User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
01 November 2024, 10:35:27
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,369
Posts in
12,806
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
เรื่องราวน่าอ่าน
|
หนังสือดี ที่น่าอ่านยิ่ง
|
[6] วาทะ คำคมสามก๊ก
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
[
1
]
Author
Topic: [6] วาทะ คำคมสามก๊ก (Read 419 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,211
[6] วาทะ คำคมสามก๊ก
«
on:
20 December 2021, 13:45:23 »
[6] วาทะ คำคมสามก๊ก
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/p/three-kingdoms-quotes.html
วาทะ คำคมสามก๊ก
รวม วาทะ คำคม คารม ของตัวละครต่าง ๆ จากวรรณกรรมจีนเรื่อง สามก๊ก ทั้งจาก หนังสือสามก๊ก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) และ หนังสือสามก๊ก ฉบับ วณิพก
คำคมสามก๊ก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,211
Re: [6] วาทะ คำคมสามก๊ก
«
Reply #1 on:
20 December 2021, 13:47:20 »
คำคมสามก๊ก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
กวนอู
"ถ้าบุตรดีมารดาบิดาก็เป็นสุข แม้บุตรชั่วมารดาบิดาก็ทุกข์ด้วย" เป็นวาทะสามก๊กที่ กวนอูกล่าวแก่กัวเสียง ที่มีบุตรไม่ดีรักแต่เที่ยวเล่น คบเพื่อนทำแต่เรื่องหยาบช้า
"ถ้าบุตรดีมารดาบิดาก็เป็นสุข แม้บุตรชั่วมารดาบิดาก็ทุกข์ด้วย" เป็นวาทะสามก๊กที่ กวนอูกล่าวแก่กัวเสียง ซึ่งมีบุตรไม่รักดี เอาแต่เที่ยวเล่น คบเพื่อนชั่วทำแต่เรื่องหยาบช้า
โจโฉ
"อันธรรมดาว่าสงคราม จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้ ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง" - โจโฉ
"อันธรรมดาว่าสงคราม จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้ ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง" เป็นวาทะ สามก๊ก ของ โจโฉ ว่าแก่ โจหยิน ตอนถูก ชีซี ตีแตก
"แม้เห็นว่าการใหญ่ก็ทำให้ใหญ่ ประมาณการน้อยก็ทำแต่น้อย" - โจโฉ
"แม้เห็นว่าการใหญ่ก็ทำให้ใหญ่ ประมาณการน้อยก็ทำแต่น้อย" โจโฉกล่าวกับเล่าปี่เมื่อครั้งร่ำสุราถามหาวีรบุรุษ
สุมาเต็กโช
"โบราณท่านว่าไว้แต่ก่อนว่า สิบคนจะหาผู้กล้าได้คนหนึ่ง ร้อยคนจะหาผู้มีสติปัญญาได้คนหนึ่ง" เป็นวาทะ สามก๊ก ของ สุมาเต็กโช ที่กล่าวแก่ เล่าปี่
ตันฮก
"แผ่นดินจะกลับก็เหมือนไฟดับสิ้นแสง ถ้ากบทูจะหักจะเอาไม้น้อยค้ำมิอาจทานกำลังไว้ได้ ชาวบ้านนอกผู้มีปัญญาย่อมแสวงหานายที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารี" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ร่ายบทกลอนสอนใจแก่ เล่าปี่ ให้เกิดความสนใจของ ตันฮก
