ppsan
|
|
« Reply #1 on: 30 October 2022, 14:20:09 » |
|
ในโอกาสนี้ HELLO! จึงรวบรวมพระบรมฉายาลักษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฉายพระรูปกับหม่อมเจ้าภีศเดชอันถือเป็นมรดกแห่งความทรงจำที่ท่านภีมีต่อพระองค์มาให้ได้ชมกันเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ทรงสถิตอยู่ในดวงใจของคนไทย ตราบนิรันดร์
“จะเรียกผมว่ายังไงผมก็ไม่รู้ แต่ทรงเป็นกันเองและพระราชทานความสนิทสนม ทรงชวนผมต่อเรือ แล่นเรือหลังทรงต่อเรือเสร็จ มักรับสั่งชวนผมให้เป็นเพื่อนคุยกับพระองค์จนดึกดื่นเป็นประจำ..."
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อครั้งเสด็จฯเยี่ยมสวนส้มวังน้ำค้าง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ของคุณพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน ผู้ริเริ่มบุกเบิกปลูกส้มที่เชียงใหม่ ม.จ.ภีศเดชมีรับสั่งว่า “ในภาพพระองค์ประทับอยู่ที่ศาลาด้านนอก มีรับสั่งเรื่องโน้นเรื่องนี้หันพระพักตร์ไปทางนั้นทีทางนี้ที แล้วมีนางสนองพระโอษฐ์คนหนึ่งเสียงดังมากพูดขึ้นว่า ‘ท่านภีออกไป เขาจะฉายพระรูปพระเจ้าอยู่หัว’” พระองค์ไม่ได้มีพระราชดำรัสอะไร หากแต่ทรงดึงองค์ท่านภีไว้ไม่ให้ไปไหน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตรหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ข่าวการทรงเรือของพระองค์
เมื่อปี 2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแล่นเรือใบจากชายหาดหน้าพระตำหนักไกลกังวลที่หัวหินไปฐานนาวิกโยธินที่สัตหีบ ในครั้งนั้นทรงเลือกเรือใบตามเสด็จเพียง 3 ลำ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช (พระองค์เจ้าพีระฯ) ที่พระองค์ทรงอนุโลมว่าเป็นลูกเลี้ยง แม้จะไม่ได้อยู่ในหมวดเรือใบหลวงก็ตาม ลำที่สองคือ ม.จ. ภีศเดช เพราะเคยทรงแล่นเรือใบข้ามอ่าวมาแล้วและลำสุดท้ายคือพล.ร.ต. สนอง นิศาลักษณ์ ขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน “หลังจากนั้นพระองค์ทรงส่งรูปนี้มาให้พวกเราลงชื่อแล้วก็ทูลเกล้าฯถวายคืนพระองค์แล้วก็ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยแล้วจึงพระราชทานมอบให้พวกเราทุกคน”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรวิธีติดตาต่อกิ่งพื้นเมือง ณ บ้านแม่สาใหม่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ชาวบ้านแม่สาใหม่นำเสด็จเพื่อทอดพระเนตรแปลงฝิ่น
ภาพเสด็จฯไปทรงเยี่ยมแปลงวิจัยไม้ผลเขตหนาว ณ สถานีวิจัยขุนห้วยแห้ง สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ แทบทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ต่างๆพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะทรงงานทันทีที่ทรงลงจากเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งหรือรถยนต์พระที่นั่ง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง เพื่อจะได้ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรและพระราชทานแนวทางการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที เป็นการทรงงานที่ลดขั้นตอน อันเป็นหลักการทำงานสำคัญที่ทรงทำเป็นแบบอย่างและม.จ.ภีศเดชทรงยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติงานในโครงการหลวงเสมอมา
‘ท่านภี’ หรือ ‘หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี’ ผู้ทรงเป็นหัวเรือใหญ่รับสนองพระราชดำริ ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมาทั้งชีวิต
ม.จ.ภีศเดช รัชนี ชันษาครบ 100 ปี (20 มกราคม พ.ศ. 2565)
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี (20 มกราคม พ.ศ. 2465 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) สิริชันษา 100 ปี
|