Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 16:17:51

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,616 Posts in 12,928 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  หมวดหมู่ทั่วไป  |  สาระน่ารู้ (Moderators: CYBERG, MIDORI)  |  การนับเวลาแบบไทย [1]
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: การนับเวลาแบบไทย [1]  (Read 428 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,452


View Profile
« on: 16 December 2023, 08:39:24 »

การนับเวลาแบบไทย [1]


#นาฬิกาและการนับเวลาแบบไทยในอดีต

ในสมัยโบราณก่อนที่จะมี นาฬิกา (เครื่องบอกเวลาแบบฝรั่ง) ใช้กันนั้น คนไทยนับเวลากันอย่างไร ?

คำว่า “นาฬิกา” มาจากคำว่า “นาฬิเก” ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า มะพร้าว ทั้งนี้เพราะคนไทยในสมัยก่อน ใช้กะลามะพร้าวเจาะรู ลอยน้ำเป็นเครื่องกำหนดเวลา เช่น การชนไก่ กัดปลา โดยกำหนดให้กะลาจม ๑ ครั้ง คือช่วงเวลา ๑ ยก หรือ ๑ อัน
ต่อมาในสมัยอยุธยา ฝรั่งได้นำเอาเครื่องกำหนดเวลาที่ใช้เครื่องจักร เข้ามาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมองซิเออร์ เดอโชมองต์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งเข้ามาเจริญพระราชไมตรีใน พ.ศ.๒๒๒๘ นำเข้ามาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการอย่างหนึ่ง

เครื่องบอกเวลาที่เป็นเครื่องจักรนี้ เราเรียกว่า นาฬิกาฝรั่ง และในภายหลังเรียกให้ชัดเจนขึ้นว่า นาฬิกากล แต่ก็ยังไม่แพร่หลายนัก มีใช้กันเฉพาะในหมู่บุคคลชั้นสูง ส่วนชาวบ้านทั่วไป ก็นับเวลาแบบเดิม จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ มีพ่อค้านำนาฬิกาเข้ามาขายมากขึ้น จนในที่สุดคนไทยจึงใช้นาฬิกากันอย่างแพร่หลายจนทุกวันนี้

...


นาฬิกา (เครื่องบอกเวลาแบบฝรั่ง)

นาฬิกา มาจากคำว่า “นาฬิเก” ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า มะพร้าว

.



การนับเวลาแบบไทย...

โมง-ทุ่ม-ยาม

.



กะลามะพร้าวเจาะรู ลอยน้ำเป็นเครื่องกำหนดเวลา
.
กะลาแบบขันทองเหลือง (ได้รับความอนุเคราะห์ภาพจาก รศ.เสนอ นิลเดช อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ขอบคุณภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2558
https://www.silpa-mag.com/history/article_7703?fbclid=IwAR00HHFJ0gSWmpgSCy7S4t66opB5hUhsRopDEQBeLmG4omcgyl7U_ui0cq0

.



ปืนใหญ่ "ยิงปืนเที่ยง"

.


Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.042 seconds with 19 queries.