User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
23 December 2024, 03:17:00
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,618
Posts in
12,929
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
ภาพประทับใจ
|
ผนังเก่าเล่าเรื่อง
(Moderator:
ผนังเก่าเล่าเรื่อง
) |
ภาพเก่า หาชมยาก
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
[
1
]
Author
Topic: ภาพเก่า หาชมยาก (Read 705 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
ภาพเก่า หาชมยาก
«
on:
25 January 2022, 21:49:37 »
ภาพเก่า หาชมยาก
วันนี้มีภาพเก่าๆ มาให้ชมครับ เป็นภาพตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
นำมาจากหนังสือ "สมุดภาพเมืองไทย" เล่ม 1 - 3 โดยเอนก นาวิกมูล
ชาวสงขลามารับเสด็จรัชกาลที่ 5 หน้าประตูเมืองแห่งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2448
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอนก เชื่อว่าถ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2448
เห็นหอนาฬิกา ซึ่ง เอนก นาวิกมูล ตีความจากเรื่องนาฬิกาได้ว่า ตั้งอยู่หน้าหอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ตรงสนามหญ้าหน้าวัดพระแก้ว) อยู่ระหว่างทิมดาบกับโรงทอง ข้างบนทำอย่างหลังคาตัด มีลูกกรง
ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 25 กล่าวว่า รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นสกุล ชุมสาย) คิดแบบ เป็นหอสูง 10 วา มีนาฬิกาทั้ง 4 ด้าน รื้อเสียเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5
ภาพจากหนังสือ Ein Welt-und Forschungsreisender mit der Kamera 1844-1920 ภาษาเยอรมัน
รวบรวมผลงานถ่ายภาพของ วิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ (Wilhelm Burger) ซึ่งเข้ามาเมืองไทยพร้อมคณะฑูตเมื่อ พ.ศ.2412
ท้องพระโรงในรัชกาลที่ 4 ในพระที่นั่งอนันตสมาคม (รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ หลังพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ รื้อหมดแล้วเมื่อกลางสมัยรัชกาลที่ 5)
ภาพจากหนังสือ Ein Welt-und Forschungsreisender mit der Kamera 1844-1920 ภาษาเยอรมัน
รวบรวมผลงานถ่ายภาพของ วิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ (Wilhelm Burger) ซึ่งเข้ามาเมืองไทยพร้อมคณะฑูตเมื่อ พ.ศ.2412
ทหารรักษาพระองค์ กรุงเทพฯ
ภาพจากหนังสือ Ein Welt-und Forschungsreisender mit der Kamera 1844-1920 ภาษาเยอรมัน
รวบรวมผลงานถ่ายภาพของ วิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ (Wilhelm Burger) ซึ่งเข้ามาเมืองไทยพร้อมคณะฑูตเมื่อ พ.ศ.2412
ภาพนี้ยังต้องสืบสวนกันต่อไปอีกว่าเป็นฝีมือของเบอร์เกอร์ หรือนายจิตร จิตราคนี (ขุนสุนทรสารทิศลักษณ์ ภายหลังเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร) เพราะผู้เขียน (เอนก) พบว่าฉากหลังในภาพเป็นฉากของร้านนายจิตร
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ภาพนี้ เบอร์เกอร์อาศัยสตูดิโอของนายจิตรถ่าย
คลองแห่งหนึ่งในบางกอก
