ppsan
|
|
« on: 27 August 2022, 15:32:14 » |
|
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช [3]
โอม สิโนราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรู วินาศสันติ "ไม่มีงานไหนต่ำ ถ้าทำด้วยใจสูง" ขอให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุขความเจริญ
...
ข้ามลำน้ำบางปะกง มุ่งสู่ หัวเมืองชายทะเล " พานทอง " กองทัพพระยาตาก พร้อมเหล่าทหาร หลังปะทะกับข้าศึกที่ปากน้ำโจ้โล้บางคล้า จนทำให้ข้าศึกถอยทัพกลับ ก็มุ่งหน้าสู่หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ชื่อเสียงเลื่องลือ ระบือนาม ไปทุกหย่อมหญ้า ถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว คนไทยเริ่มมีความหวัง จากข่าวกรุงแตก ตามเส้นทางเดินทัพ พานทอง บางปลาสร้อย เริ่มมีชาวบ้าน ผู้กล้า อาสา เข้าร่วมสมทบช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้เริ่มเห็นความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ด้วยจุดประสงค์มุ่งหมายเดียวกัน คือการกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดโป่งตามุข อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
...
ค่ายโคกกระต่าย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2317 จ.ราชบุรี
...
#เหตุการณ์พุทธศักราช ๒๓๑๗ ยกทัพขึ้นมาตีเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒
คราวนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประทับที่เชียงใหม่ ๗ วัน พงศาวดารระบุว่าพระองค์เสด็จไปนมัสการพระพุทธปฏิมากร วัดพระสิหิงค์ (หมายถึงพระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์) ในวันพุธ เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ เพลาเช้า
จากนั้นจึงเสด็จกลับไปลำพูน ทรงแต่งตั้งให้พระญาจ่าบ้านขึ้นเป็นพระญาวชิรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้พระญาวชิรปราการทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย #เชียงใหม่ #วัดพระสิงห์
...
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระวีรกรรม ที่ทรงยกทัพเรือขึ้นไปปราบก๊กพิษณุโลก แต่ถูกหลวงโกษา ดักซุ่มยิง ที่เกยไชย นครสวรรค์ จนกระสุนปืนได้ถูกพระชงฆ์ (แข้ง) พระโลหิตของพระมหากษัตริย์ไทยได้หลั่งลงสู่แม่น้ำน่านแห่งนี้ #อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
...
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า “ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด” — พระยาตาก
...
" ถึงกำศึกรวมแผ่นดินไม่ลดละ ศาสนาต้องดำรงอยู่ " #การรวบรวมพระไตรปิฎก หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ 7 เมษายน 2310 วัดวาอารามบ้านเมืองถูกพม่าเผา พระคัมภีร์ พระไตรปิฎก และตำราต่าง ๆ ก็ถูกเผาและสูญหายเป็นอันมาก หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ก็โปรดให้สืบเสาะแสวงหาพระไตรปิฎกตามหัวเมืองต่าง ๆ แล้วนำมาคัดลอกไว้เพื่อชำระพระไตรปิฎกต่อไป อาทิ ในครั้งเมื่อยกทัพไปปราบชุมนุมนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2312 เมื่อเสร็จศึกแล้วก็โปรดให้ยืมพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกลงเรือเพื่อนำมาคัดลอกเก็บไว้ ณ กรุงธนบุรี และในครั้งที่ยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313 ก็โปรดให้นำพระไตรปิฎกจากวัดมหาธาตุ เมืองฝาง อุตรดิตถ์ เพื่อใช้ในการสอบทานกับต้นฉบับที่ได้มาจากนครศรีธรรมราช
...
