Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 08:01:29

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ผนังเก่าเล่าเรื่อง (Moderator: ผนังเก่าเล่าเรื่อง)  |  กาแฟหมา
0 Members and 2 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: กาแฟหมา  (Read 340 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« on: 02 February 2024, 13:48:37 »

กาแฟหมา


เล่าเรื่อง ไม้เท้าตาหมา และ ไม้ตีสุนัขแล้ว ยังติดใจคำว่า "ไม้" และ "หมา" อยู่อีก(นีสนึง) แฮร่..... ก็ยังมีเรื่องเกี่ยวเนื่องกันที่อยากจะเล่าคือ กาแฟหมา ซึ่งจะรวมไปถึง ไม้ขัดหม้อ หรือ ไม้กายสิทธิ์ปราบพยศลูก นั่นเอง (ใครเคยโดนบ้าง...แสดงว่า แก่แล้ว)

กาแฟหมา ก็คือ น้ำข้าว ที่ได้จาก การหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ของไทยสมัยก่อนที่จะรู้จักกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า อย่างในปัจจุบัน ซึ่งก็โจษขานกันให้แซดว่า เป็นการกินข้าวแบบตายผ่อนส่งเพราะภัยเงียบจากสารหนู ที่ปนเปื้อนในข้าว (อันเกิดจากการหุงด้วยหม้อไฟฟ้า) เลยมีความคิดที่จะกลับไปหุงข้าวแบบดั้งเดิมหรือแบบโบราณ ที่ต้องมีการซาวข้าว และหุงแบบเช็ดน้ำ

อันกาแฟหมา นั้น เป็นคำที่เรียกประชด เปรียบเปรย หรือพูดเอาขำๆ แล้วแต่จะคิดครับ ซึ่งก็หมายถึง น้ำข้าว นั่นเอง เพราะ ในน้ำข้าว มีสารอาหาร หลายอย่าง ดีต่อสุขภาพ คล้ายกับประโยชน์ของกาแฟที่คนดื่ม จึงเรียก น้ำข้าว ว่า กาแฟหมา ให้ดูดี ดูเท่ ครับ 

การหุงข้าวแบบ เช็ดน้ำ ในสมัยโบราณนั้นต้อง ซาวข้าวกับน้ำ คือ การนำข้าวใส่หม้อแล้วเติมน้ำสะอาด กวนข้าวล้างกับน้ำแล้วรินน้ำออก 1-2 ครั้ง เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกที่ติดมากับข้าว แล้วจึงใส่น้ำสะอาดลงไปในหม้อข้าว ตั้งไฟหุงบนเตาถ่านหรือเตาฟืน (น้ำซาวข้าว กับ น้ำข้าว จึงต่างกันนะครับ)

พอน้ำเดือดจนล้นออก ให้เปิดฝาหม้อ หากมีมอดหรือมดอยู่ในข้าวสาร คนสมัยก่อนจะใช้วิธีตักเศษมอดและมด ที่ลอยบนผิวน้ำออกไป

เมื่อข้าวสุก ให้ปิดฝาหม้อแล้วน้ำไม้มาขัดบนฝาหม้อ จากนั้นเอียงหม้อรินน้ำข้าวออกเพื่อให้น้ำแห้ง และดงข้าวให้สุก คือตั้งหม้อข้าวบนไฟอ่อนๆ ขยับเอียงหม้อข้าวไปมาให้ทั่วถึง จนน้ำแห้ง ข้าวก็จะสุกพอดี

บางครั้ง จะได้ ข้าวตัง ติดก้นหม้อเป็นแผ่นแข็ง เป็นของแถม ซึ่งคนโบราณจะเก็บไว้เป็นเสบียงเวลาเดินทาง หรือนำไปทอดกินเป็นอาหารว่างได้เช่น ข้าวตังหน้าตั้ง เป็นต้น
การดงข้าว คือการย่างข้าวให้แห้งจากน้ำข้าวที่เหลืออยู่ในหม้อ ทำให้ข้าวแห้งสนิท ไม่เช่นนั้นข้าวที่มีน้ำข้าวผสมอยู่ จะแฉะและบูดเสียได้ง่าย หรืออาจจะได้ ข้าวสามกษัตริย์ คือ ดิบ แฉะ และไหม้

น้ำข้าวที่รินออกมานั้น บางบ้านชอบดื่มน้ำข้าวผสมเกลือ เพื่อบำรุงร่างกาย แต่บางบ้านไม่ชอบดื่มก็จะรินทิ้งไป หากบ้านนั้นเลี้ยงหมา หมาก็จะอ้วนพี จากการดื่มน้ำข้าว
ในน้ำข้าวนั้น จะมีวิตามินที่ละลายมากับน้ำและความร้อน โดยเฉพาะมี วิตามินอี สูง และมีคุณสมบัติเป็นยาเย็นช่วยบำรุงร่างกาย รวมถึงแก้ร้อนในและใช้ถอนพิษผิดสำแดง และช่วยขับปัสสาวะด้วย

น้ำข้าวยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้ ที่ต้องกินอาหารอ่อนๆ เพราะน้ำข้าวย่อยง่าย ไม่ทําให้ท้องอืด ท้องเสีย และร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอได้ทันที รวมไปถึงผู้ที่มีอาการท้องเสีย โดยเฉพาะเด็กๆ ก็สามารถดื่มน้ำข้าวผสมเกลือแทนน้ำเกลือเเร่ได้ด้วยเช่นกัน

...