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่มีหลักฐานว่าเป็นคลองสายไหนแน่ ยังต้องค้นคว้าต่อไป เข้าใจว่าถ่ายเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 แสดงความเป็นชุมชนริมน้ำ และลักษณะเรือนไทย เรือไทย
ราษฎรมาคอยเฝ้าที่ลำน้ำหัวเกาะ ตรงวัดชุมพลนิกายาราม บางปะอิน จังหวัดอยุธยา
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ภ.003 หวญ 8-12
หมายถึงราษฎรมาคอยเฝ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่หัวเกาะบางปะอิน ตรงข้ามวัดชุมพลนิกายาราม เข้าใจว่าถ่ายช่วง พ.ศ. 2440-2450
เริ่มนาขวัญที่หน้าพระราชวัง พญาไท พ.ศ. 2451
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เข้าใจว่าถ่ายคราวที่ ร.5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธี จรดพระนังคัลเริ่มนาขวัญ (คล้ายพระราชพิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ) ขึ้นที่พระราชวังพญาไท เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2451
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2489
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ถ่ายโดยปีเตอร์ วิลเลี่ยมส์ ฮันท์ (หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2) ช่างภาพประจำกองทัพอากาศอังกฤษ พ.ศ. 2489 จุดประสงค์ของการถ่ายภาพกรุงเทพฯ และประเทศไทยอย่างละเอียดครั้งนั้น เพื่อสำรวจพื้นที่เกษตรกรรมของไทยว่าจะสามารถชดใช้ข้าวเป็นค่าปฏิกรรมสงครามได้มากน้อยเพียงไร (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 เป็นอนุสรณ์แก่ผู้พลีชีพเพื่อชาติในกรณีพิพาทกับอินโดจีนของฝรั่งเศส
ด้านซ้ายแลเห็นถนนราชวิถี (มุ่งไปทางทิศตะวันตก) ถนนด้านขวาบนคือทางหลวงแผ่นดินสายเหนือหรือถนนพหลโยธิน ขวาล่างคือถนนราชวิถีด้านไปดินแดง
สกุณวัน (เก๋งกรงนก) ริมพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อน พ.ศ. 2411 แต่ไม่ทราบปีใดแน่
สกุณวันเป็นกรงนก มีเก๋งจีน 4 หลัง ตั้งอยู่โดยรอบ จึงรวมเรียกว่า เก๋งสกุณวัน เคยเป็นที่รัชกาลที่ 4 เสด็จออกว่าราชการและให้ขุนนางเข้าเฝ้า รื้อหมดแล้ว กลายเป็นสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ทางเข้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ภาพนี้ได้พบกระจกต้นฉบับฝีมือหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแล้ว
พระที่นั่งอนันตสมาคมอยู่ในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระอภิเนาว์นิเวศน์เป็นพระราชมณเฑียรที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นใหม่ในพระบรมมหาราชวัง เริ่มสร้าง พ.ศ. 2396 เฉลิมพระราชมณเฑียร (ถ้าเป็นอย่างชาวบ้านก็คือขึ้นบ้านใหม่) เมื่อ พ.ศ. 2402
พระอภิเนาว์นิเวศน์ประกอบด้วยพระที่นั่งหลายองค์ สร้างอย่างตะวันตก พระที่นั่งอนันตสมาคมมีท้องพระโรงใหญ่ ใช้เป็นที่เสด็จออกรับแขกเมืองต่างประเทศ
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
Re: ภาพเก่า หาชมยาก
«
Reply #1 on:
25 January 2022, 21:51:48 »
พระที่นั่งภูวดลทัศไนย (หอนาฬิกา) ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หีบผลงานของหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)
ทางซ้ายสุดคือพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ถัดมาคือประตูเทวาพิทักษ์ กับพระที่นั่งภูวดลทัศไนย สูง 5 ชั้น มีนาฬิกา 4 ด้าน ส่วนทางขวาสุดคือป้อมสิงขรขัณฑ์
