ppsan
|
|
« on: 31 August 2022, 20:58:03 » |
|
ณ น่าน [3] วัดอรัญญาวาส, วัดมิ่งเมือง โดย สายหมอกและก้อนเมฆ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=25-11-2020&group=19&gblog=249
ณ น่าน ~~~~ วัดอรัญญาวาส, วัดมิ่งเมือง
น่าน 10 - 15 ตุลาคม 2563
วันที่ 2 ของทริป (11 ตุลาคม 2563) ยังอยู่ในโปรแกรมนั่งรถรางเที่ยวนะคะ
ครั้งก่อน เรานั่งรถรางเที่ยว ออกจากโฮงเจ้าฟองคำ ไปต่อที่วัดสวนตาล รอบนี้ไปวัดอรัญญาวาส...เพิ่งเคยมาครั้งแรกค่ะ
พระพุทธรูปที่แกะจากไม้พญางิ้วดำ
ไม้พระยางิ้วดำ ไม้พญางิ้วดำ ไม้งิ้วดำ เรียกได้ 3 ชื่อ แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกไม้พญางิ้วดำ คือพญาของไม้งิ้ว ต้นงิ้ว พญาของต้นงิ้ว คือไม้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของบรรดาต้นงิ้ว ไม้นางพญา ที่เรียกกันเป็นนางพญา เพราะว่าไม้ออกเป็นสีดำ การดูไม้พญางิ้วดำ ไม้พระยางิ้วดำ ไม้งิ้วดำ ตัวไม้จะออกสีดำทั้งหมด หากมีแซมไม้ ลายไม้ จะต้องออกเป็นสีชมพู
ไม้งิ้วดำนั้นเป็นที่รู้จักดีในตระกูลของไม้มงคลซึ่งพญาไม้งิ้วดำเป็นพญาแห่งไม้ ไม้งิ้วดำคือไม้ที่ความศักดิ์สิทธิ์มงคลในตัว เชื่อว่าไม้งิ้วดำนั้นจักนำพาความร่ำรวย โชคลาภ และชัยชนะมาแก่ผู้ที่บูชา ต้นไม้งิ้วดำนั้นเป็นต้นไม้มงคลตัวไม้งิ้วดำจะถูกนำมาเป็นวัตถุมงคลต่าง ๆ
ความเชื่อ ไม้พระยางิ้วดำ ไม้พญางิ้วดำ ไม้งิ้วดำ ตามความเชื่อของเรื่องลึกลับ ไสยศาสตร์ คนเล่นของ เล่ากันว่า ต้นงิ้วดำเป็นต้นไม้วิเศษมีเทพธิดารักษา ต้นไม้งิ้วดำไม้พญางิ้วดำนี้จะเกิดยืนต้นอยู่ในป่าลึกโดยเฉพาะป่าที่มีอาถรรพ์เร้นลับยากที่มนุษย์จะเข้าไปถึงได้ง่าย ๆ เนื้อไม้มีสีดำสนิทแข็งแกร่งมาก
โบราณจารย์เล่าว่าหลายร้อยปีจึงจะเกิดมีขึ้นสักต้นหนึ่ง จัดเป็นของศักดิ์สิทธิ์มหาวิเศษชั้นดีชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อถึงเวลาอันควรเทพาอารักษ์ที่ปกปักรักษาดูแลจะพลีต้นยืนตายพรายทิ้งไว้ให้เพื่อรอผู้มีบุญญาบารมีนำไปทำประโยชน์เพื่อพระศาสนายิ่งหากกลายสภาพเป็นหิน (คด) เมื่อใดก็ยิ่งมีพลังอานุภาพแรงกล้าเป็นทวีคูณ
ไม้พญางิ้วดำนั้นเป็นเหมือนดั่งต้นไม้ที่เหล่าเทวดาได้ประทานลงมาให้ ทำให้ต้นพญางิ้วดำนั้นมีความผิดปกติกลายเป็นสีดำทั้งต้น จนถูกเรียกว่าไม้พญางิ้วดำ มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองอย่างมาก ใครที่บูชาอยู่อย่างศรัทธา ไม้พญางิ้วดำจะทำให้เกิดสำเร็จในทุกความปรารถนาที่เป็นสิ่งดี นำพาแต่ความเจริญความโชคดีมาให้ผู้ครอบครอง ดีเด่นทางมหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด โชคลาภ เมตตามหานิยม ป้องกันคุณไสยมนต์ดำได้สารพัด เหมาะสำหรับทำลูกประคำคล้องคอ มีดหมอ ดาบ ไว้สำหรับล้างอาถรรพ์ มนต์ดำต่าง ๆ ดีนัก หรือเอาไว้ปราบผี วิญญาณร้ายเข้าสิงสู่คนได้ชงักนักแล
พระพุทธรูปแกะสลักทั้งองค์เล็ก องค์ใหญ่ เยอะไปหมด
รถรางที่เรานั่งมา มัคคุเทศก์นั่งด้านหน้า
10.22 น. ระหว่างทางนั่งรถรางกลับ
นราดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ห้างท้องถิ่นเมืองน่าน
ย่านธนาคาร
โรงแรมพูคาน่านฟ้า
