของอเมริกาภายใต้การนำของนักรบอย่างนายพล “จอร์จ วอชิงตัน” ก็ยังต้องหันมาอาศัย “อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน” ผู้ที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มนักธุรกิจ และกลุ่มอุตสาหกรรมในอเมริกาและกับตระกูลรอทไชลด์อีกด้วย ให้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังเพื่อวางรากฐานให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่อย่างอเมริกากันมาตั้งแต่ต้น…และการวางตัวอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน เอาไว้ในตำแหน่งนี้ จึงกลับกลายเป็นการเปิดช่องให้ธุรกิจธนาคารของรอทไชลด์ได้เข้าไปลงรากปักฐานในอเมริกาได้อย่างมั่นคงแน่นหนายิ่งขึ้นเรื่อยๆ…

นอกเหนือไปจากนั้น…บรรดากลุ่มนักธุรกิจที่ค่อยๆเติบโตขึ้นมามีบทบาทควบคุมธุรกิจการค้า การธนาคาร อุตสาหกรรมและการลงทุนในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่า จอห์น ดี. ร็อคกี้เฟลเลอร์, เจ. เพียร์พอนท์ มอร์แกน, แอนดรูว์ คาร์เนกี, เจมส์ เมลลอน, คอร์เนเลียส แวนเดอร์บิล, ฟิลิป อาร์เมอร์…ฯลฯ ผู้คนที่อยู่ในแวดวงตระกูลเหล่านี้ถ้าหากไม่ได้เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงานกับลูกหลานในตระกูลรอทไชลด์แล้ว ก็หนีไม่พ้นไปจากผู้ที่ได้เกาะกลุ่มทำมาหากินร่วมกับตระกูลรอทไชลด์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง… ด้วยเหตุนี้แม้นว่าในระยะต่อมาจะเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง “นาธาน รอทไชลด์” กับนักการเมืองที่เติบโตขึ้นมาเป็นถึงระดับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่าง “แอนดรูว์ แจ๊กสัน” หรือ “อับราฮัม ลินคอล์น” จนน่าจะเกิดอุปสรรคกีดขวางเส้นทางการเติบโตทางอิทธิพลของตระกูลรอทไชลด์ในอเมริกาได้ไม่น้อย… แต่สุดท้ายแล้วโอกาสที่ประเทศนี้จะสลัดหลุดไปจากเครือข่ายอำนาจของตระกูลรอทไชลด์และบรรดากลุ่มธุรกิจชาวยิวทั้งหลาย ก็กลับเป็นไปไม่ได้เอาเลย…???


และไม่เพียงแต่เครือข่ายทางการค้าของชาวยิวเท่านั้น ที่ค่อยๆแผ่สยายครอบคลุมประเทศเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาอย่างเข้มข้นขึ้นตามลำดับ บรรดาองค์กรหรือสมาคมของชาวยิวที่เชื่อกันว่าอยู่ภายใต้เครือข่ายขององค์กรลับอย่าง “ฟรีเมสัน” หรือ “อิลูมิเนติ” ก็ยังได้กระจายตัวออกไปตั้งฐานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศอเมริกากันไม่น้อย อย่างเช่นสมาคม “Children of Covenant” ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาในนิวยอร์ค ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๔๓สมาคม “Yaweh Presence” ที่จัดตั้งขึ้นที่เพนซิลเวเนียในปี ค.ศ. ๑๙๐๙ สมาคม “Kiwani” ก่อตั้งในปี ค.ศ. ๑๙๑๕และสมาคม “Exchange” ที่ก่อตั้งโดยพ่อค้าอัญมณีในดีทรอยต์ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๖ ยังไม่นับรวมไปถึงสมาคมบางสมาคมอย่างสมาคม “Rotary”, “Lioness” หรือสมาคมหัวกะโหลกไขว้ (Skull and Bones) ที่มักจะถูกกล่าวหาโดยบรรดาพวกที่มีอคติกับชาวยิวทั้งหลายว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับสมาคมลับอย่างฟรีเมสันหรืออิลูมิเนติอยู่เสมอๆ….