หลังคาพระที่นั่งอภิเนาวนิเวศน์ ถ่ายจากพระที่นั่งภูวดลทัศไนย (แลเห็นโครงปราสาทแถวนอก)
แลเห็นวิหารพระนอน วัดพระเชตุพนตรงมุมซ้ายบนและถัดไปทางขวาเป็นพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ซึ่งอยู่ทางฟากธนบุรี
โรงกระสาปน์ (อยู่ตรงมุมบริเวณมหาปราสาท) รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับทำเงินเหรียญขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ (ที่ทำเงินพดด้วงแต่ก่อน) ตรงมุมถนนออกประตูสุวรรณบริบาลข้างตะวันตก พระราชทานนามว่า โรงกระสาปน์สิทธิการ เริ่มทำการตั้งแต่ปีจอ พ.ศ. 2405 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โรงกระสาปน์เล็กไปไม่พอแก่การ จึงสร้างโรงกระสาปน์ใหม่ข้างประตูด้านตะวันออก ส่วนโรงกระสาปน์เก่าใช้เป็นโรงหมอกับคลังทหาร กระทั่ง พ.ศ.2440 เกิดไฟไหม้ตึกโรงกระสาปน์เก่าหมดทั้งหลัง จึงแก้ไขซ่อมแซมเป็นคลังชาวที่
รูปท้องสนามไชย ถ่ายจากหอกลอง หอกลองอยู่ในสวนเจ้าเขต ที่กลายเป็นกรมการรักษาดินแดนในปัจจุบันนี้ ภาพนี้ถ่ายขึ้นไปทางทิศเหนือ แลเห็นป้อมและกำแพงพระบรมมหาราชวังทางซ้าย ถัดมาเป็นถนนสนามชัย สนาม ตึกแบบฝรั่ง และเรือนไทยต่าง ๆ
ท่าราชวรดิฐ (ถ่ายในรัชกาลที่ 5 แต่พระที่นั่งของเดิมยังอยู่บริบูรณ์) ซ้ายสุดเห็นหอนาฬิกาเพียงราง ๆ ถัดมาทางขวาเป็นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ยอดเดียว) กับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (3 ยอด)
วัดประทุมวันในรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพร้อม ๆ กับที่ให้สร้างสระบัวหรือปทุมวันสำหรับเสด็จประพาส (ปัจจุบันบริเวณสระบัวกลายเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซนเตอร์หมดแล้ว)
ตึกแถวถนนเจริญกรุงและหอกลอง ถ่ายจากพระที่นั่งภูวดลทัศไนย
ตึกแถวถนนเจริญกรุงคือที่เห็นเป็นตึกขาวยาว ๆ มีหน้าต่างเจาะเป็นแถวบริเวณกลางภาพ ถัดไปเป็นหอกลอง ถนนเจริญกรุงตอนนี้ทำใหม่โดยขยายทางเดิมบ้าง ตัดใหม่บ้างเมื่อ พ.ศ. 2405 เพราะฉะนั้นภาพนี้จึงควรถ่ายหลัง พ.ศ.2405 และก่อน พ.ศ. 2411 ที่รัชกาลที่ 4 สวรรคต
พระราชมณเฑียรพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี สร้างในพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเหตุปรารภในรัฐบาลสมัยรัชกาลที่ 4 ว่าหากเกิดเป็นอริกับฝรั่ง กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทางที่เรือรบขึ้นมาถึงได้ ควรมีราชธานีที่มั่นอีกแห่งหนึ่ง ทีแรกมีการเลือกนครราชสีมา และมีการสำรวจ เมื่อ พ.ศ. 2399 แต่การไปมาไม่สะดวก รัชกาลที่ 4 จึงทรงเลือกพระราชวังเดิมที่ลพบุรีแทน
พระนครคีรีบนเขามหาสวรรค์ เมืองเพชรบุรี รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระราชวังแบบยุโรปกับพระเจดีย์วิหารบนเขามหาสวรรค์ มีความสวยงามมาก พระราชทานนามรวมเรียกว่า พระนครคีรี เขามหาสวรรค์ จังหวัดเพชรบุรีเป็นชื่อที่รัชกาลที่ 4 ทรงตั้งใหม่ เดิมเรียกกันว่าเขามหาสมณ ปัจจุบันนิยมเรียกว่าเขาวัง
รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เสด็จไปประทับหลายคราว เป็นที่ท่องเที่ยวสำคัญของเพชรบุรี
