ppsan
|
|
« on: 13 July 2024, 20:39:00 » |
|
สะพานหัน ย่านสำเพ็ง
กรุงเทพฯ "เวนิชตะวันออก"
ในอดีต กรุงเทพฯเคยได้รับฉายาว่า "เวนิชตะวันออก" เพราะมีแม่น้ำลำคลองจำนวนมากในกรุงเทพฯ เพื่อการเกษตร และการเดินทางติดต่อค้าขาย คลองบางแห่งก็ขุดขึ้นเพื่อป้องกันพระนครจากข้าศึก แต่ต่อมาพาหนะหลักในการสัญจรเดินทางก็เปลี่ยนไป จากเรือกลายเป็นรถ ถนนจึงเข้ามีบทบาทสำคัญตามลำดับ เมื่อถนนเพิ่มก็ต้องมีสะพานเพิ่มด้วย สะพานในกรุงเทพฯจึงค่อยๆพัฒนารูปแบบ และจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนมีมากมายเต็มไปหมด คลองเริ่มหมดความสำคัญลง ถนนเข้ามายึดครองพื้นที่ระบบคมนาคมส่วนใหญ่ไว้ได้ จนกระทั่งระบบคมนาคมทางเรือเกือบจะสูญพันธุ์ไป และชื่อของ "เวนิชตะวันออก" ก็เริ่มจางหายไปไม่มีใครกล่าวถึง
.
.
สะพานหัน (1)
สะพานหัน มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ตัวสะพานหันสามารถ หัน ได้ คือ หันไปทางด้านกำแพงเมืองหรือกำแพงพระนคร คำว่าหันได้ คือเป็นสะพานไม้ที่สามารถ หันเปิดให้ เรือ วิ่งผ่านเข้าออกในคลองได้ เดิมตรงกำแพงเมืองหรือกำแพงพระนครตรงบริเวณสะพานหันจะมีประตูเข้าออกระหว่างพระนครกับตลาดสำเพ็ง ณ บริเวณสำเพ็งนี้ในสมัยก่อนได้เต็มไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายซื้อขายสินค้าจำนานมาก
สะพานหัน เป็นสะพานขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในย่านสำเพ็ง แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ทอดข้ามคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง ชื่อนี้เรียกตามจาก ลักษณะของตัวสะพานที่ สมัยก่อนนั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวพาดข้ามคลอง ปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ ส่วนอีกข้างจะไม่ตอกติด จับหันไปมาได้เพื่อให้เรือแล่นผ่าน
.
.
สะพานหัน (2)
สมัยรัชกาลที่ 2 สะพานหันได้รับการซ่อมแซมใหม่ให้ยึดติดแน่น คงจะเป็นแบบเดียวกับสะพานข้ามคลองที่ประตูพฤฒิบาศ (สมัยต่อมาเป็นสะพานผ่านฟ้า) คือยกให้สูงโดยเรือผ่านได้ไม่ต้องหันไม้
.
.
สะพานหัน (3)
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการตัดถนนหลายเส้น จำเป็นต้องทำสะพานข้ามคลองในแนวถนน โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ เช่น สะพานหันที่ข้ามคลองรอบเมือง เพื่อเชื่อมสำเพ็งกับในเมือง มีการสร้างสะพานหันเมื่อปี พ.ศ. 2326 โดยพระยาราชาเศรษฐี หัวหน้าคนจีนในสำเพ็ง เมื่อแรกสร้างมีลักษณะเป็นทางเดินแคบๆ ใช้ไม้กระดานพาด สามารถยกขึ้นหรือจับหันเพื่อให้เรือสูงผ่านได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "สะพานหัน" และต่อมา ได้เปลี่ยนเป็นสะพานโครงเหล็ก พื้นไม้ พร้อมกับสะพานดำรงสถิต สะพานพิทยเสถียร และสะพานอื่นๆ คงเป็นสะพานที่ยกตรงกลางให้แยกออกและสูงขึ้นมาได้ แบบเดียวกับสะพานพิทยเสถียรที่สร้างพร้อมกัน
.
.
สะพานหัน (4)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จกลับจากเยือนยุโรป ในปี พ.ศ. 2440 มีการทำสะพานใหม่ ได้เปลี่ยนทำเป็นแบบสะพานริอัลโตที่นครเวนิส และที่ปองเตเวกคิโอ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี คือ เป็นสะพานไม้โค้งกว้าง สองฟากสะพานมีห้องแถวเล็ก ๆ ให้เช่าขายของ ส่วนตรงกลางเป็นทางเดิน
.
.
สะพานหัน (5)
สำหรับตัวสะพานปัจจุบัน ได้สร้างใหม่ขึ้นแทนของเก่าที่ชำรุด ในปี พ.ศ. 2505
.
|