ภายใต้สภาพการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเช่นนี้ แม้นว่านักการเมืองในอเมริกาบางยุคบางสมัยจะเคยแสดงความไม่พอใจต่อบทบาทของตระกูลรอทไชลด์อย่างออกนอกหน้า โดยเฉพาะในยุคของประธานาธิบดี “อับราฮัม ลินคอล์น” ซึ่งต้องเผชิญกับ “สงครามกลางเมือง” ระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ที่ระเบิดขึ้นมาในปี ค.ศ. ๑๘๖๑ แต่นักการเมืองอย่าง “ลินคอล์น” ก็ไม่ได้มีโอกาสมากพอที่จะทำอะไรกับอิทธิพลของเครือข่ายชาวยิวที่กำลังเติบโตแข็งแรงเพิ่มขึ้นๆ ได้เลย ว่ากันว่าความขัดแย้งระหว่าง “ลินคอล์น” กับตระกูลรอทไชลด์นั้นเริ่มต้นมาจากความไม่พอใจต่อพฤติกรรมการฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ทำกำไรของตระกูลรอทไชลด์ ในช่วงระหว่างที่อเมริกากำลังเกิดสงครามกลางเมืองในขณะนั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วพฤติกรรมเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่ตระกูลรอทไชลด์เคยกระทำมาบ่อยๆไม่ว่าในยุโรปหรือในที่อื่นๆ เช่นการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือกับทั้งสองฝ่าย… แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหลักฐานชัดเจนตามข้อกล่าวหาของกลุ่มคนที่อาจจะมีอคติกับชาวยิวได้ระบุเอาไว้…. แต่อย่างไรก็ตาม จากคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของ ”ลินคอล์น” ก่อนหน้าที่จะถูกลอบสังหารและได้มีการบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานสามารถพิสูจน์และยืนยันได้นั้น ก็สะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวล และความห่วงใยต่ออิทธิพลของกลุ่มธุรกิจและนายธนาคารที่กำลังมีต่อประเทศสหรัฐฯในขณะนั้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ดังเห็นได้จากคำพูดที่แทบไม่ต่างไปจากคำทำนายถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ว่า…. “บัดนี้บรรษัทธุรกิจได้ครองประเทศไปแล้ว…ศักราชแห่งการโกงกินในระดับสูงจะติดตามมา อำนาจเงินจะสามารถอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างได้อีกนาน โดยอาศัยความหลงผิดของประชาชน จนกระทั่งเมื่อความมั่งคั่งถูกสะสมอยู่ในมือของกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ…สาธารณรัฐก็จะถูกทำลายลงไปในที่สุด…”


และทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูจะเป็นไปตามนั้น…หลังการลอบสังหาร “ลินคอล์น” ผ่านไปแล้ว นักการเมืองแต่ละรายที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ก็มักถูกมองผ่านสายตาของชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยว่าล้วนแต่ได้รับการหนุนหลังให้ขึ้นมามีบทบาททางการเมือง โดยบรรดานักกลุ่มธุรกิจไม่กี่รายที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายชักใยอยู่เบื้องหลังการเมืองสหรัฐฯยิ่งขึ้นทุกที “แมธทิว โจเซฟสัน” นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันได้ถ่ายทอดถึงบรรยากาศของการเมืองสหรัฐในช่วงระยะนั้นออกมาด้วยคำพูดที่ว่า… “รัฐสภาของฝ่ายนิติบัญญัติได้ถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นตลาด โดยที่ทุกสิ่งทุกอย่างมีราคาและสามารถต่อรองซื้อขายกันได้ ไม่ว่าเสียงของนักการเมืองไปจนถึงกฎหมายและระเบียบต่างๆ…”


และในขณะที่สภาพการเมืองอเมริกันกำลังเป็นไปเช่นนี้ กลุ่มอภิมหาเศรษฐีกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ก็ยิ่งขยายอิทธิพลอำนาจแผ่กว้างออกไปยิ่งขึ้นทุกที สิทธิประโยชน์ที่กลุ่มธุรกิจได้รับจากการออกกฎหมายโดยนักการเมืองในรัฐสภาฉบับแล้วฉบับเล่า เงินรายได้ที่เกิดจากการหลีกเลี่ยงภาษี ได้ถูกนำไปลงทุนในกิจการระดับยักษ์ๆ ไม่ว่าการครอบครองที่ดินอันมหาศาลตั้งแต่ตะวันออกไปจนถึงดินแดนที่ได้รับการบุกเบิกในซีกตะวันตก การผูกขาดกิจการการสร้างเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ การลงทุนในธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าอุตสาหกรรมเหล็กกล้า พาณิชย์นาวี ประกันภัย การธนาคาร ระบบขนส่งและสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ยาง กระดาษ ทองแดง อุตสาหกรรมพลังงาน…ฯลฯ