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างยาว 46 เมตร กว้าง 2.04 เมตร ศีรษะเป็นรูปนาค 7 เศียร ไม่ระบุปีสร้าง มีในภาพถ่ายที่ จอห์น ทอมสัน ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2408 พบในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
Re: ภาพเก่า หาชมยาก
«
Reply #2 on:
25 January 2022, 21:53:04 »
มองไปทางกรุงเทพฯ ถ่ายจากพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฝั่งธนบุรี ไปทางพระบรมมหาราชวัง ฝั่งกรุงเทพฯ
ซีกขวาล่างบริเวณที่มีรั้วเหล็กหล่อล้อมเป็นแนว มีประตูเหล็กและมีตุ๊กตาหินสองตัวยืนอยู่ข้างหน้าคือบริเวณภูเขาจำลองที่เคยอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 แล้วรัชกาลที่ 3 โปรดให้นำมาไว้ที่วัดนี้
คลองหน้าวัดราชบพิธ (มองเห็นสุสานหลวง) หมายถึงคลองคูเมืองเดิมที่ขุดเมื่อสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
สุสานหลวงอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจนพระราชโอรสธิดา ทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ทั้งเจดีย์ พระปรางค์ (อย่างที่เห็นทางซ้าย) และอาคารแบบยุโรป อนุสาวรีย์บางส่วน พระบรมวงศานุวงศ์สร้างในสมัยหลัง ปัจจุบันทางวัดเปิดให้ประชาชนเข้าไปเดินชมได้อย่างสะดวก
คลองในบางกอกเมื่อยามน้ำลง นึกถึงคลองมหานาคที่เคยเป็นตลาดน้ำใหญ่ของกรุงเทพฯ สะพานตรงกลางน่าจะเป็นสะพานรถไฟที่แล่นผ่านวัดบรมนิวาส (เอนก)
คลองบางกอกน้อยเมื่อกำลังมีตลาดน้ำ แลเห็นความจอแจของเรือพายต่าง ๆ ที่ไปจอดแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันในวันนัด
การจราจรในคลองบางกอกน้อย มีเรือสัญจรไปมามากมาย ล้วนเป็นเรือพายเรือแจว ไม่มีเรือยนต์ ระบุชื่อคลองที่ถ่าย แต่ไม่ระบุว่าถ่ายหน้าวัดใด แลเห็นแต่เก๋งจีนหน้าวัดแห่งหนึ่ง
บริเวณกรมอากาศยานตำบลดอนเมือง ถ่ายจากเครื่องบิน ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 ไม่ระบุวันเดือนปี เป็นภาพประกอบเรื่อง ความเจริญแห่งการบินกรุงสยาม ในดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466
ดุสิตสมิตให้ความรู้ว่า ทหารไทยนำเครื่องบิน 3 ลำแรกที่ซื้อจากฝรั่งเศส มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 โรงเก็บเครื่องบินชั่วคราวอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจพระนครบาล ต.ปทุมวัน
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2457 ย้ายที่ตั้งกองบินจากปทุมวันไปตั้งที่ดอนเมือง
กองทหารไทยในดินแดนเยอรมนี ภาพจากดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466
คือคราวที่ไทยส่งทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2461
เครื่องบินพยาบาล หนังสือชื่อ ประชุมสมุดภาพประวัติศาสตร์ทหารและตำรวจ ให้ความรู้ว่า สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ทรงชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ออกเงินช่วยซื้อเครื่องบิน ขัติยะนารี กับ ศรีสุรางค์ ใช้เป็นเครื่องบินพยาบาล บรรทุกผู้โดยสารได้ 4 คน บรรทุกผู้บาดเจ็บอาการหนักได้ 2 คน ขอบล่างของภาพบอกให้ทราบว่าถ่ายเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ถ่ายโดย ร.ต.จิตราคนี
