Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 22:15:57

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้  |  เรื่องที่ควรรู้เท่าทันระดับชาติ  |  รอยเลื่อนในประเทศไทย
0 Members and 2 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: รอยเลื่อนในประเทศไทย  (Read 1446 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 12 January 2013, 14:54:08 »

ขนาดของความรุนแรงของแผ่นดินไหว

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว เป็นการวัดผลของแผ่นดินไหวในแต่ละบริเวณ
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับ strength ของแผ่นดินไหวเท่านั้น
แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย

ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของความรุนแรง (Intensity)
และขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหว
อย่างไรก็ตามสองค่านี้ค่อนข้างแตกต่างกัน และมักจะใช้กันค่อนข้างสับสน

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) ขึ้นอยู่กับผลกระทบของแผ่นดินไหว
ที่มีต่อความรู้สึกของคน ต่อความเสียหายของอาคารและสิ่งก่อสร้าง และต่อสิ่งของธรรมชาติต่าง ๆ

ความรุนแรงจะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งที่ถูกรบกวน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตว่า
อยู่ห่างไกลจากตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) มากน้อยเพียงใด

ขนาดของแผ่นดินไหว เกี่ยวข้องกับปริมาณของพลังงานซึ่งถูกปล่อยออกมา
ณ ตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว (Hypocenter)

ค่าขนาดแผ่นดินไหวนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว (Amplitude)
ที่บันทึกได้ด้วยเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismograph)

ดังนั้นขนาดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจึงมีได้เฉพาะค่าเดียว
ซึ่งได้จากการตรวจจับด้วยเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวเท่านั้น

มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale)
ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) โดย Charles F.Richter
แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เราจึงนิยมใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า “ริกเตอร์” (Richter)

เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่าง ๆ กันได้
เป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismograph)
 มิได้เป็นหน่วยวัดเพื่อแสดงผลของความเสียหายที่เกิดขึ้น

แผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตาม Richter magnitude scale เท่ากับ 8.6
ซึ่งมีความรุนแรง ใกล้เคียงกับการระเบิดของ TNT ประมาณ 1 พันล้านตัน

ส่วนแผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยกว่า 2.0 ตาม Richter magnitude scale มนุษย์ไม่สามารถรู้สึกได้

ตาม Richter magnitude scale กำหนดให้ขนาดของแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า
ในแต่ละขั้นของมาตรา และพลังงานเพิ่มขึ้น 30 เท่าในแต่ละขั้นของมาตรา


ไฮติ ก่อนและหลัง แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์
(ภาพจาก http://technorati.com/politics/article/70-earthquake-in-haiti-a-major/)


การเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหว ความรุนแรง และอัตราเร่งของพื้นดิน ณ บริเวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว


(จากหนังสือ Eathquake Information Bulletin Vol. 13, No. 14)


(จากวิกิพีเดีย)

ข้อมูลจากเว็บไซท์กรมทรัพยากรธรณี http://www.dmr.go.th/main.php?filename=severity

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.033 seconds with 21 queries.