"ตัวข้าพเจ้าอุปมาเหมือนหนึ่งกา จะมาเปรียบเทียบพญาหงส์นั้นไม่ควร อันม้าอาชามีกำลังอันน้อยหรือจะมาเปรียบกับพญาราชสีห์ได้" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวเปรียบเทียบระหว่างตนเองและ จูกัดเหลียง ต่อ เล่าปี่ ของ ตันฮก
ลิเตียน
"ถ้าจะทำการสงคราม พึงให้รู้ลักษณะในไส้ศึกก่อน จึงจะทำการได้ชัยชนะโดยง่าย" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ห้ามปรามไม่ให้ โจหยิน ไปตี เล่าปี่ ของ ลิเตียน
เล่าปี่
"อันธรรมดาแม่ลูกกันนี้ก็เหมือนชีวิตเดียวกัน เมื่อมีเหตุฉะนี้ก็เป็นประเพณีบุตรจะสงเคราะห์แก่มารดา ใครห่อนจะทิ้งมารดาเสียได้" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวแก่ ตันฮก เมื่อได้รับอุบายจดหมายของ โจโฉ ของ เล่าปี่
"ท่านผู้มีสติปัญญานั้น ถึงมาตรว่าจะนั่งนอนหลับตาอยู่ในเรือนมิได้เห็นกิจการทั้งปวงเลย ก็สามารถจะคิดเอาชัยชนะแก่ข้าศึกร้อยพันได้" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวเกลี้ยกล่อมให้ กวนอู และ เตียวหุย ยอมเชื่อฟัง จูกัดเหลียง ของ เล่าปี่
"ถึงมาตรว่าจะมีอันตรายประการใดก็ดี ตัวเราก็จะสู้ตาย ซึ่งจะทรยศต่อผู้มีคุณนั้นเราทำมิได้" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ปฏิเสธการเข้ายึดเมืองเกงจิ๋วตามคำแนะนำของ จูกัดเหลียง ของ เล่าปี่
"โบราณท่านว่าไว้ ถ้าฟ้าคะนองให้ระวังตัวจงหนัก" เป็นวาทะของเล่าปี่ที่กล่าวขึ้นเพื่อเอาตัวรอดจากความระแวงสงสัยของโจโฉ เมื่อครั้งนั่งเสพสุรา สนทนากัน
"ข้าพเจ้าตั้งภูมิฐานเป็นที่มั่นลงได้ก็จะกลัวอะไรแก่หัวเมืองทั้งปวง อุปมาดังลูกไก่อยู่ในเงื้อมมือข้าพเจ้า" เป็นวาทะของเล่าปี่ ขณะเสพสุราอยู่กับเล่าเปียว แล้วเผลอตัว พูดพลั้งปากออกมา ทำให้เห็นปณิธานที่ซ่อนอยู่ในใจ
จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง)
"พญาครุฑ แม้จะไปในทิศใดก็ย่อมบินโดยอากาศอันสูงสุดสายเมฆ มิได้บินต่ำเหมือนสกุณชาติซึ่งมีกำลังน้อย" - ขงเบ้ง
"ธรรมดาผู้มีปัญญาอันพิสดาร แม้จะคิดการสิ่งใดก็ลึกซึ้ง ผู้มีปัญญาน้อยหาหยั่งรู้ถึงตลอดไม่ อุปมาเหมือนพญาครุฑ แม้จะไปในทิศใดก็ย่อมบินโดยอากาศอันสูงสุดสายเมฆ มิได้บินต่ำเหมือนสกุณชาติซึ่งมีกำลังน้อย" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวตอกหน้าแก่ เตียวเจียว ให้ได้รับความอับอาย เมื่อคราวไปกังตั๋งเพื่อเจรจาให้ ซุนกวน ยอมทำศึกกับ โจโฉ ของ จูกัดเหลียง
"อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร ถ้าไม่รู้คะเนการฤกษ์บนแลฤกษ์ต่ำ ก็มิได้เรียกว่ามีสติปัญญา" เป็น วาทะสามก๊ก ที่กล่าวแก่ โลซก ภายหลังจากลวงเอาเกาฑัณฑ์จำนวนมากจากโจโฉของ จูกัดเหลียง
"ผู้ใดกินข้าวแดงท่านแลฆ่าท่านผู้มีคุณเสีย ผู้นั้นเป็นคนหากตัญญูไม่ ผู้ใดอาศัยอยู่ในแผ่นดินของท่านแล้วคิดยกเอาแผ่นดินไปให้ผู้อื่นเสีย ผู้นั้นเป็นคนหาความสัตย์ไม่" ขงเบ้ง กล่าวแก่ เล่าปี่เนื่องจาก อุยเอี๋ยน นี้มิได้มีความสัตย์แลกตัญญู
