Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
22 December 2024, 17:56:06

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618 Posts in 12,929 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  ปูชนียภิกขุ (Moderator: SATORI)  |  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)  (Read 941 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« on: 26 February 2022, 08:18:49 »

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร






.....





ภาพเขียนสีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

.....





รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ณ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี

.....











รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

.....













รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ประดิษฐานอยู่ภายในบ่อน้ำพระพุทธมนต์
วัดอินทรวิหาร (พระอารามหลวง)
แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

.....







Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #1 on: 26 February 2022, 09:08:06 »


พระคาถาบูชาองค์พระสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3จบ)
พรหมรังษี เมตตาบารมี จุติจุตัง อะระหังจุตติ นะโมพุทธายะ
นะมะพะทะ จะภะกะสะ มะอะอุ มะอะอุ มะอะอุ ภะคะวา

 

คาถาบูชาสมเด็จโต

ตั้งนะโม ๓ จบ
อิติปิโสภะคะวา พรหมรังสี นามะโต อะระหัง พุทธะโต นะโม พุทธา ยะ

สัจธรรมแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #2 on: 26 February 2022, 09:08:52 »


https://www.sanook.com/horoscope/59501/

พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐานว่า

คำภาวนาก่อนสวด
ตั้งนะโม 3 จบ >>> ที่มาของบทสวด นะโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ


พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)


พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม
ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า

ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง   ธะนะกาโม ละเภธะนัง

อัตถิกาเย กายะ ญายะ   เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท

1. ชะยาสะนากะตา พุทธา     เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง        เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา    อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง     มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง  โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว

7. กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง     ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ        อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา       นะลาเต ติละกา มะมะ.

9. เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา             ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ          อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10.ระตะนัง ปุระโต อาสิ           ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ        วาเม อังคุลิมาละกัง

11.ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ         เสสา ปาการะสัณฐิตา

12.ชินา นานาวะระสังยุตตา       สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา        พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

13.อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

14.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ       เต มะหาปุริสาสะภา.

15.อิจเจวะมันโต                     สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ                     ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ                   ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ                   ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต         จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
 
คำแปลพระคาถาชินบัญชร ทุกบท

1. พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

2. มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

3. ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

4. พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

5. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

6. มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

7. พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

8. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

9. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

10.พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

11.พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

12.อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

13.ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

14.ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

15.ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ


ที่มา , ประวัติ คาถาชินบัญชร หรือพระคาถาชินบัญชร

ชินบัญชรเป็นคาถาหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีอายุยาวนานนับร้อยปี ตั้งแต่เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะด้วยพลานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธหันมาท่องพระคาถานี้เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการป้องกันให้ตนเองนั้นพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ทั้งปวง

มีการถกเถียงกันมาเป็นระยะเวลายาวนานนับทศวรรษเกี่ยวกับเรื่องราวที่ว่า ใครที่เป็นผู้แต่ง คาถาชินบัญชร ขึ้นระหว่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม กับพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญบาลีปกรณ์รูปหนึ่งจากเชียงใหม่ ซึ่งในกรณีของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าท่านเป็นเพียงแค่ผู้นำพระ คาถาชินบัญชร มาเผยแพร่ต่อ มิได้เป็นผู้แต่งขึ้นเอง

ตามที่ได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ไปสวดพระคาถานี้ถวายองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีรับสั่งว่าถ้อยคำในบทสวดนั้นไพเราะ และได้ทรงซักถามเพิ่มเติมว่า “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงได้ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้” ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่าผู้แต่งขึ้นน่าจะเป็นพระภิกษุชาวล้านนารูปหนึ่ง อยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่อาจะเป็นยุคทอง

เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคสมัยที่มีการสนับสนุนให้พระเถระหลายร้อยรูปเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา เมื่อได้สำเร็จการศึกษาจึงมีการแข่งขันกันแต่งบาลีปกรณ์กันอย่างเอิกเกริกจนชื่อเสียงแผ่ขยายไปจนถึงพม่า กรุงศรีอยุธยา สิบสองปันา และล้านช้าง ทำให้เมืองเหล่านั้นต้องขอคัมภีร์ภาษาบาลีที่จารโดยพระภิกษุล้านนาไปศึกษาอย่างแพร่หลาย