การมีพระวิสัยทัศน์ การมองเห็นภาพอนาคต
พระยาตากในขณะนั้นได้ประเมินคาดสถานการณ์ ผู้คน กำลัง และภาวะศัตรูที่ล้อมพระนครอยู่ อย่างหนาแน่น ประกอบกับเห็นความอ่อนแอของแม่ทัพนายกอง จึงได้มองเห็นภาพที่กรุงศรีอยุธยาต้องเสียทีแก่พม่าแน่นอน การคิดอ่านหาทางกู้ชาติในภายหลังน่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า
ตามบันทึกในพงศาวดารระบุ ความว่า
…พระยาวชิปราการถูกภาคทัณฑ์ เนื่องจากมีหมายสั่งว่า ถ้ากองไหนจะยิงปืน ใหญ่ ต้องขออนุญาตที่ศาลาลูกขุนก่อน พระยาวชิรปราการรู้สึกเศร้าสลดใจ ศัตรูหรือก็บุกโหม โจมตีอย่างหนักหน่วง นักรบไทยสู้รบข้าศึกมาตลอด ต่างมี อาการอิดโรยเนื่องจากขาดเสบียงอาหาร ทหารบางคนยืนคอตก บางคนก้มหน้านิ่ง บางคนล้มลงนอนด้วยความอ่อนเพลีย พระยาวชิรปราการยืนเหม่อมองไป ข้างหน้าอย่างครุ่นคิด ชีวิตของเพื่อนร่วมชาติล้มตายร่อยหรอลงไปทุกวัน สภาพของนักรบร่วมใจที่เหลืออยู่เพียงหยิบมือเดียว กรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกปิดล้อมเอาไว้โดยรอบ แม้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศจะขอเลิกราหย่าศึก ฝ่ายพม่าก็หาได้ยินยอมตามพระประสงค์ไม่ พม่าต้องการตีกรุงศรีอยุธยาให้แตก และริบเอาทรัพย์ สมบัติกวาดต้อนผู้คนไปเมืองพม่าให้ได้..
สถานการณ์นั้นแม้มีความเสี่ยงถูกกล่าวหาว่าหนีทัพ แต่ท้ายสุดกลับกลายเป็นผลดีต่อ ชาติบ้านเมืองอย่างมหาศาลในเวลาต่อมา
การตั้งวิสัยทัศน์ ที่มองการณ์ไกล ข้ามเหตุการณ์วิกฤต แล้วมองภาพว่าหลังวิกฤติแล้วนั้นท่านน่าจะช่วยเหลือชาติได้มากกว่า
นับเป็นวิสัยทัศน์ที่ยากจะหาคนธรรมดาจะมองเห็น แต่ด้วยความเจนศึกที่ผ่านการรบมาหลายครั้งประเมินสถานการณ์ “นาย” ที่เป็นหัวหน้าบัญชาการรบในตอนนั้นดูท่าไม่มีทางที่จะเอาชนะพม่าได้เลย และเวลาก็จวนเจียนเต็มทีแล้ว เพราะพม่าส่งกำลังเสริมมาอย่างต่อเนื่อง
...
28 ธันวาคม วันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี นับเป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (วันที่ 28 ธันวาคม 2310) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีเพียงพระองค์เดียว และในปี พ.ศ. 2562 ครบ 252 ปี แห่งการสถาปนากรุงธนบุรี ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่ออาณาประชาราษฎร์และชาติบ้านเมืองเป็นอเนกประการ ภาพ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ ค่ายตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
...
#ก่อนจะถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2562 นี่คือเรื่องราวพระวีรกรรมประวัติศาสตร์ เมื่อ 252 ปี ที่ทรงได้รบทัพจับศึกด้วยพระองค์เอง ร่วมกับเหล่าแม่ทัพนายกอง
1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ.2310 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ.2313 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งแรก พ.ศ.2313 - 2314 4 พม่าตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1 พ.ศ.2315 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ.2316 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317 7 รบพม่าที่บางแก้ว เมืองราชบุรี พ.ศ.2317 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2318
...