"อันธรรมดาเกิดมาเปนมนุษย์นี้ยากที่จะรู้การในอากาศ" ขงเบ้งกล่าวแก่จิวยี่ ที่ล้มป่วยลงเพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจต่อการทำศึก
จิวยี่
"ธรรมดาเกิดมาเป็นชาย แม้จะแสวงหาเจ้านายซึ่งจะเป็นที่พึ่งนั้น ก็ให้พิเคราะห์ดูน้ำใจเจ้านายซึ่งโอบอ้อมอารีเป็นสัตย์เป็นธรรมจึงให้เข้า อยู่ด้วย แล้วให้ตั้งใจทำราชการโดยซื่อสัตย์สุจริตประการหนึ่งให้มีใจทำไมตรีแก่ญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูงเก่าแก่ไว้อย่าให้ขาด แม้มาตรว่าจะมีภัยสิ่งใดมาถึงตัว ก็จะเผอิญให้มีผู้มาช่วยแก้ไขพ้นจากอันตรายได้ ถ้าจะคิดการสิ่งใดเล่าก็จะสำเร็จ" เป็น วาทะสามก๊ก ที่กล่าวแก่เจียวก้าน ถึงการเลือกนายผู้รับใช้ของชายชาติทหารของ จิวยี่
"ธรรมดาเกิดมาเป็นมนุษย์ อันโรคแลความตายนั้นจะกำหนดวันมิได้" เป็น วาทะสามก๊ก ที่จิวยี่กล่าวแก่ ขงเบ้ง เมื่อ ขงเบ้ง มาเยี่ยมตนเองที่ป่วย เพราะลมไม่เป็นใจ ขงเบ้ง จึงออกอุบายเรียกลมให้
"เทพดาองค์ใดหนอ ซึ่งให้เราเกิดมาแล้ว เหตุใดจึงให้ขงเบ้งเกิดมาด้วยเล่า" เป็นคำตัดพ้อของจิวยี่ก่อนสิ้นลมหายใจ ที่มิอาจมีสติปัญญาความสามารถเทียบเท่าขงเบ้ง
บังทอง
"ซึ่งจะเป็นหลักที่ยึดนั้น สุดแต่การเป็นประมาณ เมื่อการสิ่งใดมีมาจึงจะคิดต่อไป" เป็น วาทะสามก๊ก ที่ บังทอง กล่าวตอบ ซุนกวน ในตอนที่ โลซก ชวน บังทอง มาทำราชการด้วย
เตียวเหียน
"อันประเพณีการสงคราม ควรจะให้นายทหารซึ่งมีฝีมือออกรบพุ่งให้สามารถก่อน อันแม่ทัพจะยกออกก่อนนั้นไม่ควร" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ เตียวเหียน กล่าวตำหนิ ซุนกวน ที่หุนหันนำทัพออกศึกจนเสียทีแก่ เตียวเลี้ยว
ลิอิ๋น
"ธรรมดานกแม้จะทำรังอาศัย ก็ให้ดูต้นไม้อันร่มชิดจึงจะได้อยู่เป็นสุข อนึ่งเกิดมาเป็นชายก็ให้พึงพิเคราะห์ดูเจ้านายอันมีน้ำใจโอบอ้อมอารี จึงเข้าอยู่ด้วย" - ลิอิ๋น
"ธรรมดานกแม้จะทำรังอาศัย ก็ให้ดูต้นไม้อันร่มชิดจึงจะได้อยู่เป็นสุข อนึ่งเกิดมาเป็นชายก็ให้พึงพิเคราะห์ดูเจ้านายอันมีน้ำใจโอบอ้อมอารี จึงเข้าอยู่ด้วย" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ ลิอิ๋น กล่าวแก่ เล่าปี่ เพื่อยอมสวามิภักดิ์ขอเป็นข้ารับใช้
ลกซุน
"อันประเพณีการศึกมีหรือจะไม่ตาย แต่ผู้มีความคิด ย่อมเสียน้อยได้มาก" เป็น วาทะสามก๊ก ที่ ลกซุน กล่าวแก่ ชีเซ่ง และ เตงฮอง เมื่อคราวรบกับ เล่าปี่
สุมาอี้
"กินเบี้ยหวัดมาร้อยวันพันวัน จะเอาการแต่วันเดียวก็มิได้" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ สุมาอี้ กล่าวแก่ทหารที่เสียกำลังใจขณะเฝ้าด่าน กิก๊ก เพื่อเตรียมรับการบุกวุยก๊กครั้งที่สี่ของ ขงเบ้ง