สำหรับตระกูลรอทไชลด์ นั้น ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญในการร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ทำการเปลี่ยนแปลงประเทศอเมริกา จนแทบไม่เหลือร่องรอยของความเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ-เสมอภาคและภราดร-ภาพ อย่างที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของอุดมการณ์ในการก่อกำเนิดประเทศนี้ขึ้นมาเลย….ในขณะที่วิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรมอันเต็มไปด้วยความเรียบง่าย ประหยัด ซื่อสัตย์ และยึดมั่นในศาสนาตามวิถีทางที่ผู้อพยพออกมาจากอังกฤษมายังอเมริกา หรือบรรดาพวกที่เรียกๆ กันว่า “พิวริตัน” ทั้งหลายเคยแสวงหากันมาตั้งแต่แรก ได้ถูกทำลายลงไปอย่างยับเยิน อุตสาหกรรมที่ได้สร้างแรงดึงดูดผู้คนและแรงงานเข้าไปกระจุกตัวอยู่ในเมืองต่างๆ ก็กลับไม่ได้ก่อให้เกิดความร่ำรวย ความเป็นธรรม หรือวิถีชีวิตที่ดีขึ้นต่อชาวอเมริกันกี่มากน้อย ตรงกันข้ามกับอำนาจของกลุ่มอภิมหาเศรษฐีกลุ่มเล็กๆ ในอเมริกากลับเติบโตขยายตัวเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกันและกันได้มั่นคง แข็งแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตระกูลรอทไชลด์ร่วมมือกับตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์ เปิดกิจการน้ำมันในปี ค.ศ. ๑๘๖๓ เจ.พี. มอร์แกน และร็อคกี้เฟลเลอร์ ตัดสินใจควบรวมกิจการต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในต้นปี ค.ศ. ๑๙๐๑ ในนาม “บริษัทหลักทรัพย์ภาคเหนือแห่งนิวเจอร์ซี” ที่ถือครองทรัพย์สินในขณะนั้นเป็นมูลค่าถึง ๒๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี ค.ศ. ๑๙๑๓ กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกันจัดตั้ง “ธนาคารกลางสหรัฐ” (Federal Reserve) ที่เป็นอิสระจากอำนาจของรัฐบาล แต่สามารถควบคุมระบบเศรษฐกิจสหรัฐหรือแม้กระทั่งระบบเศรษฐกิจโลกได้ทั้งระบบ… ไม่ต่างไปจาก “ธนาคารแห่งกรุงลอนดอน” ที่สามารถควบคุมระบบการเงินของประเทศอังกฤษ พร้อมๆ กับระบบเศรษฐกิจของอาณานิคมทั่วทั้งโลก…และหลังจากที่กฎหมายจัดตั้งธนาคารกลางสหรัฐได้ผ่านความเห็นชอบของประธานาธิบดี วุฒิสมาชิก “ชาร์ลส์ ลินด์เบอร์ก” ก็ได้วาดภาพให้เห็นด้วยคำพูดที่ว่า… “ทันทีที่ประธานาธิบดีลงนามในกฎหมายฉบับนี้…เราก็ได้ให้กำเนิด…รัฐบาลที่มองไม่เห็น…ซึ่งสามารถใช้อำนาจทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศผ่านระบบการเงินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย…”

ภายใต้สถานภาพในลักษณะเช่นนี้นี่แหละ ที่เคยทำให้หนึ่งในกลุ่มอภิมหาธุรกิจอย่าง “แอนดรูว์ คาร์เนกี้” ถึงกับกล่าวเอาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๘๖เป็นต้นมาว่า…. “เพียงแค่การตัดสินใจของคนประมาณ ๖ หรือ ๗ คนเท่านั้น ก็สามารถทำให้ประเทศต่างๆต้องกระโจนเข้าสู่สงครามได้ทันที… โดยไม่จำเป็นจะต้องผ่านการเห็นชอบหรือขอคำปรึกษาจากรัฐสภาใดๆ เลย...”  ? ?


*หมายเหตุ อ้างอิงจาก Onopen_com

http://www.oknation.net/blog/Joseph/2007/12/28/entry-1

Logged
มาคืน "สยามเมืองเคยยิ้ม" กลับสู่ "สยามเมืองยิ้มยุคก้าวหน้า" ด้วย ยิ้มสยาม กันนะครับ ... Welcome To Smile Siam by Siamese Smile

Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.062 seconds with 21 queries.