พูคา คือชื่อของราชวงศ์แรกของอาณาจักรน่าน เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ซึ่งก่อตั้งโดยพระญาพูคา ดังที่เล่าขานกันมาในพงศาวดาร ราชวงศ์พูคาปกครองบ้านเมืองให้เป็นรัฐลานนาอิสระที่เจริญรุ่งเรืองถึง 200 ปี ชื่อ “พูคา” นั้นจึงสะท้อนความยิ่งใหญ่ของเมืองน่านในโบราณกาล และเห็นเป็นมงคลที่จะอัญเชิญมาประกอบในการตั้งชื่อโรงแรมไม้ที่ยิ่งใหญ่ของ ลานนาตะวันออกนี้
การปรับปรุงโรงแรมใน พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์ที่จะใส่ระบบอำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ ที่โรงแรมสมัยใหม่พึงจะมี หากคงรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมเดิมเอาไว้ทั้งหมด รวมทั้งการใช้ไม้ใหม่มาทดแทนไม้เดิมที่หมดสภาพไป การตกแต่งทั้งภายนอกและภายใน เป็นไปด้วยวิญญาณแห่งความเรียบง่ายสวยหวานสราญตาสราญใจ ของลานนาตะวันออกในอดีตอันไกลโพ้น เพื่อให้ได้สิ่งปลูกสร้างที่จะคงเป็นขวัญ และเป็นความภูมิใจ ของชาวเมืองน่าน อีกทั้งเป็นการประกาศให้รู้ถึงความงดงามและความสง่างามของวัฒนธรรม ที่จะดึงดูดผู้คนจากทั่วทิศ ให้ได้มาต้องสะกดด้วย
วัดกู่คำ
รถรางมาจอดที่เดิมค่ะ หน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตรงข้ามวัดภูมินทร์ / ซุ้มลีลาวดี
โบราณสถานวัดน้อย หรือ วัดน้อย เป็นวัดขนาดเล็กที่สุดในจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ใต้ต้นโพธิ์ มีตำนานเล่าขานกันมาว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ได้กราบบังคมทูลถึงจำนวนวัดในเมืองน่านต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่ปรากฏว่านับจำนวนเกินไป 1 วัด จึงได้สร้างวัดน้อยแห่งนี้ โดยให้ช่างพื้นเมืองน่านก่อสร้างวัดตรงโคนต้นโพธิ์หน้าหอคำหรือวังที่พระองค์ประทับ (หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมืองน่าน ในปัจจุบัน) ขึ้นมา เพื่อให้ครบตามจำนวนที่กราบทูล พระองค์เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5 เพียงครั้งเดียวใน พ.ศ. 2416 วัดน้อยคงสร้างหลังจากนั้น
รูปทรงของวัด เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง 1.98 เมตร ยาว 2.34 เมตร สูง 3.35 เมตร แบบศิลปะล้านนา สกุลช่างน่าน มีพระพุทธรูปและแผงพระพิมพ์ไม้ประดิษฐานอยู่ภายในวัดน้อยแห่งนี้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงให้วัดน้อยเป็นอันซีนไทยแลนด์ (Unseen Thailand) ด้วย
พักสายตาด้วยบัวเนาะ
ซุ้มลีลาวดี มุมนี้ มองเห็นพระธาตุช้างค้ำ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ตั้งอยู่ใจกลางเมืองน่านใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น หอคำ ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาใน พ.ศ. 2517 และประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศ ขณะนั้น) ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530
อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นบุตรของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชและแม่เจ้าสุนันทา ประสูติในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีเถาะ จุลศักราช 1193 พุทธศักราช 2374 ในรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระยาราชวงษ์ ถึงรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นว่าที่เจ้าอุปราช นครน่าน พ.ศ. 2436 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน พ.ศ. 2446 ได้รับพระราชทานสุพรรณบัตรเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 5 เมษายน2461 เวลา 04.50 น. สมัยรัชกาลที่ 6 พระชนมายุ 87 พรรษา ครองนครน่าน 25 ปีเศษ