"ทำการสิ่งใดอย่าได้เบาความ จงตรึกตรองให้ละเอียดแล้วจึงทำ" คำสั่งเสียสุดท้ายของ สุมาอี้ ที่สอนลูกหลานให้ตั้งตนอยู่ในความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาท
"อันโบราณกล่าวไว้ว่าเหตุการณ์นิดหนึ่งจะพาให้เสียการใหญ่" - สุมาอี้
"อันโบราณกล่าวไว้ว่าเหตุการณ์นิดหนึ่งจะพาให้เสียการใหญ่" สุมาอี้ เตือนให้ทหารสงบสติอารมณ์ ไม่หวั่นไหวต่อคำยั่วยุของฝ่ายศัตรู
อองลุย
"ยาดีกินขมปากแต่เป็นประโยชน์แก่คนไข้ คนซื่อกล่าวคำไม่เพราะหู แต่เป็นประโยชน์แก่กาลภายหน้า" เป็นคำกล่าวของอองลุยที่เตือนมิให้เล่าเจี้ยงรับเล่าปี่เข้าเมือง
เกียงอุย
"วันคืนปีเดือนล่วงไปไม่หยุดเลย จะคอยท่าให้ได้ทีก็จะแก่เสียเปล่า" เป็นคำกล่าวของเกียงอุย ที่พูดขึ้นเพื่อโน้มน้าวให้บรรดาขุนนางเห็นพ้องกับตน ในการยกทัพไปบุกวุยก๊ก
โจมอ
"มังกรอันมีฤทธิ์เดชก็อัศจรรย์ตกลงขังอยู่ในสระ ให้ปลาเล็กน้อยล่วงดูถูก"
ซุนฮก
"มาตรว่ามีความชอบสักเท่าใดก็ดี ก็ควรจะเจียมตัวคำรบตามประเพณีข้ากับเจ้า"
โจสิด
"คั่วถั่วเอากิ่งถั่วมาเป็นฟืนใส่ไฟ เมล็ดถั่วในกะทะจะไหม้ ก็เพราะกิ่งถั่วต้นรากอันเดียวกันนั่นเอง เหตุใดจึงเร่งไฟเข้าให้หนักนัก " เป็นบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นในระยะเวลาเพียงเดินเจ็ดก้าว เพื่อเอาชีวิตรอดจากโทษประหารจากโจผี พี่ชายตนเอง
หลวงจีนเภาเจ๋ง
"กงเกวียนกำเกวียนตัวฆ่าเขา ๆ ฆ่าตัว เมื่อท่านฆ่างันเหลียงบุนทิวแลนายด่านห้าตำบลเสีย ใครมาทวงศีรษะแก่ท่านบ้าง ครั้งนี้ท่านเสียทีแก่ข้าศึกถึงแก่ความตายแล้ว ท่านมาร้องทวงศีรษะแก่ใครเล่า" เป็นคำกล่าวของหลวงจีนเภาเจ๋งที่กล่าวเตือนสติให้แก่อสุรกายกวนอู เพื่อให้ระลึกถึงกฎแห่งกรรม ก่อนไปสู่สุขคติ
ซุยเป๋ง
"ประเพณีแผ่นดินนี้ เกิดจลาจลแล้วก็เป็นสุขเล่า เป็นสุขแล้วก็เกิดจลาจลเล่า เป็นธรรมดามาแต่ก่อน" เป็นวาทะของซุยเป๋งที่กล่าวแก่เล่าปี่ เพื่อเตือนให้เข้าใจถึงสัจธรรม ความเป็นไปของบ้านเมือง
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,211
Re: [6] วาทะ คำคมสามก๊ก
«
Reply #2 on:
20 December 2021, 17:27:01 »
คำคมสามก๊ก ฉบับ วณิพก
โจโฉ
"ข้าพเจ้ายอมทรยศโลก ดีกว่าให้โลกทรยศข้าพเจ้า" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่แสดงความเด็ดเดี่ยว มั่นคงและแน่วแน่ของ โจโฉ
"ความหยิ่งด้วยความโง่ ไม่มีค่าเหมือนผู้ที่หยิ่งด้วยความฉลาด" เป็น วาทะสามก๊ก ที่แสดงวิสัยทัศน์ของโจโฉ ที่แสดงความเหนือชั้นกว่า อ้วนเสี้ยว
"ซึ่งจะมาถืออิศริยศในท่ามกลางศึกดังนี้ไม่ควร" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ โจโฉ กล่าวห้ามปรามในความเป็นเจ้ายศเจ้าอย่างของ อ้วนเสี้ยว
"คิดการสิ่งใดก็รู้จักที่หนักที่เบา ทีได้ทีเสีย ยักย้ายถ่ายเทมิให้ผู้ใดล่วงรู้" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงลักษณะและคุณสมบัติของชายชาติทหารของโจโฉ
