ppsan
|
|
« on: 31 October 2023, 22:11:59 » |
|
ข้าวต้มกุ๊ย 白粥 (ไป๋โจว)
"หมื่นแปดครับ!!!" เฮียฮ้อ..บอกราคาข้าวต้มในมื้อนั้น ด้วยเสียงดังอย่างภาคภูมิใจ แต่คนกินตกใจ แทบจะสำลัก เพราะข้าวต้มราคาเป็นหมื่น
ร้านข้าวต้มฮ้อ (ห้องอาหารจุฬาทิพย์) เป็นร้านดังแห่งเมืองลพบุรี ใครไปใครมา ก็มักจะแวะเข้าไปกินอาหาร ซึ่งมีหลากหลาย ทั้งอาหารตามสั่ง(แนวจีน) ข้าวต้ม ข้าวสวย อร่อย และสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของร้านคือ 'คิดเงินเป็นหมื่น แต่จ่ายเป็นสิบหรือเป็นร้อยบาท' เท่านั้น เคยถามเฮียฮ้อว่า ทำไมคิดเงินเป็นหมื่น แกก็บอกว่า "เป็นเคล็ดให้รวยๆ เฮงๆ ทั้งลูกค้าและเจ้าของร้าน" ให้มันดูมีค่า ยิ่งใหญ่ สมกับอาหารอร่อย เลิศรส เป็นเคล็ดการค้าขาย และสมพรปากในความร่ำรวย
.....
วันนี้ จะเล่าเรื่อง ข้าวต้มกุ๊ย ให้ฟังครับ
ทำไมจึงเรียกว่า "ข้าวต้มกุ๊ย" ?
สำหรับคำว่า “กุ๊ย” นั้นเป็นคำจีนที่เอาไว้เรียก คนไม่ดี อันธพาล หรือพวกนักเลง ซึ่งคำแบบนี้ไม่น่าจะเอามารวมเป็นเมนูอาหารได้นะ
คำว่า “กุ๊ย” เดิมเป็นคำภาษาจีนแปลว่า ผี แต่คนไทยเอามาใช้เรียกคนที่เป็นแรงงาน หรือคนไม่ดี, พวกอันธพาล ในภาพจำของคนไทยคำนี้จะหมายถึงพวกคนที่ไม่ดี คนชั้นแรงงาน
เรามาทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของชื่อ “ข้าวต้มกุ๊ย” กัน
.....
ตำนานเกี่ยวกับที่มาของคำว่า"ข้าวต้มกุ๊ย" นี้ มาจากคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในย่านเยาวราชตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ส่วนใหญ่ยากจน ทำงานรับจ้างเป็นกรรมกรแบกหามทั่วไป คนพวกนี้กลางวันจะทำงานหนัก พอตกเย็นก็นั่งรับประทานอาหารกัน กินข้าวต้มไปดื่มเหล้าไป พอเมาได้ที่ก็ทะเลาะวิวาทต่อยกัน เจ้าหน้าที่บ้านเมืองสมัยนั้นเห็นภาพจนชินตา
ตำนานที่ 1 มาจากวิธีการกินข้าวต้มของคนจีนสมัยก่อน โดยเรียกจากอากัปกริยา เวลาคนจีนกิน มักจะนั่งยองๆ ยกชามข้าวต้มใช้ตะเกียบ "พุ้ยข้าวต้มใส่ปาก" จะซดเสียงดังเต็มที่ แล้วเวลาเคี้ยวก็ดังจั๊บๆ ต่อมาคำว่า พุ้ย ก็เรียกเพี้ยนๆ จนกลายเป็น "กุ๊ย" ส่วนกับแกล้ม ก็มีผัดผักบุ้ง ต้มจับฉ่าย เต้าหู้ยี้ ถั่วลิสงเค็ม กั้งดอง ก๊งฉ่าย ฮัวน่ำฉ่าย และปลาเค็ม เป็นต้น
ตำนานที่ 2 มาจากอาหารของคนจีนแต้จิ๋ว ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาทำงานในเมืองไทย อาชีพหลักๆของชาวจีนทั้งหลาย คือ"จับกัง" แบกข้าวสาร และงานใช้แรงงานอื่นๆ อาหารเลี้ยงฟรีให้จับกังส่วนใหญ่ คือข้าวต้มเปล่า กับอาหารอีก2-3อย่าง ส่วนที่ไม่มีอาหารเลี้ยงฟรีก็ต้องอาศัยซื้อกินจากร้านข้าวต้มข้างทางซึ่งมีอยู่ทุกหัวมุม สะดวกราคาถูกที่สุดเหมาะกับพวกจับกัง หรือกุ๊ยอิสระกิน และนี่คือที่มาของข้าวต้มกุ๊ย
ตำนานที่ 3 มาจากคำที่คนจีนแต้จิ๋วเรียกข้าวต้มกุ๊ยว่า ชิ่วเชียม้วย (手车糜) ซึ่งแปลว่า "ข้าวต้มคนลากรถ" คนสมัยนั้นเรียกรถลากด้วยแรงคนว่า รถเจ๊ก แต่ชาวจีนแต้จิ๋วในย่านเยาวราชนั้นเรียกรถเจ็กว่า ชิวเชีย (手车) หมายถึงรถใช้มือลาก ส่วนคำว่า ม้วย (糜) เป็นคำเรียกข้าวต้มของชาวจีนแต้จิ๋ว ดังนั้น รวมความแล้ว ชื่อนี้จึงน่าจะหมายถึง ข้าวต้มสำหรับคนลากรถเจ๊ก
แต่ทำไมคนไทย เรียกข้าวต้มกุ๊ย ข้าวต้มนั้นเป็นอาหารดั้งเดิมของคนจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่ออพยพเข้ามาอยู่ในแผ่นดินไทย ก็นำวิธีการรับประทานข้าวต้มติดมาด้วย ที่เรียกว่า"ข้าวต้มกุ๊ย" เพราะจับกังจีนสมัยนั้นเนื้อตัวไม่สะอาด พูดจาเสียงเอะอะ บ้างก็เมาจนมีเรื่องวิวาทจนเป็นที่ชินตา..
