Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 03:03:45

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ผนังเก่าเล่าเรื่อง (Moderator: ผนังเก่าเล่าเรื่อง)  |  ศิวนาฏราช
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ศิวนาฏราช  (Read 331 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« on: 02 October 2023, 22:20:16 »

พระศิวนาฏราช (Shiva Nataraja)


-ความรู้เพิ่มเติม-

พระศิวนาฏราช (Shiva Nataraja)
.

ศิวนาฏราช เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหินโดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟและน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต
.

ศิวนาฏราชในศิลปะอินเดีย

นาฏราช หรือพระศิวะในฐานะของบรมครูองค์แรกแห่งการร่ายรำ พระหัตถ์ขวาด้านบน ทรงถือกลองรูปร่างคล้ายๆ นาฬิกาทราย (เอวคอด) กลองเล็ก ๆ ใบนี้ให้จังหวะประกอบการฟ้อนรำของพระศิวะ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เสียงกลองเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในจักรวาล นั่นคือ กลองเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ทั้งมวล

พระหัตถ์ซ้ายด้านบน ถืออัคนี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายล้าง โดยคำว่า ทำลายล้าง ในที่นี้ หมายถึง ล้างความชั่ว ล้างอวิชชา ให้หมดไป เพื่อเปิดทางการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พระกรและพระหัตถ์คู่ซ้าย-ขวา ซึ่งแทนการสร้างสรรค์และการทำลายล้างนี้ กางออกไปในระดับเสมอกัน อันบ่งบอกถึงความหมายที่ว่า "มีเกิด ก็ย่อมมีดับ" นั่นเอง

พระหัตถ์ขวาด้านล่างแบออก เรียกว่า ปางอภัย (abhaya pose) ซึ่งมีความหมายว่า "จงอย่าได้กลัวเลย" (do not fear) เพราะไม่มีภัยใด ๆ จะมากล้ำกลาย ท่านี้บ่งว่าพระศิวะเป็นผู้ปกป้องอีกด้วย

ส่วนพระกรซ้ายด้านล่างพาดขวางลำตัวระดับอก ในลักษณะคล้ายๆ งวงช้าง ซึ่งบางคนตีความว่า เป็นงวงของพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ และเป็นบุตรของพระศิวะอีกต่างหาก ปลายนิ้วของพระกรที่เป็นงวงช้างนี้ชี้ไปที่พระบาทซ้ายที่ยกขึ้น มาจากพื้น ก็ตีความกันว่า พระบาทที่ยกขึ้นมานี้บ่งถึงการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

ส่วนพระบาทขวานั้นเหยียบอยู่บนอสูรมูลาคนี ซึ่งเป็นตัวแทนของอวิชชา เมื่ออวิชชาถูก 'เหยียบ' ไม่ให้โผล่ขึ้นมาบดบังความจริง ความรู้แจ้ง (วิชชา) ก็จะปรากฏขึ้นนั่นเอง

วงกลม ๆ ที่ล้อมพระศิวะอยู่ก็คือ ขอบเขตแห่งการร่ายรำ อันเป็นตัวแทนของจักรวาลทั้งมวล โดยมีขอบด้านนอกเป็นเปลวไฟ และมีขอบด้านในเป็นน้ำในมหาสมุทร พระศิวะในปางนาฏราชนี้ยังแสดงคู่ตรงกันข้ามกันเช่น กลอง = สร้าง vs ไฟ = ทำลาย แม้พระศิวะจะร่ายรำ ขยับมือ ขยับเท้าและแขนขาอย่างต่อเนื่อง แต่พระพักตร์กลับสงบนิ่งเฉย เหมือนไร้ความรู้สึก ซึ่งเป็นเสมือนการสอนว่า การเกิด-ดับของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่โดยตลอด พระเกศาของพระศิวะยาวสยาย ปลิวสะบัดยื่นออกไปทั้งซ้ายขวา เป็นสัญลักษณ์แทนผู้ละทิ้งชีวิตทางโลก แต่ก็มีพระคงคาและพระจันทร์เสี้ยวอนเป็นสัญญลักษณ์แห่งเทพสตรีประดับอยู่ด้วย

.

รูปปั้นสัมฤทธิ์ของพระศิวะ เทพแห่งการระบำ สมัยราชวงศ์โจฬะในคริสต์ศตวรรษที่ 10






.

...................

หน้าบันศิวนาฏราช ณ ปรางค์ประธานประสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์

.

หน้าบันศิวนาฏราช ณ ปรางค์ประธานประสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์


.

หน้าบันศิวนาฏราช เหนือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ณ ซุ้มประตูสู่ปรางค์ประธาน


.



ความงามพระพาหา (ท่อนแขน) และที่ข้อพระกรประดับพระวลัย (สร้อยข้อมือ) อันละเอียดอ่อนช้อยอย่างที่สุด กระทั่งพระมัชฌิมา (นิ้วกลาง) กับพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) ที่จีบเข้าหากัน ช่างยังจำหลักให้เห็นอย่างละเอียดอ่อน

.



.

ประสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์


.



.

Shiva


.

narai


.



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #1 on: 03 October 2023, 21:27:20 »


อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
 
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง แห่งนี้ นอกจากความสวยงามของตัวปราสาทและประติมากรรมศิลปะสมัยขอมโบราณ ยังมีปรากฎการณ์ธรรมชาติที่โด่งดัง และเป็นที่ตั้งตารอของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่จะมารอชมความสวยงามของปรากฎการณ์ แสงอาทิตย์ผ่านประตู ที่จะมีให้ชม 4 ครั้ง ใน 1 ปี

-ในช่วงวันที่ 3 - 5 เมษายน และ 8 - 10 กันยายน ของทุกปี เพื่อชมดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน

-และในช่วงวันที่ 6 - 8 มีนาคม และ 6 - 8 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อชมดวงอาทิตย์ตก ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน

นับเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ถือได้ว่าเป็นปรากฎการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความเชื่อกันว่า เมื่อได้มารับแสงอาทิตย์ที่สอดส่องผ่านศิวลึงค์ ซึ่งตั้งอยู่กลางปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นการเสริมพลังชีวิตและความเป็นสิ่งมงคลกับตนเองและครอบครัว ของผู้ที่พบเห็น จึงทำให้ปรากฎการณ์นี้เป็นที่น่าสนใจของทุกปี





.

ขอขอบคุณเรื่องและภาพจาก...
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง /  ลุงซุป เชียงใหม่ soup chiangmai
http://www.soupvanclub.com/index.php?topic=1201.0



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #2 on: 06 June 2024, 13:32:04 »








Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.051 seconds with 20 queries.