#การไม่รอให้จำนนต่อสถานการณ์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไม่ทรงรอให้กรุงแตกก่อน แต่ตัดสินใจดำเนินการล่วงหน้าก่อนจะสายเกินไป : ย่อมไม่งอมืองอเท้า เมื่อสู้ไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ จำเป็นต้องหลบไปตั้งหลักก่อน แล้วค่อยหาโอกาสกลับมากู้สถานการณ์ เพราะในภาวะนั้น ระบบการบริหารบ้านเมืองพังพินาศไปก่อนเมืองจะถูกเผา เช่น การยิงปืนใหญ่ต้องขอนุญาติก่อน พระยาตากเคยยิงปืนใหญ่ไปในคราวคับขันแล้วไม่บอกก่อน กลับต้องความผิดอาญา นอกจากนั้นคนบังคับบัญชาสั่งการสูงสุดเวลานั้นไม่ได้เชี่ยวเจนศึก ในที่สุดท่านจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมข้าศึกจากค่ายหน้าวัดพิชัย เพื่อไปรวบรวมไพร่พล แล้วจึงค่อยคิดอ่านย้อนกลับมากู้ชาติแผ่นดินคืนในภายหลัง
...
" อย่าเพิ่งยอมแพ้ จุดเริ่มต้นนั้นมักจะยากที่สุดเสมอ " ภาพวาดภายในพระอุโบสถ วัดพิชัยสงคราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
...
"...บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วย กลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะมีรับสั่งด้วยแล้ว จะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น..." #มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
...
๗ เมษายน ๒๕๖๓ #ครบรอบ ๒๕๓ ปี เมื่อในอดีต ๗ เมษายน ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยา แตกครั้งที่ ๒ และเป็นการนำมาซึ่งประกาศอิสรภาพคืนกลับมาอีกครั้งในระยะเวลา ๘ เดือน ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมเหล่าทหารหาญ
" อยุธยาทุรยุคย้ำ...........ยับเยิน พินาศเพราะพม่าเกิน .......กว่าแก้ ศาสน์กษัตริย์รัฐเผชิญ .....ภัยอนาถ นักเอย ตากสินมหาราชแท้ ......ดำริฟื้น คืนนคร แปดเดือนอิสรภาพกู้ .......กลับมา ด้วยพระบรมเดชา............นุภาพ ล้น สร้างธนบุรีราชธา............นีใหม่ ทรงพระคุณล้ำพ้น............ศิรเกล้า ชาวไทย "
(ที่มา : คำโคลงที่จารึกบนแผ่นทองเหลือง ประดิษฐาน ณ ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ใน ห้องพระมหาราช ๙ พระองค์)
...
286 ปี 17 เมษายน 2563 " สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 พระราชสมภพ 17 เมษายน 2277 " ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาราชธานี ครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 ต่อจาก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่ 1 พ.ศ.2112
...
" หวังให้กุลบุตรเบื้อง อนาคต ปรากฏเกียรติศักดิ์ยศ ปิ่นเกล้า ไป่ยลแต่สดับพจน์ ราวเรื่อง สนองนา ก็จะสาธุการเช้า ค่ำชี้ชมผล "
17 เมษายน 2563 วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ของนายสวน มหาดเล็ก
...
พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ค่ายจีนบางกุ้ง จ. สมุทรสงคราม
...
...