แต่พอเวลาผ่านไป ชิ่วเชียม้วย ก็เริ่มเลือนลางและจางหายไปพร้อมกับรถลาก รถเจ๊ก เหลือเพียงคำว่า ข้าวต้มกุ๊ย ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง ..
ตำนานที่ 4 มาจากอาหารรอบดึกของคนกลางคืน สมัยก่อนจะมีการเปิดร้านอาหารในช่วงดึก ไว้สำหรับบริการคนที่สังสรรค์ สูบฝิ่น หรือออกมาจากการเที่ยวโคมเขียว และนักพนัน พอออกมาดึก ท้องก็หิวก็ต้องหาอะไรทานหน่อย แล้วด้วยความที่มันเป็นสถานที่ อโคจร เป็นสถานที่มืด คนทั่วไปเลยมองว่าคนแบบนี้เป็นกุ๊ย เพราะฉะนั้นคนกินอาหารอะไรแบบนี้ก็มีแต่พวกกุ๊ยทั้งนั้น มันก็เลยถูกจำว่าเป็นข้าวต้มกุ๊ยไปโดยปริยาย
ไม่ว่าที่มาจะเป็นอย่างไร แต่ด้วยรสชาติที่อร่อย กินแล้วอยู่ท้อง วัตถุดิบที่ราคาแพงและดีขึ้น ในเวลาต่อมา ทำให้มันกลายเป็นอาหารจานโปรดเมนูหนึ่งของคนไทย ที่รับประทานกันทุกชนชั้นและทุกเชื้อสายกันไปแล้ว...
.....
ข้อมูลตำนานข้าวต้มกุ๊ย จาก... https://board.postjung.com/686921 https://www.nationtv.tv/lifestyle/378742701 https://mgronline.com/china/detail/9600000045593 https://www.thammculture.com/why-is-it-called-rice-gruel.../ https://www.facebook.com/media/set/...
.
คนกินเป็นกุลีที่นั่งกินอยู่หน้าตู้ ซึ่งวิธีกินจะพิสดารหน่อย คือแทนที่จะนั่งบนม้า กลับเหาะขึ้นไปนั่งยองๆ บนม้า การกินใช้ตะเกียบเขี่ยข้าวเข้าปาก ถ้าเป็นข้าวต้มจะซดดังสนั่นหวั่นไหว แล้วเวลาเคี้ยวก็ดังจั๊บๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว นั่นเป็นการกินธรรมดาๆ ของคนจีน ไม่ว่ากินที่ไหน ยุคไหน ก็นั่งยองๆ อย่างนั้น พอดีมาเข้าทางคนมีอคติที่ไม่ชอบอย่างนั้น ยิ่งคนจีนมีลักษณะมอมแมมเข้าไปด้วย เลยถูกเรียกว่ากุ๊ยกินข้าวต้ม คำว่าข้าวต้มกุ๊ยก็มาจากนั่นแหละ
.
นั่งยองๆ บนม้า การกินใช้ตะเกียบเขี่ยข้าวเข้าปาก ถ้าเป็นข้าวต้มจะซดดังสนั่นหวั่นไหว แล้วเวลาเคี้ยวก็ดังจั๊บๆ
.
จับกัง อาชีพรับจ้างแบกหามทั่วไป จับกัง (雜工 (แต้จิ๋ว)) เป็นคำไทยที่มีรากเค้ามาจากภาษาจีน มีความหมายคือ ผู้ที่สามารถทำงานได้หลายอย่าง, แต่มักเน้นงานที่ต้องใช้กำลังกาย หรืองานช่าง ปัจจุบันมักเข้าใจว่า จับกัง เป็นกรรมกรแบกหาม(กุลีจีน) เท่านั้น
.
อาชีพหลักๆ ก็มาเร่ค้าขาย อาศัยความขยัน อดทน อดออมสะสมทุนมาเรื่อยๆ เอาทุนมาต่อทุนหาของมาขายจนขยายมาเรื่อยๆ
.
เจ๊กลากรถ
.
|