Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
23 December 2024, 02:43:54

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ผนังเก่าเล่าเรื่อง (Moderator: ผนังเก่าเล่าเรื่อง)  |  นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก (๒)
0 Members and 2 Guests are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก (๒)  (Read 261 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 9,454


View Profile
« on: 21 January 2023, 15:22:17 »

นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก (๒)


นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก (๒)

.....

นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก
นิทรรศการฯ มีถึงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ 

[.....นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก (๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=21-07-2018&group=10&gblog=128 .....]

.....



บ้านหิมพานต์ หรือ ปาร์คสามเสน
ตั้งอยู่ริมถนนสามเสน พระสรรพการหิรัฐกิจ (เชย อิศรภักดี) ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล เป็นผู้สร้าง ตั้งใจจะให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแบบสวนสาธารณะและเก็บเงินค่าบำรุงในการเข้าชม สร้างแล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๔๕๑ ภายในบ้านหิมพานต์มีอาคารหลายหลัง ในภาพนี้คือตึกสีชมพู ต่อมาที่ดินและตึกรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างในปาร์คนี้ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของแบงก์สยามกัมมาจล พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้างพระราชทานให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล เป็นผู้ปกปักษ์รักษาใช้เป็นสถานพยาบาลช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วย ปัจจุบันคือ วชิรพยาบาล ในภาพมีชายสองคนนั่งอยู่บนเก้าอี้หน้าบ้าน ซ้ายมือคือ พระพรหมาภิบาล (แขก อิศรภักดี) ผู้เป็นบิดา และขวามือคือ พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี)



สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ
สร้างขึ้นบนที่ดินของพระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) ในย่านเพลินจิต โดยแลกเปลี่ยนกับที่ดินสถานอัครราชทูตเดิมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาติดถนนเจริญกรุง ในภาพด้านหน้าสุด คือ อนุสรณ์สถานสงเคราะห์ ถัดเข้าไปเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ซึ่งย้ายมาจากสถานอัครราชทูตเดิม และด้านในสุดคือ อาคารทำเนียบเอกอัครราชทูต ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ในพุทธศักราช ๒๔๖๔ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๔๐ ได้ยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย และในพุทธศักราช ๒๕๖๑ สถานเอกอัครราชทูตนี้ได้บรรลุข้อตกลงในการขายที่ดินให้แก่เอกชนและจะย้ายที่ทำการไปยังสถานที่ใหม่ต่อไป



บ้านพิศาลบุตร
บ้านสถาปัตยกรรมแบบจีน (ขวามือ) เป็นบ้านเดิมของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น) ต้นตระกูล พิศาลบุตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นท่าเรือกลไฟขนส่งสินค้าระหว่าง จีน-ไทย ในชื่อ ฮวย จุ่ง ล้ง ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองสาน ตรงข้ามกับถนนทรงวาด-เยาวราช
ส่วนบ้านสองหลังตรงกลางและซ้ายมือ เป็นบ้านของพระพิศาลศุภผล (ฮง) และพระนิยมนราธิราช (ประชาเชิด) ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น)



ท่าเรือหน้าที่ทำการบริษัทอีสต์ เอเชียติก
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านบางรัก ด้านซ้ายมือ คือโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล



ท่าเรือและคลังสินค้าบริษัทอีสต์ เอเชียติก (ปัจจุบัน - น่าจะเป็นบริเวณเอเชียทีคนะคะ)



วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
ถ่ายจากด้านทิศเหนือ ด้านขวามือเห็นยักษ์ที่หน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ



วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร
ขณะกำลังก่อสร้างพระอุโบสถ ถ่ายจากด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เห็นสะพานพระรูป ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองที่กั้นแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสอยู่ด้านล่างของภาพ



พระวิหารวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร ก่อนการบูรณะปฏิสังขรณ์



ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
ตั้งอยู่บนกองหินบริเวณปราสาทประธาน ก่อนถูกโจรกรรมไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ และได้รับคืนกลับมาติดตั้งที่ปราสาทหินพนมรุ้งในปัจจุบัน













อาคารหอพระสมุดในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหนังสือจากหอพระสมุดในพระองค์ ไปที่หอสมุดสำหรับพระนคร และตั้งเป็นหอสมุดวชิราวุธ






พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี



วัดพระแก้วน้อย จังหวัดเพชรบุรี
ถ่ายจากบริเวณพระนครคีรี หรือเขาวัง ไปทางวัดพระแก้วน้อยและเห็นพระธาตุจอมเพชร เจดีย์ทรงระฆังบนยอดเขาด้านขวา



ท้องสนามไชย
ตั้งอยู่หน้าพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท สนามบริเวณนี้เดิมเรียกว่า "สนามหญ้าจักรวรรดิ" ตามแบบสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ในกรุงศรีอยุธยาถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กั้นเป็นบริเวณ โดยปักเสนานางเรียงทางเหนือสนามแถวหนึ่ง ทางใต้แถวหนึ่ง กำหนดพระที่นั่งสุทไธสวรรย์เป็นกึ่งกลางข้างหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์สร้างพระแท่นเบญจา สำหรับเสด็จออกให้ข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มีเกยช้างอยู่ด้านเหนือ เกยพระราชยานอยู่ด้านใต้ ริมสนามอีกฝั่งหนึ่งโปรดให้สร้างตึกสองชั้นสำหรับนายทหารอยู่ และสร้างโรงทหารต่อไปทางเหนืออีกแถวหนึ่ง บริเวณดังกล่าวนี้ให้รวมเรียกว่า "ท้องสนามไชย" ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อขยายเขตพระราชวังสราญรมย์ ได้รื้อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในรัชกาลที่ ๔ ลง และปรับปรุงท้องสนามไชยใหม่
ท้องสนามไชย เป็นบริเวณที่ข้าราชการและประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ในพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมือง เช่น  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีอภิเษกสมรส ตามจดหมายเหตุครั้งรัชกาลที่ ๕ เวลาเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารครอบพระนครใรพระราชพิธีสำคัญจะสร้างพลับพลาที่ประทับเพื่อพระราชทานสิ่งของที่ระลึกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ณ บริเวณท้องสนามไชย ภาพนี้ถ่ายเมื่อราวปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกขปราสาท
เป็นพระที่นั่งโถง ทรงจัตุรมุขยอดปราสาท สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ลักษณะหลังคาเครื่องยอดชั้นลด ๔ ชั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระที่นั่งโถงสำหรับการเสด็จ โดยพระราชยานมีเกย รับ-ส่งเสด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยเฉพาะในพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ หรือเกศากันต์เจ้านายที่มีพระชันษาครบวาระที่โปรดให้มีพระราชพิธีตามราชประเพณี ภาพนี้ถ่ายเมื่อคราวพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๐๘ นายจอห์น ทอมสัน ช่างภาพชาวสก็อตแลนด์ เป็นผู้ถ่ายภาพ



ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมในพระบรมมหาราชวัง
พระที่นั่งอนันตสมาคม (องค์เดิม) เป็นพระที่นั่ง ๒ ชั้น มีมุข ๓ มุข ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก หลังพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท มุขกลางยาว ๓ ห้อง ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการ และประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ มุขเหนือและมุขใต้เป็นโถงห้องเดียว ใช้เป็นที่เฝ้าของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ พระที่นั่งอนันตสมาคมนี้ ใช้เป็นสถานที่ในการเสด็จออกรับคณะทูตที่เดินทางมาทำหนังสือเจริญสัมพันธไมตรี ซึ่งถ้ารับแบบเต็มยศจะเรียกว่า "ออกใหญ่" ถ้ารับแบบครึ่งยศจะเรียกว่า "ออกกลาง"  ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๔ นอกจากนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระที่นั่งอนันตสมาคมยังใช้เป็นที่รอเฝ้าฟังพระอาการประชวรของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และยังเป็นสถานที่ที่ใช้ประชุมหารือกันในการถวายสิริราชสมบัติแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์กรมขุนพินิตประชานาถ และแต่งตั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีกด้วย
ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งอนันตสมาคมอยู่ในสภาพชำรุดผุพังเป็นอันมาก ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีเพราะเกรงว่าจะพังลงมา การบูรณะซ่อมแซมนั้นก็ต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงโปรดให้รื้อลงและโปรดให้นำนามพระที่นั่งองค์นี้ไปเป็นนามพระที่นั่งองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นบริเวณพระราชวังดุสิต นั่นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในปัจจุบันภาพนี้ ถ่ายราวต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากมีพระโธรน หรือพระเก้าอี้ราชบัลลังก์แบบตะวันตกทอดอยู่หน้าพระแท่นราชบัลลังก์แบบเดิม












พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอรรคชายาเธอ และเจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในห้องเครื่อง พระราชวังดุสิต




รถเข็นและหาบเร่ที่สนามหลวงด้านวัดพระศรีรัตนศาสดาราม



ร้านขายสินค้าของฝรั่งในกรุงเทพมหานคร สมัยรัชกาลที่ ๕




ทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือกระแชงกำลังล่องผ่านวัดซางตาครู้ส หรือวัดกุฎีจีน






สะพานหัน ย่านสำเพ็ง แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ เดิมเป็นแผ่นไม้เล็ก ๆ หันให้เรือผ่านไปมาได้ ทอดข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) บนสะพานมีร้านขายของเล็ก ๆ









การแต่งกายหญิงสูงอายุ ถ่ายเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร พุทธศักราช ๒๔๔๙




















ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข ขณะเรียนการส่งไปรษณีย์ธนาณัติ สมัยรัชกาลที่ ๕


โต๊ะโทรเลขระหว่างประเทศ (เริ่มมีเมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๖)


การสาธิตใช้เครื่องดูดฝุ่น ในบริเวณพระราชวังดุสิต ในสมัยรัชกาลที่ ๕







สะพานผ่านพิภพลีลา
เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินใน กับถนนราชดำเนินกลาง เดิมมีสะพานเก่าเป็นสะพานโค้ง มีโครงเหล็ก ในพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานขึ้นใหม่ให้มีลักษณะกว้างใหญ่และงดงาม พระราชทานนามว่า "สะพานผ่านพิภพลีลา" เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๙ อาคารข้างต้นไม้ใหญ่คือ คุกลหุโทษ




คณะผู้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประพาสพระนครคีรี เมืองเพชรบุรี

(แถวหน้า)
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(แถวที่สอง)
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
๓. หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่ (ประทับนั่งบนรถ พระหัตถ์จับคันโยก)
(แถวที่สาม)
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (ประทับนั่งบนรถ ทรงเท้าคางกับพนักพิง)




รถยนต์ของเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) จอดอยู่หน้าร้านถ่ายรูป ฉายานรสิงห์



พิธีเปิดการเดินรถรางด้วยไฟฟ้าสายหนึ่งในพระนครฯ สมัยรัชกาลที่ ๕






สะพานรถไฟ แถบมณฑลอีสาน



มิสเตอร์ รุสโซ เรสิตังค์ ณ เมืองกำปอด ของฝรั่งเศส ส่งมอบหนังสือสัญญาคืนเมืองตราดให้แก่สยาม มีพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ, คนนั่งขวา) เป็นผู้แทนรัฐบาลสยามรับมอบหน้าศาลากลางเมืองตราด เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๐



ราษฎรเมืองนครชัยศรี เฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะพระปฐมเจดีย์



พระบรมวงศ์และข้าราชการในขบวนรถไฟจากสถานีจิตรลดาไปถึงสถานีบางปะอิน เพื่อไปร่วมงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี พุทธศักราช ๒๔๔๗



สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พร้อมด้วยพระราชชายา พระเจ้าลูกเธอ เจ้าจอมมารดา พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารฝ่ายใน ทรงฉายภาพเป็นที่ระลึกในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี ณ พระราชวังบางปะอิน พุทธศักราช ๒๔๔๗



การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๙



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจารึกพระปรมาภิไธย ที่น้ำตกกะโรม เมืองนครศรีธรรมราช วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พุทธศักราช ๒๔๕๒ เสด็จทอดพระเนตการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของอำแดงหั้ว ตัณฑวณิช เมืองภูเก็ต คนงานขนดินเดินไปตามสะพานซึ่งทำเป็นคู่ไปสายหนึ่งกลับสายหนึ่ง เพื่อไม่ให้ชนกันกลางทาง



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่า ณ ค่ายหลวงบ้านไร่ เมืองราชบุรี



วัดถ้ำสุวรรณคูหา เมืองพังงา ถ้ำนี้มี ๒ ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นวิหาร มีพระพุทธรูปและพระเจดีย์ ชั้นบนมีหินงอกหินย้อยงดงาม ที่หน้าผามีจารึกอักษรพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ที่เคยเสด็จพระราชดำเนินมาหลายพระองค์ ภาพถ่ายเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๒










สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และผู้ตามเสด็จ คราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร พุทธศักราช ๒๔๔๙ ด้านหลังเป็นพระธาตุพนม เมืองนครพนม


.....
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
เลขที่ ๔ ถนนเจ้าฟ้า แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๒๘๑-๒๒๒๔
โทรสาร  : ๐๒-๒๘๒-๘๕๒๕
Website : https://www.facebook.com/TheNationalGalleryBangkok
Email : national.gallery.th@gmail.com

วันและเวลาทำการ
วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดราชการ

ค่าเข้าชม
คนไทย ๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๒๐๐ บาท
นักเรียน นักศึกษา พระภิกษุ สามเณร นักบวชในศาสนาอื่น และผู้สูงอายุ (๖๐ ปีขึ้นไป) เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารส่วนบุคคล (แท็กซี่)  เดินรถทางเดียวมีที่จอดสะดวก
ทางที่ ๑ จากบางลำภู เข้าสู่ถนนจักรพงษ์ ผ่านหน้าวัดชนะสงครามชิดขวาเข้าถนนเจ้าฟ้าแล้วเลี้ยวขาวเข้ายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
ทางที่ ๒ จากฝั่งปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ชิดซ้ายลงสะพานเข้าถนนเจ้าฟ้า ชิดขวาแล้วเลี้ยวขวาเข้ายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
ทางที่ ๓ จากสนามหลวง ผ่านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติเข้าถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา บรรจบกับทางที่ ๑ เข้าสู่ถนนจักรพงษ์ ผ่านหน้าวัดชนะสงคราม ชิดขวาเข้าถนนเจ้าฟ้าแล้วเลี้ยวขวาเข้ายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

รถโดยสารประจำทาง
รถประจำทางจากฝั่งธนบุรีข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า สาย ๓๐, ๘๐, ๑๒๓, ๙๑, ๕๐๗
รถประจำทางจากถนนพระอาทิตย์ สาย ๖, ๙, ๑๕, ๑๙, ๓๒, ๓๓, ๕๓, ๖๔, ๖๕, ๕๒๔
รถประจำทางจากถนนจักรพงษ์ สาย ๓, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๔๓, ๖๔, ๕๒๔

เรือโดยสารประจำทาง
เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าพระอาทิตย์ (N13) เดินย้อนกลับมาทางสะพานปิ่นเกล้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจ้าฟ้า เดินตรงผ่านสำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ภาค ๓ ถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

รถไฟฟ้า BTS
ลงสถานีสะพานตากสิน S6 (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ ๒ และใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร (Central Pier) ไปยังสถานีรถไฟ แล้วใช้บริการเรือข้ามฟากไปยังท่าพระอาทิตย์ (N13) เดินย้อนกลับมาทางสะพานปิ่นเกล้า จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจ้าฟ้า เดินต่อไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป



.....
ขอขอบคุณภาพและเรื่องจาก
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=morkmek&month=07-2018&date=24&group=10&gblog=130
นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก (๒)  โดย สายหมอกและก้อนเมฆ

Create Date : 24 กรกฎาคม 2561
Last Update : 24 กรกฎาคม 2561 18:24:43 น.      
Counter : 2570 Pageviews.



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.048 seconds with 21 queries.