Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 21:28:43

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ผนังเก่าเล่าเรื่อง (Moderator: ผนังเก่าเล่าเรื่อง)  |  หลุมหลบภัยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: หลุมหลบภัยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  (Read 407 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« on: 10 August 2024, 08:20:26 »

หลุมหลบภัยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) ในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยได้ร่วมกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485 และเข้าร่วม สงครามมหาเอเชียบูรพา ในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเป้าหมายการโจมตี ถูกทิ้งระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่างๆ

รัฐบาลได้ออกคู่มือการป้องกันภัยทางอากาศให้กับประชาชน การเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และได้สร้างหลุมหลบภัยสาธารณะตามสถานที่ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้หลบระเบิดในครั้งนั้น บางแห่งประชาชนก็สร้างหลุมหลบภัยส่วนตัวภายในบ้านด้วย

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้สร้างหลุมหลบภัยเพื่อป้องกันภัยทางอากาศ โดยขุดเป็นหลุมแล้วทำหลังคาก่ออิฐถือปูนเสริมเหล็กแข็งแรงมั่นคง ทำเป็นรูปหลังคาหลังเต่า มีประตูเข้าออกได้ (จุคนได้ประมาณ ๒๐ คน)

เมื่อครั้งพระนครถูกโจมตีทางอากาศในยามกลางคืนช่วงปลายสงครามมหาเอเชียบูรพานั้น เสียงหวอที่ได้ยินนั้นมันช่างโหยหวนเสียดแทงเข้าไปในใจดุจเสียงปีศาจแห่งความตายที่ร้องเรียก ผู้คนที่นอนอยู่ในที่พักต่างต้องรีบลุกขึ้น คลำทางหาทางท่ามกลางความมืดไปหลุมหลบภัยในบ้าน หรือออกไปตามหลุมหลบภัยสาธารณะ แต่สำหรับคนแก่บางส่วนที่ไม่หนีลงหลุมนั้น พวกเขาเอาแต่สวดมนต์ เอาพระเป็นที่พึ่ง เพราะถือว่า หากจะต้องตาย อยู่ตรงไหนก็ต้องตาย

ช่วงเวลานั้นรัฐบาลไม่แต่เพียงสร้างหลุมหลบภัยสาธารณะใกล้แหล่งยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่ยังให้คำแนะนำแก่ประชาชนให้สร้างหลุมหลบภัยส่วนตัวขึ้นอีกด้วย

เมื่อเครื่องบินข้าศึกเปิดการโจมตีทางอากาศ ทิ้งระเบิด และเสียงหวอเตือนภัยดังขึ้น ชาวพระนครจะพากันวิ่งสับสนอลหม่านทันที ต่างวิ่งหาที่หลบภัย วิ่งเข้าซ่อนในวัด หรือวิ่งลงหลุมหลบภัย

บางคนที่ไม่สามารถหาหลุมหลบภัยทัน พวกเขาจะลงไปหลบซ่อนในท่อระบายน้ำ เมื่อเครื่องบินผ่านไป แต่ละคนที่คลานออกมาจากท่อระบายนั้นเนื้อตัวมอมแมมสกปรก พร้อมบ่นกันว่า ยุงชุม ทั้งเหม็น และหายใจไม่ออกในการหลบภัยในท่อน้ำริมถนนนั้น

แต่บางบ้านก็ดัดแปลงนำเอา ตุ่มเก็บน้ำ มาใช้แทนหลุมหลบภัย ด้วยการฝังตุ่มลงในดินที่ลานหรือสนามหน้าบ้าน ก็ได้

.













.




Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.049 seconds with 21 queries.