ความหมายของชินบัญชร

ในความหมายของคำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่

จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ มาสถิตในทุกส่วนของร่างกายจนรวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมลงมาห้อมล้อมรอบตัวของผู้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรจนกระทั่งอันตรายก็ไม่สามารถหาช่องโหว่เพื่อสอดแทรกเข้ามาได้

เราได้รู้จักประวัติความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องไปกำหนดจิตใจให้สงบเพื่อเริ่มสวดภาวนาพระคาถากันแล้ว


อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรนี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดสวดมนต์ หรือภาวนาคาถาชินบัญชรอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะกิน เดิน นั่ง นอน หรือภาวนาพระคาถาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้กระทั่งตอนทำงานก็จะช่วยเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูลผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย เดินทางไปที่ได้ก็เกิดเมตตามหานิยม มีลาภผลทวี ขจัยภัยภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ

หากสวดคาถาชินบัญชรนี้ขณะทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคได้หายสิ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระคาถาที่มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณที่ว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” เมื่อเดินทางไปที่ใดๆ ให้สวด 10 จบแล้วอธิฐานก็จะสำเร็จได้สมดังใจ


สำหรับใครที่ไม่ค่อยถนัดนักในการที่จะท่องคาถาชินบัญตามตัวหนังสือ หรืออยากจะจำพระคาถานี้ให้ได้ขึ้นใจ เราก็มีคาถาชินบัญชรในรูปแบบที่เป็นวีดีโอ หรือเสียงมาฝาก เอาไว้ให้ไปนั่งฟัง พร้อมกับท่องตามกันได้ง่ายๆ เชื่อว่าหากเพื่อนๆ หมั่นฟังเป็นประจำก็จะทำให้สามารถจดจำคาถาชินบัญชรนี้ได้โดยไม่ต้องเปิดอ่านจากหนังสือสวดมนต์อีกแล้วล่ะ

จงระลึกไว้เสมอว่า บทสวด หรือพระคาถาใดๆ ซึ่งรวมถึงพระคาถาชินบัญชรก็ไม่อาจสามารถพยุงเราให้รอดพ้นจากภัยอันตราย หรือกำหนดจิตใจของเราให้สงบ แน่วแน่ได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ตัวของเรา ใจของเราเอง ยังคงต้องเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยประสานการทำงานให้การสวดภาวนาเหล่านั้นสัมฤทธิ์ผลด้วย อาจมีการนั่งสมาธิ สวดภาวนาพระคาถาต่างๆ หมั่นทำบุญ ตักบาตร และใช้ชีวิตอย่างรอบคอบ มีสติ เพียงเท่านี้ชีวิตของเราก็จะได้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

ข้อมูลบางส่วนจาก Dharma.thaiware.com และ Botkwamdee.blogspot.com


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #3 on: 26 February 2022, 09:09:57 »


https://84000.org/pray/puttajan_tro.shtml

คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พุทธมังคลคาถาถือเป็นอีกหนึ่งบทคาถาของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต
คำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น


พุทธมังคลคาถา

สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ
ปัจฉิมเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ

................................................................

คาถาบูชาพระสมเด็จ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา
 

คาถาอารธนาพระสมเด็จ
โตเสนโต วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
โตสะจิตตัง นะมามิหัง
 

คาถาสืบสร้างทางสวรรค์และนิพพาน
พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #4 on: 26 February 2022, 09:10:55 »


https://th.wikisource.org/wiki/คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์_(โต_พรหมรังสี)

คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พุทธมังคลคาถา
หรือเรียกว่า คำนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ

สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม

โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป

สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ

ปัจฉิมเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ

โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล

อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา

วันทิตา เต จะ อ้มเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา

เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน


อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง

นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง

ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง

ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ


หมายเหตุ: พุทธมังคลคาถานี้ หรือเรียกว่า คำนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ
ล้วนแต่มีฤทธิ์ทุกองค์ เป็นมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ในทางพระพุทธศาสนา เมื่อทำการสวดบูชาแล้ว ย่อมจะมีลาภผลเป็นมิ่งมงคล และปราศจากอันตราย ถ้าจะสวดแบบธรรมดาก็ได้ โดยหัวหน้ากล่าวนำ หันทะ มะยัง พุทธะมังคละคาถาโย ภะณามะเส

คาถาบูชาพระสมเด็จ
ปุตตะกาโม ลาภะ ปัตตัง ธะนะ กาเม ลาภะ ธะนัง อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา

คาถาอารธนาพระสมเด็จ
โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

คาถาสืบสร้างทางสวรรค์และนิพพาน
พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ