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกับบริเวณโดยรอบ ถ่ายจากเครื่องบิน ไม่ระบุวันเดือนปีและชื่อผู้ถ่าย คงอยู่ในช่วง พ.ศ. 2465
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท คือที่เห็นมีสนามหญ้าวงรีเหมือนสนามฟุตบอลเล็ก ๆ อยู่ข้างหน้า มี 3 ยอด สร้างเมื่อต้นรัชกาลที่ 5 มองไปทางมุมซ้ายล่าง เห็นพระอุโบสถวัดพระแก้ว ถนนเหนือพระอุโบสถที่พาดเฉียงขึ้นไปคือถนนสนามชัย ขอบบนสุดคือพระอุโบสถวัดโพธิ์ ถนนทางขวาสุดเรียกว่าถนนมหาราช
พระที่นั่งอนันตสมาคม ถ่ายจากเครื่องบิน ไม่ระบุวันเดือนปีและชื่อผู้ถ่าย คงถ่ายช่วง พ.ศ. 2465
พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเริ่มปรับพื้นที่และทำรากเมื่อ พ.ศ. 2449 จากนั้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 รัชกาลที่ 5 จึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ (วันเดียวกับที่ทรงเปิดอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า) สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชพิธิเฉลิมพระราชมณเฑียรระหว่างวันที่ 7 11 มกราคม พ.ศ. 2459
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
Re: ภาพเก่า หาชมยาก
«
Reply #3 on:
25 January 2022, 21:54:34 »
พระราชวังบางปะอิน ถ่ายจากเครื่องบิน ไม่ระบุวันเดือนปี และชื่อผู้ถ่าย คงถ่ายช่วง พ.ศ.2465 พระราชวังบางปะอินอยู่ที่ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ทางซีกซ้ายแลเห็นพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพอาสน์ ที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้าง อยู่กลางสระใหญ่
พระราชวังพญาไทกับดุสิตธานี ถ่ายจากเครื่องบิน ไม่ระบุวันเดือนปีและชื่อผู้ถ่าย คงถ่ายช่วง พ.ศ.2465 ภาพนี้พิมพ์ไม่สู้ชัดนัก ถนนด้านล่างคือถนนราชวิถี คลองด้านบนคือคลองสามเสน
พื้นที่สี่เหลี่ยมริมคลองที่เห็นเป็นบ้านหลังเล็ก ๆ มีถนนเล็ก ๆ ตัดเป็นตารางคือบริเวณดุสิตธานี แรกทีเดียวรัชกาลที่ 6 ทรงสร้างดุสิตธานี อันเป็นเหมือนเมืองจำลองเพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นที่พระราชวังดุสิตก่อนจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2462 จึงย้ายไปสร้างใหม่ที่พระราชวังพญาไท ริมคลองสามเสน
รัชกาลที่ 5 เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ประพาส เมืองสิงคโปร์
ในหนังสือชื่อ ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์ในคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์ บรรยายว่า รูปหมู่ถ่ายที่บ้านสุลต่านยะโฮในเมืองสิงคโปร์ ดูพระราชนิพนธ์ บอกว่าฉายเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2439
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงยืนหันข้าง (คนที่ 6 จากขวา) ฉลองพระองค์แบบแขนขาหมูแฮม
แลเห็นบันไดพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทซึ่งยังมีอยู่ในปัจจุบัน พระที่นั่งนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2421 ตรงที่ที่เคยเป็นพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ในรัชกาลที่ 4 สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นที่สำหรับประดิษฐานพระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ 1-2-3-4 และเป็นที่ถวายบังคมพระบรมรูปมาจนถึง พ.ศ. 2461 รัชกาลที่ 6 จึงให้ย้ายพระบรมรูปไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร แทน พระที่นั่งศิวาลัยจึงว่างตั้งแต่นั้นมา
