Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 02:08:18

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้ (Moderators: CYBERG, MIDORI)  |  การนับเวลาแบบไทย [4]
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: การนับเวลาแบบไทย [4]  (Read 432 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« on: 16 December 2023, 08:55:35 »

การนับเวลาแบบไทย [4]


#รายละเอียดเพิ่มเติม

ชั่วโมงแรกของวันตามทัศนะคนไทย คือ ๗ นาฬิกา(๗.๐๐ น.) ทางการก็จะตีฆ้อง ๑ ครั้ง กลายเป็น ๑ โหม่ง หรือ ๑ โมงเช้า

เวลา ๘ นาฬิกา(๘.๐๐ น.) ก็จะตี ๒ ครั้ง เป็น ๒ โมงเช้า, เวลา ๙ นาฬิกา ก็จะตี ๓ ครั้ง เป็น ๓ โมงเช้า เรื่อยไปจนถึงเวลา ๑๑ นาฬิกาหรือ ๕ โมงเช้า บางครั้งก็จะเรียกว่า “เวลาเพล” ตามเวลาที่พระฉันเพล(ตีกลองเพล)

ส่วนเวลา ๑๒ นาฬิกา (๑๒.๐๐ น.) จะเรียกว่า “เที่ยงวัน” สมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงให้ทหารเรือยิงปืน บอกเวลาเที่ยงวันในเขตพระนคร ที่เรียกว่า "ยิงปืนเที่ยง" คนในเขตพระนครจะได้ยิน แต่ที่อยู่นอกพระนครออกไปจะไม่ได้ยิน จึงเกิดคำว่า "ไกลปืนเที่ยง"

หลังเที่ยงวัน ๑ ชั่วโมง เวลา ๑๓ นาฬิกา ก็จะตีฆ้อง ๑ ครั้ง เรียกว่า ๑ โมงบ่าย หรือ บ่าย ๑ โมง

เวลา ๑๔ นาฬิกา ก็จะตี ๒ ครั้ง เป็นบ่าย ๒ โมง เรื่อยไปจนถึงเวลา ๑๖ และ ๑๗ นาฬิกา อาจเรียกว่าบ่าย ๔ โมง บ่าย ๕ โมง (ตามลำดับ) หรือจะเรียกว่า ๔ โมงเย็น ๕ โมงเย็น (ตามลำดับ) ก็ได้ แต่วิธีเรียกอย่างหลังจะเป็นที่นิยมมากกว่าในปัจจุบัน
ส่วนเวลา ๑๘ นาฬิกานั้น จะเรียก ๖ โมงเย็นก็ได้ แต่ในอดีตจะใช้คำว่า “ย่ำค่ำ” เพราะเป็นเวลาคาบเกี่ยวระหว่างกลางวันกับกลางคืน พระก็มักตีกลองรัวในเวลานี้ ก็อาจเรียกว่า ย่ำกลอง ได้เช่นกัน

สำหรับเวลากลางคืน จะใช้ กลอง เป็นเครื่องบอกเวลา เมื่อเลยเวลาย่ำค่ำมา ๑ ชั่วโมง(คือเวลา ๑๙ นาฬิกา) ก็จะตีกลอง ๑ ครั้ง เสียงดัง “ตุ้ม” กลายเป็นเวลา ๑ ทุ่ม เมื่อเลยเวลาย่ำค่ำมา ๒ ชั่วโมง(๒๐ นาฬิกา) ก็จะตีกลอง ๒ ครั้ง เสียงดัง “ตุ้ม ตุ้ม” กลายเป็นเวลา ๒ ทุ่มนั่นเอง และจะเป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงเวลา ๒๓ นาฬิกาหรือ ๕ ทุ่ม หลังจากนั้นอีก ๑ ชั่วโมงก็เป็นเวลา “เที่ยงคืน”

หลังเที่ยงคืนไปแล้ว จะเปลี่ยนมาตีแผ่นโลหะ(แผ่นเหล็ก)เพื่อบอกเวลาแทนกลอง เข้าใจว่าเพื่อให้เสียงเบาลง จะได้ไม่รบกวนชาวบ้านที่กำลังหลับพักผ่อน อย่างไรก็ตาม เสียงตีแผ่นโลหะจะมีลักษณะแหลม สามารถบอกเวลาให้กับผู้ที่ยังไม่นอนได้ และก็ไม่เป็นการปลุกคนที่หลับไปแล้วด้วย อนึ่ง เสียงจากการตีแผ่นโลหะนั้น ก็ฟังไม่ชัดพอที่จะถอดออกมาเป็นคำได้ การบอกเวลาในช่วงนี้จึงไม่ได้มีหน่วยเป็นเสียงเคาะแบบทุ่มหรือโมงอย่างเวลาช่วงก่อนหน้านี้ คงใช้คำว่า “ตี” นำหน้าจำนวนครั้งที่เคาะแผ่นโลหะ นั่นคือ เวลา ๑ นาฬิกา จะตีแผ่นโลหะ ๑ ครั้ง เรียกว่าเวลา ตีหนึ่ง เวลา ๒ นาฬิกาก็จะตี ๒ ครั้ง เรียกว่า ตีสอง เรื่อยไปจนถึงเวลา ๕ นาฬิกา ก็จะเรียกว่า ตีห้า

ครั้นเวลา ๖ นาฬิกา ก็จะเรียกว่า ย่ำรุ่ง เพื่อให้เข้าคู่กับ ย่ำค่ำ นั่นเอง แต่ในปัจจุบัน คนนิยมเรียกเวลานี้ว่า ๖ โมงเช้ามากกว่า และด้วยเหตุนี้ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จึงพลอยเรียกเวลา ๗ นาฬิกา ๘ นาฬิกา ว่า ๗ โมงเช้า ๘ โมงเช้า ตามไปด้วย

...




.



.


Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.118 seconds with 21 queries.