คาถาชินบัญชร
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและตั้งคำอธิษฐานว่า


ปัตตะกาโม ลาภะ ปัตตัง ธะนะ กาเม ลาภะ ธะนัง อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา

เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

1. ชิยาสะรากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจา สะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
4. หะทะเย เม อุนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลโน จะ วามะเก.
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วะมะโสตัตเก.
6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสันโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.
7. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
8. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเมชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตกัง ธะชังคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.
11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะ กัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.
12. ชินานานาพะละสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.
13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ
ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,454


View Profile
« Reply #5 on: 26 February 2022, 09:12:08 »


https://www.pra9wat.com/พระคาถา-บทสวด-มนต์พิธี/คาถาบูชาเสริมดวงชะตา/รวมคาถาสมเดจโต-วดระฆง/

คาถาสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม

รวมพระคาถาบูชาพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญของมหานิกาย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั่วทั้งประเทศ นอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว สมเด็จฯ ท่านยังมีชื่อเสียงด้านวิชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาแลกเปลี่ยนในตลาดพระต่อองค์เป็นหลักล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและวิชาคาถาอาคมของสมเด็จฯ ท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

นอกจากพระสมเด็จฯที่มีชื่อเสียงแล้ว สมเด็จฯ ท่านยังมีวิชา คาถาอาคม บทสวด ที่ตกทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน อย่างเช่น บทสวดคาถาชินบัญชร และบทสวดอื่นๆ อีกมากมาย และที่ไม่ควรลืมคือ คาถาบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

คาถาบูชาสมเด็จ (โต)
(นะโม 3 จบ)

โอมศรีศรี พรหมรังสี
นามะเตโช มหาสัมมะโณ
มหาปัญโญ มหาลาโภ
มหายะโส สัพพะสิทธิ
ภะวันตุเม นะโม โพธิสัตโต พรหมรังสี

สวด 3 จบ ตั้งจิตอธิษฐานขอพรเทอญ



คาถาบูชาพระสมเด็จฯ วัดระฆัง

ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ใช้สวดภาวนา บูชาพระสมเด็จฯ เมตตามหานิยม ประเสริฐนัก (คาถาบูชาบทนี้สามารถใช้ภาวนาบูชาพระสมเด็จได้ทุกวัด)



คาถาอารธนาพระสมเด็จฯ วัดระฆัง

โตเสนโต วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
โตสะจิตตัง นะมามิหัง

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



คาถาสืบสร้างทางสวรรค์และนิพพาน

พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง
อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



พระคาถาพุทธมังคลคาถา ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหฺมรํสี
สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อิสาเณปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน ฯ
อิจเจวะมัจจัน ตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย



พระคาถาชินบัญชร (แบบย่อ)

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ
ปะ ริต ตัง มัง
รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา

(สวด 9 จบ) พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



พระคาถาชินบัญชร (แบบเต็ม)

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

ชะยาสะนากะตา พุทธา
เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
เย ปิวิงสุ นะราสะภา

ตัณหังกะราทะโย พุทธา
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง
มัตถะเกเต มุนิสสะรา

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง
อุเร สัพพะคุณากะโร

หะทะเย เม อะนุรุทโธ
สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง
โมคคัลลาโน จะ วามะเก

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม
อุภาสุง วามะโสตะเก

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง
สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน
โสภิโต มุนิปุงคะโว

กุมาระกัสสโป เถโร
มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
ปะติฏฐาสิคุณากะโร

ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ
อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา
นะลาเต ติละกา มะมะ

เสสาสีติ มะหาเถรา
วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา
ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ
อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

ระตะนัง ปุระโต อาสิ
ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ
วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ
อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ
เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา
สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา
พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา

อะเสสา วินะยัง ยันตุ
อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ
เต มะหาปุริสาสะภา

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม คำแปล และประวัติพระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



คำกล่าวขออโหสิกรรม ขอขมาโทษ (กรรมชั่ว)
บทสวดอธิษฐาน ขอขมาโทษจากการกระทำกรรมชั่ว คำกล่าวขออโหสิกรรม ถอนความอาฆาต พยาบาท ทุกภพ ชาติ จากท่านขรัวโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

“กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง

สัญจิจจะกัมมัง อะสัญจิจะกัมมัง

ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม.”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:

เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)
เว็บไซต์วิกิซอร์ซ (th.wikisource.org)



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.097 seconds with 20 queries.