รัชกาลที่ 5 (ไม่ปรากฏในภาพ) เสด็จประพาสเกาะกระดาษ จังหวัดตราด ไม่ระบุปี
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ภอ.003 หวญ 5
สะพานหกหน้าวัดพิชัยญาติ ธนบุรี ถ่ายราวสมัยรัชกาลที่ 5
ภาพจากหนังสือ Buddistsche Tempelangan in Siam ของ คาร์ล ดอห์ริง พิมพ์เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2463 หอสมุดแห่งชาติ
พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เข้าใจว่าถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพจากหนังสือ Buddistsche Tempelangan in Siam ของ คาร์ล ดอห์ริง พิมพ์เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2463 หอสมุดแห่งชาติ
พระสมุทรเจดีย์หรือพระเจดีย์กลางน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5
สมัยนั้นที่ตั้งของพระเจดีย์ยังเป็นเกาะจริง ๆ ภายหลังพื้นดินรอบเกาะตื้นเขิน ตัวเกาะจึงเชื่อมติดกับฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดังเห็นอยู่ในปัจจุบัน ภาพจากหนังสือ Buddistsche Tempelangan in Siam ของ คาร์ล ดอห์ริง พิมพ์เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2463 หอสมุดแห่งชาติ
น้ำท่วมใหญ่ (ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) พ.ศ. 2485 ถ่ายที่หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง แลเห็นเรือและผู้คนมากมาย (ให้สังเกต ประชาชนสวมหมวกตามรัฐนิยม สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ผู้ต้องโทษหนักถูกจำตรวน จากหนังสือ SIAM ของ KARL DOHRING
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
Re: ภาพเก่า หาชมยาก
«
Reply #4 on:
25 January 2022, 21:55:57 »
ผู้ดีสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
จากหนังสือ SIAM ของ KARL DOHRING เป็นตัวอย่างอันดีที่จะแสดงให้เห็นถึงการไว้ผมปีก มีจอนสองข้างอย่างโบราณ
หญิงสยามสองคนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453)
จากหนังสือ SIAM ของ KARL DOHRING สังเกตการณ์ไว้ผมที่เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยโบราณ
หน่วยสุขสึกสาออกทำการโคสนาวิธีปติบัติรักสาตัวไนการป้องกันโรคระหว่างน้ำท่วมแก่ประชาชน....
ใช้ภาษาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม อ่านดูแปลกตาไปหมด แลเห็นเรือพายม้าขนาดใหญ่ มีประทุนติดป้าย ระวังโรคน้ำท่วม บนหลังคา และติดโปสเตอร์ทางด้านข้าง
ขวาสุด เห็นป้ายสะพาน อ่านได้ว่าคือสะพานผ่านพิภพลีลา ข้างสนามหลวง (สะพานผ่านพิภพลีลาสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมมีลวดลายสวยงาม แต่ในภาพนี้ให้สังเกตว่าถูกเปลี่ยนสภาพไปแล้ว)
เครื่องวัดระดับน้ำที่หน้ากองรังวัดที่ดิน จังหวัดธนบุรี ถ่ายเมื่อ 21 ตุลาคม 2485...
กองรังวัดที่ดินนั้นอยู่หน้าวัดประยุรวงศ์ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า
เครื่องวัดระดับน้ำที่หน้ากองรังวัดที่ดิน จังหวัดธนบุรี ถ่ายเมื่อ 21 ตุลาคม 2485...
