ppsan
|
|
« on: 16 December 2023, 08:51:33 » |
|
การนับเวลาแบบไทย [3]
#ย่ำรุ่ง-ยํ่าเที่ยง-ย่ำค่ำ และยาม
เวลาช่วงเช้า เที่ยงวัน เวลาพลบค่ำ และเที่ยงคืน เป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน จะให้ใช้กลองตีรัวๆแทน เรียกว่า "ยํ่า"
การตีกลอง หรือฆ้องถี่ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ย่ำกลอง ย่ำฆ้อง ย่ำระฆัง หรือ ย่ำยาม
-เวลาเช้าตรู่ ๐๖.๐๐ น. เรียกว่า "ยํ่ารุ่ง" -เวลาเที่ยงวัน ๑๒.๐๐ น. เรียกว่า "ยํ่าเที่ยง" -เวลาพลบค่ำ ๑๘.๐๐ น. เรียกว่า "ย่ำค่ำ" -เวลาเที่ยงคืน ๒๔.๐๐ น. เรียกว่า "๖ ทุ่ม" บ้างก็เรียก "สองยาม" หรือ "ยามสอง"
"ยาม" เป็น การนับอย่างไทยในเวลากลางคืน โดยมี ๔ ยาม ยามละ ๓ ชั่วโมงคือ ๑๘.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. เป็น ยามที่ 1 เวลา ๒๑.๐๐ - ๒๔.๐๐ น. เป็นยาม 2 หรือ 2 ยาม ไปอย่างนี้จนยาม ๓ ยาม ๔ โดยมีที่มาจากการอยู่เวรยามในอดีต
การเปลี่ยนเวรยามรักษาการณ์ (ไม่ได้หมายถึง รปภ. นะ)
-กลางวัน ผลัดละหกชั่วโมง คือ ย่ำรุ่งถึงเที่ยง และ เที่ยงถึงย่ำค่ำ -กลางคืน ผลัดละสามชั่วโมง (ยาม ๑ - ยาม ๔)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเพิ่มการบอกเวลาเที่ยงวัน ภายในพระนคร โดยเมื่อถึงเวลาเที่ยงวัน ให้มีการ "ยิงปืน" บอกประชาชนในพระนคร โดยให้กองทัพเรือ ทำหน้าที่ยิงปืนเที่ยงนี้ จึงเป็นที่มาของ คนที่อยู่ห่างไกลพระนคร ห่างความเจริญ เรียกกันว่า "ไกลปืนเที่ยง"
...
.
.
|