ppsan
|
|
« on: 26 July 2024, 22:26:01 » |
|
นํ้าท่วมใหญ่ ปี 2485
พระนคร (กรุงเทพฯ) เคยได้ชื่อว่าเป็น "เวนิสแห่งตะวันออก" เพราะมีแม่น้ำ ลำคลองในการสัญจรมากมายหลายเส้นทาง แต่ก็ต้องมาประสบกับอุทกภัย-น้ำท่วมพระนครครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 8 ปี พ.ศ. 2485 ตรงกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
เมืองไทยนั้น มีฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน, ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ปัจจุบันเขาว่ามี 3 ฤดูเหมือนกัน แต่เป็น ฤดูร้อน, ฤดูร้อนมาก และฤดูร้อนชิหา...
แต่คนไทยสมัยก่อนจะรู้ทั่วกันว่า ช่วงปลายฝนต้นหนาว (ก.ย-ต.ค.-พ.ย.) จะเป็น "ฤดูน้ำหลาก" หรือ หน้าน้ำหลาก ที่เกิดจากฝนตกหนักในฤดูฝน แล้วไหลหลากจากทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ลงมาทางใต้ ซึ่งแหล่งรับน้ำสำคัญก็คือ อยุธยา และ พระนคร (สมัยก่อนชาวบ้านจะสร้างบ้านมีใต้ถุนสูง หนีน้ำท่วม)
สาเหตุที่เกิดน้ำท่วมนั้น เกิดจากแม่น้ำเจ้าพระยาต้องรองรับน้ำปริมาณมหาศาลจากทางเหนือ และในขณะนั้นยังไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่สำหรับทดน้ำ ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯกลายสภาพเป็นทะเลน้ำจืด ระดับน้ำบางแห่งสูงมากกว่าสองเมตรครึ่ง การคมนาคมทางบก เช่น รถไฟ รถรางและรถเมล์ ได้รับผลกระทบอย่างมาก
.
วัดพระแก้ว และพระบรมมหาราชวัง
.
บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า
.
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพิ่งเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนปีนั้นก็ท่วมแล้ว มีเรือจ้างบริการด้วย
.
หน้ากระทรวงสาธารณสุข เพิ่งสถาปนาเป็นกระทรวงต้นปีนั้น ใช้สถานที่วังศุโขทัยเป็นที่ทำการ สังเกตตัวสะกดยุคญี่ปุ่นบุกไทย ญี่ปุ่นอ้างภาษาไทยสะกดยาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงปฏิรูปอักขรวิธีภาษาไทยเสียใหม่ แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามก็กลับมาสะกดภาษาไทยแบบปกติ
.
หน้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) กลายเป็นท่าต่อเรือ
.
บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน
.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการพายเรือ 555..
.
วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง
.
บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า
.
พระที่นั่งอนันตสมาคม
..
|