กองรังวัดที่ดินนั้นอยู่หน้าวัดประยุรวงศ์ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า
การจัดหาที่พักให้แก่ผู้ต้องอุทกภัย ถ่ายหน้าตึกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ในภาพใช้ภาษาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากสัตร) ถนนราชดำเนินกลาง มีป้ายเขียนเหนือประตูว่า ไห้ที่พักผู้ต้องอุทกภัย โดยไม่คิดเงิน
โรงพยาบาลชั่วคราวสำหรับประชาชน นะ โรงเรียนเทสบาลวัดคนิกาผล ถนนพลับพลาชัย
ป้ายซุ้มประตูมีข้อความว่า พ.ศ.2477 วัดคณิกาผล และ โรงพยาบาลชั่วคราว เทศบาล นครกรุงเทพ
ถนนบริพัตรข้างพูเขาทอง เปนที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง ภาพถนนข้างภูเขาทอง ถ่ายไปทางสะพานมหาดไทยอุทิศ
ถนนเจริญกรุงตอนปากถนนสีลม เปนที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง ถ่ายจากสามแยกถนนสีลมไปทางด้านสี่พระยา
ประชาชนเคารพทงชาติเมื่อเวลา 8.00 นาลิกา หน้าตึกอะไรอ่านไม่ออก (เอนก)
ภาพช่วงน้ำท่วมกรุงเทพฯ จะใช้ภาษาในช่วง จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
Re: ภาพเก่า หาชมยาก
«
Reply #5 on:
25 January 2022, 21:57:19 »
ประชาชนเคารพทงชาติเมื่อเวลา 8.00 นาลิกา เห็นคนยืนตรงบนถนนราชดำเนินกลาง ทางขวาเห็นป้ายร้านเล็ก ๆ อ่านได้ว่า สึกสาภันฑพานิชย์ ซึ่งก็คือร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ขององค์การค้าคุรุสภา แหล่งจำหน่ายเครื่องเขียนแบบเรียนที่ยังคงยืนยงมาจนถึงปัจจุบัน
6 ตุลาคม 2485 กะซวงสึกสาธิการ
เห็นกำแพงและป้ายกระทรวงศึกษาธิการ บนถนนราชดำเนินนอก และเห็นตึกใหญ่ที่ยังคงรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน
(พอเห็นป้ายมั้ยครับ กระซวงสึกสาธิการ )
6 ตุลาคม 2485 กะซวงคมนาคม
อยู่ข้างอนุสาวรีย์ทหารอาสา สนามหลวง ตึกนี้ถูกรื้อไปแล้วเพื่อสร้างโรงละครแห่งชาติหลังปัจจุบัน
12 ตุลาคม 2485 อนุสาวรียประชาธิปไตย
คำว่า อนุสาวรีย์ ไม่มีการันต์ ตรง ย ยักษ์ แลเห็นคนพายเรือกันหน้าอนุสาวรีย์ดูขวักไขว่ ภาพนี้ถ่ายจากหน้าร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ไปทางสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
จอมพล ป.พิบูลสงคราม มาวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483
12 ตุลาคม 2485 อาคารราชดำเนิน
ถ่ายจากที่สูงมากไปทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ยังนึกไม่ออกว่าถ่ายจากอะไร (เอนก)
13 ตุลาคม 2485 กรมโคสนาการ
คือ ตึกห้างแบดแมนเก่าตรงเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา (รัชกาลที่ 5 ทรงเปิดตึกเมื่อ พ.ศ. 2452) ต่อมาเปลี่ยนชื่อจากกรมโคสนาการ เป็นกรมประชาสัมพันธ์ และรื้อตึกเก่าสร้างตึกใหม่เมื่อ พ.ศ.2504 ตึกใม่นั้นอยู่มาถึงปี พ.ศ.2535 ก็ถูกเผาจนเหลือแต่ซาก เมื่อคราวเหตุการณ์ณ์พฤษภาทมิฬ ต้องทุบทิ้ง
(น่าเศร้านะครับ เอกสารหลักฐานเก่า ๆ มากมาย ต้องหายไปกับกองเพลิงเยอะมาก ๆ)
13 ตุลาคม 2485 กะซวงมหาดไทย
ตัวกระทรวงมหาดไทยริมถนนอัษฎางค์ (ข้างคลองคูเมืองเดิม และข้างวัดราชบพิธ ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน)
13 ตุลาคม 2485 ถนนราชดำเนิน
คือถนนราชดำเนินนอก ถ่ายจากใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศไปทางพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่แลเห็นเป็นเงา ๆ ตรงสุดถนน
วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู ถ่ายจากเครื่องบิน เมื่อ พ.ศ.2489 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
