ppsan
|
|
« on: 31 January 2024, 22:37:41 » |
|
การเสด็จประพาสต้น ครั้งแรก เมื่อ ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) [2]
(2) "..เรือต้น.."
และจากบทบันทึกในปี รศ ๑๒๓ นี่เอง ที่ทำให้เราทุกคนได้ทราบถึงที่มาของคำว่า "ประพาสต้น"
เมื่อนายทรงอานุภาพ ได้ทรงบันทึกข้อความบทหนึ่งไว้ว่า
“เหตุที่จะเรียกว่า ประพาสต้น นั้นเกิดเมื่อเสด็จในคราวนี้ เวลาจะประพาสมิให้มีใครรู้ว่าเสด็จไป ทรงเรือมาดเก๋ง ๔ แจวลำหนึ่ง เรือนั้นลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัว จึงทรงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจวที่แม่น้ำอ้อมแขวงจังหวัดราชบุรีลำหนึ่ง โปรดฯให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น เจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่อ อ้น จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า "เรือตาอ้น" เรียกเร็วๆเสียงเป็น "เรือต้น" เหมือนในบทเห่ซึ่งว่า "พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย" ฟังดูก็เพราะดี
แต่เรือมาดประทุนลำนั้นใช้อยู่หน่อยหนึ่ง เปลี่ยนเป็นเรือมาดเก๋ง ๔ แจวอีกลำหนึ่ง จึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้น มาใช้เรียกเรือมาดเก๋ง ลำที่เป็นเรือพระที่นั่งทรง อาศัยเหตุนี้ ถ้าเสด็จประพาสโดยกระบวนเรือพระที่นั่งมาดเก๋ง ๔ แจว โดยพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่าเสด็จ จึงเรียกการเสด็จประพาสเช่นนั้นว่า "ประพาสต้น"
คำว่า "ต้น " ยังมีที่ใช้อนุโลกต่อมาจนถึงเครื่องแต่งพระองค์ ในเวลาทรงเครื่องอย่างคนสามัญเสด็จประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกผิดกับคนสามัญดำรัสเรียกว่า "ทรงเครื่องต้น" ต่อมาโปรดฯให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทย เช่นพลเรือนอยู่กันเป็นสามัญขึ้นที่ในพระราชวังดุสิต ก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า "เรือนต้น".....
..... ขอขอบคุณเรื่องและภาพจาก เบื้องหลังพร้อมภาพประวัติศาสตร์จากสารคดี "เสด็จประพาสต้น" http://topicstock.pantip.com/.../04/A7771291/A7771291.html
...
พระยานิพัทธราชกิจ (อ้น นรพัลลภ) “ตาอ้น” ตั้งแต่ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็ก
.
พระยานิพัทธราชกิจ (อ้น นรพัลลภ)
.
นี่คือโฉมหน้าของ "ตาอ้น" ผู้คุมเครื่องครัวในรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ตามเสด็จคราว "ไกลบ้าน" อีกด้วย
.
|