ppsan
|
|
« Reply #1 on: 26 January 2024, 17:49:54 » |
|
ตำนานศึกสายเลือด ครุฑ กับ นาค [5]
(5.2) พระอินทร์ สู้รบกับ พญาสุบรรณ
พระอินทร์ซึ่งไม่รู้เรื่องอะไรเลยว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แม้แต่เรื่อง "พระนารายณ์" รบกับ "พญาครุฑ" หน้าที่ก็คือหน้าที่ ความรับผิดชอบต้องมาก่อน เมื่อมีคนชิงน้ำอมฤตไป ก็จะต้องตามมาเพื่อจะชิงน้ำอมฤตคืน
เมื่อ พระอินทร์ เห็น พญาครุฑ อยู่ตรงหน้า ในมือถือคนโท "น้ำอมฤต" ก็ไม่พูดพล่ามทำเพลงใดๆ พระอินทร์ก็สาดสายฟ้าเข้าใส่พญาครุฑอย่างบ้าคลั่ง
พญาครุฑ พยายามจะอธิบาย แต่พระอินทร์ไม่ฟังคำค้านแต่อย่างใด ระดมสาดอาวุธเข้าใส่พญาครุฑแบบให้ไม่หายใจหายคอ แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่สามารถทำอะไรพญาครุฑได้แม้แต่น้อย ขนาดพระนารายณ์ยังเอาชนะพญาครุฑไม่ได้ พระอินทร์จะไหวเหรอ ? ยิ่งพญาครุฑได้รับพรจากพระนารายณ์ให้เป็นอมตะอีกด้วย ไปกันใหญ่เลย แน่นอน พระอินทร์พ่ายแพ้เพียงไม่กี่กระบวนท่าเท่านั้น แต่พญาครุฑก็มิได้ดูแคลนพระอินทร์แต่อย่างใด กลับเลือกที่จะทำบางสิ่ง ด้วยเป็นการให้เกียรติแก่ "พระศิวะ" เทพเจ้าสูงสุด ซึ่งเป็นผู้มอบอาวุธให้กับพระอินทร์
พญาครุฑ ยอมสลัดขนปีกตัวเองออกหนึ่งเส้น เพื่อเป็นการรักษาพระเกียรติให้แก่พระศิวะและพระอินทร์ ทั้งๆที่อาวุธมิได้ระคายผิวซักนิด เหล่าเทวดานางฟ้าที่ตามมาทันดูเหตุการณ์ ต่างชื่นชมพญาครุฑเป็นอันมาก เพราะรู้เหตุการณ์ก่อนหน้านั้นแลัวว่า พญาครุฑ รบเสมอกับ พระนารายณ์ ไฉนเลยพระอินทร์จะเอาชนะได้เช่นไร.
และเนื่องด้วยขนปีกที่สลัดออกของพญาครุฑนั้น สวยงามมาก กอรปกับความชื่นชมที่มีในตัวพญาครุฑ เหล่าเทวดาจึงขนานนามพญาครุฑอีกชื่อหนึ่งว่า "พญาสุบรรณ" แปลว่า "ผู้มีขนงาม"
ในที่สุดการประมือก็หยุดลงอีกครั้ง พระอินทร์ รู้ทันทีว่าตนมิอาจเอาชนะต่อ"จอมเทพ"ที่อยู่เบื้องหน้าได้ จึงถอนอาวุธ และเริ่มไต่ถาม
พญาครุฑได้อธิบายถึงเหตุที่ต้องมาชิงน้ำอมฤตให้พระอินทร์ฟัง พระอินทร์ เข้าใจ แต่ก็ให้ "น้ำอมฤต" ไปไม่ได้ เพราะเป็นหน้าที่รับผิดชอบ และต้องรักษาพระเกียรติของตนเอาไว้ หากให้โลกและสวรรค์รับรู้ว่าถูกชิงน้ำอมฤตไปได้ ผู้คนและเหล่าเทวดาจะพากันเสื่อมศรัทธา
พญาครุฑปัญญาหลักแหลมยิ่งนัก คิดแผนกลยุทธที่เรียกกันว่า "win-win situation".....(ชนะทั้งคู่) ให้กับพระอินทร์ ?!?
..
.
พระอินทร์ ตามมาชิง น้ำอมฤต
.
พญาครุฑเวนไตยนำเอาน้ำอมฤตไปให้แก่นางกัทรุและเหล่าพญานาค
.
หน้าบันพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา พระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ประทับราหู แวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา (26 องค์) คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ (รวมเทวดา 48 องค์) .
.
ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ (รวมเทวดา 48 องค์)
.
|