การมีพระวิสัยทัศน์ การมองเห็นภาพอนาคต
พระยาตากในขณะนั้นได้ประเมินคาดสถานการณ์ ผู้คน กำลัง และภาวะศัตรูที่ล้อมพระนครอยู่ อย่างหนาแน่น ประกอบกับเห็นความอ่อนแอของแม่ทัพนายกอง จึงได้มองเห็นภาพที่กรุงศรีอยุธยาต้องเสียทีแก่พม่าแน่นอน การคิดอ่านหาทางกู้ชาติในภายหลังน่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า : ตามบันทึกในพงศาวดารระบุ ความว่า
…พระยาวชิปราการถูกภาคทัณฑ์ เนื่องจากมีหมายสั่งว่า ถ้ากองไหนจะยิงปืน ใหญ่ ต้องขออนุญาตที่ศาลาลูกขุนก่อน พระยาวชิรปราการรู้สึกเศร้าสลดใจ ศัตรูหรือก็บุกโหม โจมตีอย่างหนักหน่วง นักรบไทยสู้รบข้าศึกมาตลอด ต่างมี อาการอิดโรยเนื่องจากขาดเสบียงอาหาร ทหารบางคนยืนคอตก บางคนก้มหน้านิ่ง บางคนล้มลงนอนด้วยความอ่อนเพลีย พระยาวชิรปราการยืนเหม่อมองไป ข้างหน้าอย่างครุ่นคิด ชีวิตของเพื่อนร่วมชาติล้มตายร่อยหรอลงไปทุกวัน สภาพของนักรบร่วมใจที่เหลืออยู่เพียงหยิบมือเดียว กรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกปิดล้อมเอาไว้โดยรอบ แม้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศจะขอเลิกราหย่าศึก ฝ่ายพม่าก็หาได้ยินยอมตามพระประสงค์ไม่ พม่าต้องการตีกรุงศรีอยุธยาให้แตก และริบเอาทรัพย์ สมบัติกวาดต้อนผู้คนไปเมืองพม่าให้ได้..
สถานการณ์นั้นแม้มีความเสี่ยงถูกกล่าวหาว่าหนีทัพ แต่ท้ายสุดกลับกลายเป็นผลดีต่อ ชาติบ้านเมืองอย่างมหาศาลในเวลาต่อมา
...
๖ พ.ย. ๒๓๑๐ วันชนะศึกค่ายโพธิ์สามต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก กู้กรุงศรีอยุธยา กลับมาอีกครั้ง
พระเจ้าตากได้เดินทางกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา ๓ เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ
เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลา ๗ เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา
...
เมื่อ ๒๕๓ ปี ตรงกับวันที่ ๖ พ.ย. ๒๓๑๐ วันชนะศึกค่ายโพธิ์สามต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก กู้กรุงศรีอยุธยา กลับมาอีกครั้ง
เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลา ๗ เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา
...
“รำลึกวันชนะศึก ๒๕๓ ปี " ปี ๒๕๖๓ ศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ขอเรียนเชิญผู้ศรัทธาทุกท่านร่วมพิธีรำลึกถึงวันชนะศึก คณะหอจดหมายเหตุ ฯ ร่วมคณะผู้ศรัทธาจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
“…เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลา ๗ เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา “
...
ใน “สามกรุง” กล่าวถึงการชุมพล และมุ่งเข้ากรุงศรีอยุธยาไว้ว่า……
(โคลง ๒) ปิ่นณรงค์ทรงเดชได้ ที่มั่นคั่นหนึ่งไว้
คิดแก้เผ็ดไพ รีแฮ ฯ ฝึกปรนพลเพียบพื้น จิตประจักษ์จักฟื้น เกียรติ์แคว้นแดนสยาม ฯ
♦ เดือน ๗ ถึง ๑๑ ได้ ดังประสาทสั่งให้ ซักซ้อมพร้อมเพียง ฯ
♦ มรสุมชุมทัพแกล้ว หมดฤดูคลื่นแล้ว จึ่งย้ายยาตรา พลแฮ ฯ
♦ ร้อยลำเรือรบล้วน อาวุธยุทธภัณฑ์ถ้วน ถี่แท้ทุกลำ ฯ
(โคลงดั้น) ♦ พลพยูห์หมู่ใหญ่ครั้ง คราวไหน บ้างนอ
เกลื่อนชลาลัยลือ เลื่องถ้อย ไวว่องล่องลมใน แนวน่าน นี้นา เนาประนังตั้งร้อย แล่นดา ฯ
♦ เรือรบเรือไล่แกล้ว การรบ สง่าสุดยุทธนาวา แหวกเต้า ควณคิดทิศอรณพ แนวมุ่ง ปากอ่าวแม่น้ำเจ้า พระยา ฯ
ครั้นถึง ณ เดือน ๑๑ ข้างแรม ปีกุน นพศกนั้น หลังจากตั้งข้าหลวงเดิมให้อยู่ครองเมืองจันทบูรแล้ว จึงเสด็จยาตราพลทัพเรือ ๑๐๐ ลำเศษ พล ประมาณ ๕๐๐๐ ยกจากเมืองจันทบูรมาทางทะเล
จะเห็นได้ว่ากองทัพเรืออันมีจำนวนเรือถึง ๑๐๐ ลำเศษ และจำนวนพลประมาณกว่า ๕๐๐๐ นายนั้น
นับว่าเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดของสยามเราเท่าที่เคยมีมา และเจ้าตากสินฐานะจอมทัพเรือ ก็นับได้ว่าทรงเป็นแม่ทัพเรือ คนแรกของ
สยามเราเช่นเดียวกัน #ข้อมูล ตากสินมหาราชเจ้าจอมสยาม
...
