ppsan
|
|
« on: 16 December 2023, 08:46:16 » |
|
การนับเวลาแบบไทย [2]
#โมง-ทุ่ม-ตี
การนับเวลาของคนไทยโบราณ จะเป็นแบบไม่เป็นทางการ และมีหน่วยการนับที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่า เป็นเวลาช่วงไหนของวัน และเครื่องมือที่ใช้บอกเวลา ซึ่งสรุปได้ ดังนี้คือ
ในรอบ ๑ วัน แบ่งเวลาออกเป็น กลางวัน และ กลางคืน หรือแบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนละ ๖ ชั่วโมง คือ กลางวัน ๒ ส่วน(๑๒ ขั่วโมง) และกลางคืน ๒ ส่วน(๑๒ ขั่วโมง) รวมเป็น ๒๔ ชั่วโมงใน ๑ วัน หรือแบ่งเป็น ยาม ในเวลากลางคืน รวม ๔ ยาม ยามละ ๓ ชั่วโมง
กลางวัน (ช่วงเช้าจนถึงเย็น) จะใช้ ฆ้อง ตีบอกเวลา เสียงดัง "โหม่ง" กลายเป็นเวลา "โมง" โดยนับเวลาจากที่พระอาทิตย์ขึ้น เป็น ๖.๐๐ นาฬิกา เรียกว่า ย่ำรุ่ง
กลางคืน (ช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน) จะใช้ กลองใบใหญ่ ตีบอกเวลา เสียงดัง “ตุ้ม” กลายเป็นเวลา "ทุ่ม" และช่วงหลังเที่ยงคืนถึงเช้าตรู่ ใช้ แผ่นโลหะ (แผ่นเหล็ก) ตีบอกเวลา เสียงดัง แก้กๆ หรือ เป๋งๆ ซึ่งทำให้พูดตามยาก จึงเรียกเป็น "ตี" แทน
...
ฆ้องและกลอง คือเครื่องมือใช้ตีบอกเวลาของไทย .
ฆ้อง ใช้ตีบอกเวลา ตอนกลางวัน กลอง ใช้ตีบอกเวลา ตอนกลางคิน .
การใช้ “กะลา” จับเวลา วิธีการนับเวลาแบบจารีตของสังคมสยามจิตรกรรมภาพเขียนสีหลังตู้พระไตรปิฎกในพระนี่นั่งพุทไธสวรรย์
ขอบคุณภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2558 https://www.silpa-mag.com/history/article_7703?fbclid=IwAR2ti22DZ-iPyAYSjtcmPSn6N1adtqsXQYouk3zHQmuPxyYpfOPoBhu53jo .
กลองมโหระทึก .
|