ตวงข้าวสารที่จะหุง ใส่หม้อข้าว


.

ซาวข้าวกับน้ำ โดยกวนข้าวล้างกับน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกที่ติดมากับข้าว ให้ออกไป


.

ใส่น้ำสะอาดลงไปในหม้อข้าว ตั้งไฟหุงบนเตาถ่านหรือเตาฟืน


.

ต้มให้เดือดและต้องหมั่นคน อย่าให้เมล็ดข้าวติดก้นหม้อ


.

เมื่อข้าวสุก ให้ปิดฝาหม้อแล้วน้ำไม้มาขัดบนฝาหม้อ จากนั้นเอียงหม้อรินน้ำข้าวออก เพื่อให้น้ำแห้ง

.

ดงข้าวให้สุก คือตั้งหม้อข้าวบนไฟอ่อนๆ ขยับเอียงหม้อข้าวไปมาให้ทั่วถึง จนน้ำแห้ง ข้าวก็จะสุกพอดี


.

ข้าวสวยร้อนๆ ..


.

น้ำข้าว หรือ กาแฟหมา ครับ.


.

.....
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
หุงข้าวแบบโบราณเช็ดน้ำอย่างว่าถ้าจะให้อร่อยสมบูรณ์แบบต้องใช้หม้อดินครับทั่น จะได้ข้าวที่ระอุสวยเพราะหม้อดินเก็บความร้อนตอนดงได้นานกว่าหม้ออลูมิเนียม ทั้งยังได้กลิ่นหอมอ่อนๆจากหม้อดินอีกด้วย ปัญหาอย่างเดียวคือใช้ไม้ขัดหม้อไม่ได้เพราะไม่มีหูสำหรับสอดไม้ขัดหม้อทั้งที่ตัวหม้อและฝาหม้อ ต้องใช้ผ้ารองมือกดฝาไว้กับปากหม้อ ถ้าเกิดทนร้อนไม่ไหวเผลอคลายแรงกดนิดเดียวฝาหม้อก็จะเกิดอาการลาจากปากหม้อซึ่งคงจะพอคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หุงหม้อดินมีจุดเสี่ยงอีกครั้งถ้าหุงครั้งเดียวแล้วเหลือไว้กินมื้อถัดไปด้วยคือมักจะเกิดเอ็พพิโสดที่ทัพพีโผล่หน้ามามองดูโลกทางก้นหม้อเพราะข้าวสุกในหม้อจะแข็ง ต้องออกแรงคดข้าวแรงขึ้น พลาดนิดเดียวก็กลายเป็นโศกนาฏกรรม (ปนฮา) ทันที

.

ฝาหม้อ คนสมัยก่อนเรียกว่า "ฝา-ระ-มี" 555..

ที่วางรองหม้อข้าว เรียกว่า "เสวียน" ทำจากวัสดุพื้นบ้านที่มี เช่น เชือก, หวาย, เชือกปอ(เชือกกล้วย) หรือเศษผ้า นำมาถักเป็นวงกลม(แบน) ขนาดพอรองก้นหม้อร้อนๆ ได้

การ "ดงข้าว" คือราไฟลง เอาหม้อข้าวดงไว้ให้ระอุ เป็นศิลป์อย่างหนึ่ง หากดงข้าวไม่ดีข้าวจะไม่สุก หรือแฉะ แต่ถ้านานเกินไปก็ข้าวไหม้ หรือที่เรียกว่าข้าว 3 kings หรือข้าวสามกษัตริย์ คือข้างบนดิบ ตรงกลางแฉะ ข้างล่างก้นหม้อไหม้

การหุงข้าวด้วยวิธีเช็ดน้ำแบบโบราณ หลังจากรินน้ำข้าวออกหมด นำหม้อข้าวไป ดง หรือตั้งไฟอ่อนๆ จนน้ำแห้ง แล้วจึงตักข้าวมากิน สุดท้ายจะได้ข้าวตังติดก้นหม้อเป็นแผ่นแข็ง คนโบราณจะเก็บไว้เป็นเสบียงเวลาเดินทาง หรือนำไปทอดกินเป็นอาหารว่าง เช่น ข้าวตังเมี่ยงลาว ข้าวตังหน้าตั้ง

น้ำข้าวก็อร่อย ข้าวตังก็อร่อย ไม้ขัดหม้อก็อร่อย เอ้ยไม่ใช่..ไม้ขัดหม้อก็เจ็บดี 555

.



« Last Edit: 28 March 2024, 14:32:30 by ppsan » Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #1 on: 28 March 2024, 14:39:47 »

ไม้ขัดหม้อ  กาแฟหมา
https://postimages.org/
https://postimg.cc/gallery/G2T2p11/193fecfd
https://postimg.cc/gallery/G2T2p11

c1-8


















Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.059 seconds with 21 queries.