10 เมษายน 2564 พิธีอัญเชิญพระรูปกรมพระเทพามาตย์ (แม่นกเอี้ยง) จากวัดบางเดื่อ อยุธยาไปยังจันทบุรี ขึ้นประดิษฐาน ณ พระแท่นถาวร ณ อู่ต่อเรือ เสม็ดงาม จันทบุรีในเวลา ๑๐.๐๐ น. เพื่อให้ทราบว่าครั้งหนึ่งมีเรื่องราวเส้นทางความรักความกตัญญูระหว่างพระองค์กับพระมารดาในช่วงศึกสงคราม ณ จันทบุรี #ลูกกับแม่ได้พบกัน ณ เมืองจันทบูร
" ในช่วงระยะที่พระเจ้าตากสินเสด็จยับยั้งอยู่ที่เมืองจันทบูร และเตรียมการ ทำนุบำรุงทแกล้วทหาร และทำการต่อเรือรบต่าง ๆ เพี่อจะยกทัพไปทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาอยู่นี้เอง ก็เป็นในช่วงจังหวะระยะเดียวกันกับที่ นายสุดจินดา (บุญมา) น้องชายของ หลวงยกกระบัตรราชบุรี พร้อมกับพรรคพวกที่ได้หนีภัยพม่ามาจากกรุงศรีอยุธยา หลังจากเสียแก่พม่าแล้วนั้น ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองชลบุรี โดยได้พา พระมารดา แม่นกเอี้ยง ของพระเจ้าตากสินมาด้วย และพักอยู่ที่บ้านเพื่อนสนิทของตน ชื่อ จีนเรืองนั้น ก็ได้ทราบข่าวว่าพระยาตากได้ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าตากสินแล้ว และในขณะนั้นก็ได้ ยกกองทัพไปตั้งอยู่ที่ ณ เมืองจันทบูร ส่วนที่เมืองชลบุรีนั้น พระเจ้าตากสินได้ตั้งให้ข้าหลวงเดิมอยู่รักษาเมือง
จึงได้เชิญให้พระมารดาแม่นกเอี้ยง ของพระเจ้าตากสินขึ้นช้าง แล้วเดินทางต่อเพี่อไปพบ พระเจ้าตากสิน ได้ใช้เวลาเดินทางถึง ๘ วัน จึงถึงเมืองจันทบูร เนื่องจากทางนั้นเป็นหล่ม แล้วจึงปลงช้างอยู่นอกกำแพงเมือง เชิญพระมารดาของพระเจ้าตากสินให้พักอยู่นอกเมืองก่อน ส่วนตัวนายสุดจินดา (บุญมา) เอง ก็รีบเข้าเมืองเพื่อไปเฝ้าพระเจ้าตากสิน " #ข้อมูลจากตากสินมหาราชเจ้าจอมสยาม
...