จูล่ง
"คนยาก แต่มิใช่เห็นเงินตาลุก ชาวเสียงสานต้องการดื่มเกียรติ" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ปฏิเสธการปูนบำแหน็จรางวัลจากการออกศึกสงครามของ จูล่ง
"ข้าพเจ้าทำศึกมาแต่หนุ่มจนอายุถึงเพียงนี้ ก็ยังไม่เพลี่ยงพล้ำเสียทีให้ข้าศึกดูหมิ่นได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่หวาดกลัวและย่อท้อ
ในการทำศึกสงครามของ จูล่ง
จิวยี่
"มาตรว่าชีวิตเราจะตายในท่ามกลางข้าศึก ก็ให้เอาอานม้าปิดศพไว้ เร่งทำการต่อไป" เป็นวาทะสามก๊กที่สั่งการให้ทหารทำหน้าที่ของตนต่อไป โดยไม่ต้องกังวลของอาการป่วยของตนเองของ จิวยี่
"สำหรับชายที่หยิ่งด้วยเกียรติของชายนั้น ในโลกนี้อันใดเล่าจะยิ่งใหญ่เสมอเหมือนกับที่ได้ยินข้อความล่วงเกินมาถึง หญิงอันเป็นสุดที่รักสุดเคารพของตน" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความโกรธแค้นโจโฉที่คิดจะพรากหญิงคนรักของตนไปเป็นนางบำเรอของ จิวยี่
"ตัวเราเกิดมาเป็นชาย ได้ลั่นวาจาออกมาแล้วก็ไม่คืนคำเลย" เป็นวาทะสามก๊กที่ยืนกรานแสดงความหนักแน่นในการนำทัพเข้าตีเมืองลำกุ๋นของ จิวยี่
กวนอู
"ขึ้นชื่อว่าแก้วถึงจะแตกทำลายก็ไม่หายชื่อ เราจะขอทำศึกสงครามด้วยท่านกว่าจะสิ้นชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่ย่อท้อในการทำศึกสงครามของกวนอู
"บุตรของเรานี้เป็นชาติเชื้อเหล่าเสือ ไม่สมควรจะให้แก่สุนัข" เป็นวาทะสามก๊กที่ปฏิเสธการยกลูกบุตรสาวให้แก่ลูกชายของซุนกวนของกวนอู
อ้วนเสี้ยว
"ครั้นเราจะรุกก็ไม่แลเห็นชัยชนะ จะถอยเล่าก็รังแต่จะถูกเย้ยหยัน แต่เรายังไม่เสียเปรียบเลยในยุทธภูมินี้ ถอยเท่านั้นเป็นทางที่ดีที่สุด" เป็นวาทะสามก๊กในการตระเตรียมกำลังไพร่พลในการถอยทัพของ อ้วนเสี้ยว
จูกัดเหลียง
"ท่านอย่าทำการด้วยโทโส จงคิดผ่อนปรนให้จงดี อันวู่วามตามความโกรธนั้น ภายหลังก็จะเสียการไป" เป็นวาทะสามก๊กที่แสร้งเตือนจิวยี่ด้วยความปรารถนาดีของ จูกัดเหลียง
"เมื่อมิได้พิเคราะห์ให้ตระหนักก่อน ด่วนมาโกรธฉะนี้ก็จนใจ" เป็นวาทะสามก๊กที่ยั่วให้ซุนกวนเกิดความโมโหเพื่อเป็นการหยั่งดูความสุขุม รอบคอบของ จูกัดเหลียง
"ทั้งกายจะหางามสักหนึ่งก็มิได้ แต่ทว่ามีปัญญาพาทีหลักแหลม รู้วิชาการในแผ่นและอากาศ" เป็นวาทะสามก๊กในการเลือกนางอุยซีเป็นคู่ครอง ที่เต็มไปด้วยความเฉลี่ยวฉลาดมากกว่าความสวยงามของรูปร่างหน้าตาของ จูกัดเหลียง
"ยากจะหาคนใดรู้โชคตน แต่ข้ามีกังวลเพราะเชื่อว่า ที่สุดวันวันหนึ่งคงจะมา ให้ข้าลานิเวกสุขเข้าคลุกงาน" เป็นวาทะสามก๊กที่ร่ายกลอนโศลกพรรณาของ จูกัดเหลียง
ซุนฮูหยิน
"เกิดมาเป็นหญิง จะให้มีชายต้องถึงสองคนก็ไม่ควรนัก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความมั่นคงต่อสามีและไม่อาจมีชายใดอื่นได้อีกของ ซุนฮูหยิน