มุมซ้ายล่างคือตึกที่มีการขายผ้ากันมากในปัจจุบัน เกาะตรงกลางปัจจุบันกลายเป็นสวนหย่อม วัดนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ระหว่าง พ.ศ. 2367-พ.ศ.2375 ต่อมาใน พ.ศ.2379 รัชกาลที่ 3 โปรดให้เชิญเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ขณะผนวช) จากวัดราชาธิวาสมาประทับที่วัดนี้ นับเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ในพระอุโบสถมีภาพวาดปริศนาธรรมฝีมือขรัวอินโข่งสวยงามมาก
ถนนใหม่ ในตัวเมืองกรุงเทพฯ นิวโรดคือชื่อที่ฝรั่งเรียกถนนเจริญกรุง เป็นถนนที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้นใหม่ในสมัยของพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 25 ว่าเริ่มตัดเมื่อ พ.ศ.2404 นับเป็นถนนสำคัญของกรุงเทพฯ เพราะมีตึกรามบ้านช่องหนาแน่นมาจนถึงปัจจุบัน
ถนนเจริญกรุงแต่ก่อนมีรถรางวิ่ง ในภาพนี้ท่านจะเห็นรถรางกำลังจอดที่ป้ายรูปสามเหลี่ยมซึ่งติดอยู่บนเสาไฟฟ้า
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,454
Re: ภาพเก่า หาชมยาก
«
Reply #6 on:
25 January 2022, 21:58:44 »
กำแพงและคูเมืองโบราณ จังหวัดเชียงใหม่
เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความสำคัญเป็นอันดับสอง รองจากกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำปิง มีกำแพงเมือง และคูเมืองล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน แต่ทรุดโทรมหมดแล้ว
สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทับในเกวียนที่ใช้วัวลากขนาดเล็ก
เป็นภาพเมื่อคราวเสด็จตรวจราชการทางอีสานเมื่อ พ.ศ. 2449
วัดพระชินราช จังหวัดพิษณุโลก (สร้างด้วยศิลาแลงและปูนปั้น) หมายถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ที่มีพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่
พระปฐม พระเจดีย์หรือสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ที่สุดในสยาม คือพระปฐมเจดีย์ที่ จังหวัดนครปฐม
วัดแห่ง รอยเท้าอันศักดิ์สิทธิ์ หรือพระพุทธบาท เห็นมณฑป (ครอบพระพุทธบาท) อยู่ตรงกลาง ตั้งอยู่ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นที่นับถือมาแต่โบราณ
ขณะทำพิธีโล้ชิงช้า เสาชิงช้าอยู่ที่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม ตึกทางซ้ายมือเป็นตึกตลาดเสาชิงช้าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 รื้อหมดแล้ว กลายเป็นลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
เจดีย์มหึมาของพระปฐมสูงเสียดฟ้า
พระปฐมอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ นัก เป็นศูนย์กลางสำคัญทางการศึกษา มีทั้งโรงเรียนทหารและโรงเรียนกสิกรรมตั้งอยู่ สมบัติชิ้นเด่นของจังหวัดคือ องค์เจดีย์ยักษ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในสยาม มักมีนักแสวงบุญไปพำนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันพระ จะมีผู้มาสักการะบูชาหนาแน่นเสมอ ภาพของ ดับบลิว เอ แกรห์ม
คนลักวัวลักควายชาวสยามถูกจองจำขื่อคา
นักโทษผู้นี้อยู่ระหว่างทางไปเข้าคุกด้วยข้อหาลักวัวควาย เขาถูกจองจำไว้ในขื่อคาที่ทำจากไม้ไผ่เพื่อป้องกันไม่ให้หลบหนีผู้คุมเข้าป่าไปเสียก่อน เป็นภาพที่แสดงให้เห็นการแต่งกายของชาวบ้าน (นักโทษ) และผู้คุมในสมัย ร.5 -6 ได้ดี
อาณาบริเวณพระบรมมหาราชวัง
ถ่ายจากมุมกระทรวงยุติธรรมไปทางป้อมเผด็จดัสกร และวัดพระแก้ว เห็นสนามหญ้าซึ่งปัจจุบันคือบริเวณศาลหลักเมือง
.....
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพหาดูยาก จากคุณ : ปริยวาที
http://www.siamfishing.com/
http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=82065&onlyuserid=0&begin=0
Logged
Pages:
[
1
]
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.079 seconds with 21 queries.
Loading...