" โอม สิโนราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ " การมีพระวิสัยทัศน์ การมองเห็นภาพอนาคต
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในขณะนั้นได้ประเมินคาดสถานการณ์ ผู้คน กำลัง และภาวะศัตรูที่ล้อมพระนครอยู่ อย่างหนาแน่น ประกอบกับเห็นความอ่อนแอของแม่ทัพนายกอง จึงได้มองเห็นภาพที่กรุงศรีอยุธยาต้องเสียทีแก่พม่าแน่นอน
การคิดอ่านหาทางกู้ชาติในภายหลังน่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า : ตามบันทึกในพงศาวดารระบุ ความว่า
…พระยาวชิปราการถูกภาคทัณฑ์ เนื่องจากมีหมายสั่งว่า ถ้ากองไหนจะยิงปืน ใหญ่ ต้องขออนุญาตที่ศาลาลูกขุนก่อน พระยาวชิรปราการรู้สึกเศร้าสลดใจ ศัตรูหรือก็บุกโหม โจมตีอย่างหนักหน่วง นักรบไทยสู้รบข้าศึกมาตลอด ต่างมี อาการอิดโรย เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร ทหารบางคนยืนคอตก บางคนก้มหน้านิ่ง บางคนล้มลงนอนด้วยความอ่อนเพลีย
พระยาวชิรปราการยืนเหม่อมองไป ข้างหน้าอย่างครุ่นคิด ชีวิตของเพื่อนร่วมชาติล้มตายร่อยหรอลงไปทุกวัน สภาพของนักรบร่วมใจที่เหลืออยู่เพียงหยิบมือเดียว กรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกปิดล้อมเอาไว้โดยรอบ แม้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศจะขอเลิกราหย่าศึก ฝ่ายพม่าก็หาได้ยินยอมตามพระประสงค์ไม่ พม่าต้องการตีกรุงศรีอยุธยาให้แตก และริบเอาทรัพย์ สมบัติกวาดต้อนผู้คนไปเมืองพม่าให้ได้..
สถานการณ์นั้นแม้มีความเสี่ยงถูกกล่าวหาว่าหนีทัพ แต่ท้ายสุดกลับกลายเป็นผลดีต่อ ชาติบ้านเมืองอย่างมหาศาลในเวลาต่อมา
การตั้งวิสัยทัศน์ ที่มองการณ์ไกล ข้ามเหตุการณ์วิกฤต แล้วมองภาพว่าหลังวิกฤติแล้วนั้นท่านน่าจะช่วยเหลือชาติได้มากกว่า นับเป็นวิสัยทัศน์ที่ยากจะหาคนธรรมดาจะมองเห็น แต่ด้วยความเจนศึกที่ผ่านการรบมาหลายครั้ง ประเมินสถานการณ์ “นาย” ที่เป็นหัวหน้าบัญชาการรบในตอนนั้นดูท่าไม่มีทางที่จะเอาชนะพม่าได้เลย และเวลาก็จวนเจียนเต็มทีแล้วเพราะพม่าส่งกำลังเสริมมาอย่างต่อเนื่อง
ภาพประกอบ อ.อนุสรณ์ เจตน์มงคล ข้อมูลจาก https://palungjit.org/threads/วีรกรรม-17-ประการของพระเจ้าตากสินมหาราช.248467/
...
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยึดและขับไล่ข้าศึกจากกรุงศรีอยุธยาได้ ทรงพบว่าประชาชนอดอยากผอมหิวโซทรงพระราชทานแจกข้าวสาร มีคนอดอยากอนาถามารับมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ความอดอยากมิได้มีเพียงไพร่ฟ้าพลเมือง แต่รวมถึงเหล่าทหารพลเรือนไทย จีน ที่ร่วมรบ พระองค์ถึงกับทุกข์พระทัย ทรงตรัส
“ บุคคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้ ”
|