เล่าปี่
"ธรรมดาภรรยาอุปมาเหมือนอย่างเสื้อผ้า ขาดแลหายแล้วก็จะหาได้ พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา ขาดแล้วยากที่จะต่อได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพี่น้องร่วมสาบาน ที่มีความสำคัญมากกว่าลูกเมียของเล่าปี่
"ธรรมดาเกิดมาเป็นชาติทหารแล้ว ถ้าจะเสียทีก็อย่าเป็นทุกข์ ถึงจะได้ทีก็อย่ายินดี" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวปลอบใจทหารและให้เก็บอากัปกิริยาและควบคุมอารมณ์ใน การแสดงความรู้สึกของเล่าปี่
"การจะทำลายล้างคนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นจากตนดังนี้ ใช่วิสัยชายชาตรีที่พึงทำ" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวแสดงความเห็นใจและให้โอกาสลิโป้ของเล่าปี่
"ความโกรธความยินดี มิได้ปรากฏออกมาภายนอก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความสำรวมกายสำรวมใจและกิริยามารยาทของเล่าปี่
เล่าเจี้ยง
"สิบผู้อื่นมิเท่าแซ่เดียวกัน" เป็นวาทะสามก๊กของเล่าเจี้ยง ที่พูดกับเล่าปี่เมื่อครั้งต้อนรับเล่าปี่เข้าเมืองเสฉวน
ตั๋งโต๊ะ
"จะหางามสามโลกก็เหลือหา สมเป็นนางพญาอันสูงสุด ไม่คู่ควรกับผู้ใดในมนุษย์ ควรสมมุติแต่กษัตริย์ขัตติยา" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงความงามอันหาที่ติมิได้ของหญิงสาวในตอนตั๋งโต๊ะ
เตียวเสี้ยน
"อย่าว่าแต่จะเสียตัวเพียงนี้เลย ถึงจะตายก็ไม่เสียดายชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่ยอมพลีกายเพื่อกอบกู้แผ่นดินของนาง เตียวเสี้ยน
"ทุกวันนี้ข้าพเจ้าก็คิดว่า ถ้าท่านมีทุกข์สิ่งใด ข้าพเจ้าจะสนองคุณท่าน ถึงมาตรว่าชีวิตจะตายและกระดูกจะแหลกเป็นผงก็ดี" เป็นวาทะสามก๊กที่ยินดีสนองคุณอ้องอุ้นผู้เป็นบิดาบุญธรรมของนาง เตียวเสี้ยน
ฮัวหยง
"ซึ่งจะฆ่าไก่และจะเอามีดฆ่าโคมาฆ่านั้นไม่ควร" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่แสดงความประมาทข้าศึกของ ฮัวหยง
อ้องอุ้น
"ตัดต้นรานกิ่งแต่ไม่โก่นราก" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่แสดงถึงความแพ้ภัยในความประมาทของตนเองของ อ้องอุ้น
ขงหยง
"ให้ทุกห้องเต็มไปด้วยมิตร ให้น้ำสุรามฤตจงเปี่ยมทุกถ้วยอยู่ตลอดเวลา" เป็น วาทะสามก๊ก ที่แสดงความปกครองราษฏรด้วยความโอบอ้อมอารีของ ขงหยง
เตียวเจียว
"ดุจแมลงหวี่อันจะต่อสู้ด้วยช้างสาร เหมือนแบกเอาฟางเข้าไปทุ่มที่กองเพลิง" เป็นวาทะสามก๊กของ เตียวเจียว ที่ห้ามปรามไม่ให้ซุนกวนร่วมมือกับ โลซก
-------------------------------------------------------------------
Logged
Pages:
[
1
]
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.07 seconds with 21 queries.
Loading...