หน้าบันทั้ง 3 ด้าน ประดับลายไม้ฉลุเป็นลายพญานาค 2 ตัว ล้อมรอบตราโคอุศุภราชตรงกลาง อันเป็นตราประจำเมืองนครน่าน
เคยเข้าไปเยี่ยมชมด้านในแล้ว วันนี้ไม่ได้เข้าไปนะคะ เดินวนรอบ ๆ
ลองถ่ายด้วยเลนส์อัลตร้าไวด์ จากโทรศัพท์
เก็บภาพเป็นที่ระลึก
ต้นโพธิ์
ซุ้มลีลาวดี
10.43 น. มุมถ่ายรูปมหาชน คนเยอะแล้วค่ะ
มากินมื้อกลางวัน ที่ร้านเฮือนฮอม คนเยอะเลยค่ะ รสชาติอาหารพอใช้ได้ การบริการก็ตามประสา ลูกค้าเยอะเนาะ
ค่าใช้จ่ายมื้อนี้ กินกัน 2 คนค่ะ
ร้านข้าวซอยต้นน้ำ มา 3 รอบแล้ว ยังไม่เคยได้ชิมเลยค่ะ คนเยอะแบบนี้ตลอด
อิ่มแล้ว...จุดหมายต่อไป วัดมิ่งเมืองค่ะ
วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน (ตรงข้ามโรงเรียนราชานุบาล อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน) เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน
วัดมิ่งเมือง เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัด ใหม่ ตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง
ต่อมาปี พ.ศ. 2527 ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทำให้อุโบสถชำรุดทรุดโทรมลง พระครูสิริธรรมภาณี (เสน่ห์ ฐานสิริ) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองร่วมกับชาวบ้านคุ้มวัดมิ่งเมือง ได้ทำการรื้อถอนและสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยแบบในปัจจุบัน พร้อมทั้งอัญเชิญพระประธานองค์เดิมมาประดิษฐานไว้ สำหรับตัวอุโบสถหลังใหม่นี้พระครูสิริธรรมภาณีเป็นผู้ออกแบบตามจินตนาการ เป็นอุโบสถล้านนาร่วมสมัย ก่อสร้างตัวอาคารด้วยฝีมือสล่าพื้นบ้านเมืองน่าน ลวดลายปูนปั้นอันวิจิตรอลังการเป็นฝีมือของ สล่าเสาร์แก้ว เลาดี สกุลช่างเชียงแสนโบราณ ส่วนภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถเป็นภาพตำนานประวัติความเป็นมาของเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่สมัยพญาภูคาเจ้าเมืองน่านองค์ปฐมตั้งอยู่เมือง ณ เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปัว) มาจนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย โดยคุณสุรเดช กาละเสน จิตรกรพื้นบ้านเมืองน่าน เฉพาะงานประติมากรรมปูนปั้นใช้เวลาประมาณ 5 ปี และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2540 ใช้เวลาสร้างรวม 12 ปี
.......... ความเดิม
ณ น่าน ~~~~ วัดภูมินทร์ ณ น่าน ~~~~ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร, โฮงเจ้าฟองคำ
Create Date : 25 พฤศจิกายน 2563 Last Update : 25 พฤศจิกายน 2563 19:03:25 น. Counter : 2163 Pageviews.
.......... ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจาก... https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=25-11-2020&group=19&gblog=249 ณ น่าน ~~~~ วัดอรัญญาวาส, วัดมิ่งเมือง
|