Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 16:20:48

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,616 Posts in 12,928 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้  |  เรื่องที่ควรรู้เท่าทันระดับชาติ  |  กรุงรัตนโกสินท์อินท์อโยธยา
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: กรุงรัตนโกสินท์อินท์อโยธยา  (Read 1433 times)
chaiyuth
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*
Offline Offline

Posts: 3

View Profile
« on: 13 January 2013, 11:13:54 »

กรุงรัตนโกสินท์อินท์อโยธยา

บทความจากเว็ป สยามโบราณดอทเน็ต       
เขียนโดย นิธิณัช สังสิทธิ     
อาทิตย์, 21 ตุลาคม 2007 

คราวนี้เรามารู้จักกับกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงประวัติความเป็นมาอย่างละเอียด ดังที่จะได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ครับ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
เสร็จการฉลองพระนครแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงจากครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า “กรุงรัตนโกสินท์อินท์อโยธยา”

ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้นามพระนครเป็น

“กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา”

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา
โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ ชื่อกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีนามเต็มว่า

“กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

อันแปลได้ความว่า

กรุงเทพมหานคร
- พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร            อมรรัตนโกสินทร์
- เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต            มหินทรายุธยา
- เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้            มหาดิลกภพ
- มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง            นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์
- เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง   อุดมราชนิเวศมหาสถาน
- มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย            อมรพิมานอวตารสถิต
- เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา      สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์
- ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้

มูลเหตุที่ราชธานีใหม่จะได้นามว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระราชกรัณยานุสรณ์ว่า “การถือน้ำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น
ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสมาก จึงได้ทรงสถาปนาพระอารามในพระบรมมหาราชวังแล้วพระราชทานนามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เชิญพระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำในพระอุโบสถ แล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องกับการ
ซึ่งมีพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตพระองค์นี้เป็นศิริสำหรับพระนคร นามซึ่งว่า รัตนโกสินทร์ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านรับสั่งว่า

เพราะท่านประสงค์ความว่า เป็นที่เก็บรักษาไว้ขององค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เป็นหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร
ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อถึงการพระราชพิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัจจาอันใหญ่นี้

จึงได้โปรดให้ข้าราชการมากระทำสัตย์สาบานแล้วรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากรในการย้ายพระนคร
มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยานี้ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด ต้นสกุล บุณยรัตพันธุ์) กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมช่างและไพร่วัด
ที่กะสร้างพระนครและพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานใหม่ ให้มีลักษณะคล้ายกรุงศรีอยุธยา

การพระราชพิธียกเสาหลักเมืองมีขึ้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔
ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ฤกษ์เวลาย่ำ รุ่งแล้ว ๕๔ นาที

จากนั้นจึงเริ่มการสร้างพระราชวังหลวง เมื่อ ณ วันจันทร์เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก  จุลศักราช ๑๑๔๔
ตรงกับวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๒๕ ในชั้นแรกนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้น รายล้อมด้วยปราการระเนียด

เพื่อใช้เป็นที่ประทับชั่วคราว เมื่อสร้างพระราชวังหลวงแล้วเสร็จทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปขึ้น
เพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่บ้านเมืองและพระองค์เอง ณ วันจันทร์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔
ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี
เสด็จพระราชดำเนินเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการก่อสร้างพระนครต่อให้บริบูรณ์

สำหรับพระนครฝั่งตะวันออก ซึ่งมีภูมิสถานเป็นแหลมโค้ง มีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้แต่ครั้งกรุงธนบุรี
จึงมีสัณฐานคล้ายเกาะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรี เพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป
คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิมเริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำภู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้
บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาธิวาสในปัจจุบัน) ยาว ๘๕ เส้น ๑๓ วา กว้าง ๑๐ วา ลึก ๕ ศอก พระราชทานนามว่า

“คลองรอบกรุง” (คือคลองบางลำภูถึงคลองโอ่งอ่างในปัจจุบัน) ด้านแม่น้ำตั้งแต่ปากคลองรอบกรุงข้างใต้ไปจนปากคลองข้างเหนือ ยาว ๙๑ เส้น ๑๖ วา
รวมทางน้ำรอบพระนคร ๑๗๗ เส้น ๙ วา (ประมาณ ๗.๒กิโลเมตร) จากนั้นให้ขุดคลองหลอดจากคลองคูเมืองเดิม ๒ คลองออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุง
ที่ขุดใหม่โดยสายแรกขุดจากวัดบุรณศิริมาตยารามไปออกวัดมหรรณพารามและวัดเทพธิดาราม และอีกสายหนึ่งขุดจากวัดราชบพิธไปออกที่สะพานถ่าน


Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.042 seconds with 20 queries.