Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
25 December 2024, 23:54:21

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,635 Posts in 12,935 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เรื่องราวน่าอ่าน  |  เรื่องเล่าจากความทรงจำที่หาฟังยาก  |  รสในวรรณคดีไทย ทั้ง ๔ - เสาวรจนีย์ นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลปังคพิไสย
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: รสในวรรณคดีไทย ทั้ง ๔ - เสาวรจนีย์ นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลปังคพิไสย  (Read 358 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Online Online

Posts: 9,470


View Profile
« on: 01 December 2021, 23:31:10 »

รสในวรรณคดีไทย ทั้ง ๔ - เสาวรจนีย์ นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลปังคพิไสย


รสในวรรณคดีไทย



รส ในความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หมายถึง ลักษณะที่รู้สึกด้วยลิ้นว่ามีรสเปรี้ยวหรือหวาน เป็นต้น
แต่รสในความหมายทางการประพันธ์ หมายถึง อารมณ์ สัมผัส  รับรู้ด้วยใจ เช่น  รสเสียง  รสถ้อยคำ สัมผัสคำ ฯลฯ  เกิดจากจังหวะของวรรคตอน
ในการอ่านบทประพันธ์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างมโนภาพด้านอารมณ์ความเคลื่อนไหว ของภาพให้ชัดเจน มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น


รสในวรรณคดีไทย

๑. เสาวรจนีย์  ได้แก่  บทพรรณนาความงามของสถานที่ธรรมชาติ ชมนาง 
๒. นารีปราโมทย์  ได้แก่  บทเกี้ยวพาราสี แสดงความรักคร่ำครวญ อาลัยอาวรณ์
๓. พิโรธวาทัง  ได้แก่  บทโกรธ บทตัดพ้อต่อว่า
๔. สัลปังคพิไสย ได้แก่  บทแสดงความโศกเศร้า


..........

เสาวรจนีย์
เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม) คือการกล่าวชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์
       
         
บทโฉมนางเงือก
บทชมโฉมนางเงือกซึ่งติดตามพ่อแม่มาเพื่อพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร จากเรื่องพระอภัยมณี         

   พงศ์กษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย
ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม                 
ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม           
ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง
   ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด               
ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง
พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง         
แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป

        (พระสุนทรโวหาร  (ภู่))

           
                 
บทชมกวางทอง
บทชมกวางทองซึ่งท้าวทุษยันต์พบขณะประพาสป่าเมื่อติดตามไปท้าวทุษยันต์จึงได้พบนางศกุนตลา จากเรื่องศกุนตลา         

   เหลือบเห็นกวางขำดำขลับ    งามสรรสะพรั่งดังเลขา
งามเขาเป็นกิ่งกาญจนา           งามนิลรัตน์รูจี
คอก่งเป็นวงราววาด               รูปสะอาดคราวนางสำอางศรี
เหลียวหน้ามาดูภูมี                งามดังนารีชำเลืองอาย
ยามวิ่งลิ่วล้ำดังลมส่ง              ตัดตรงทุ่มพลันผันผาย     

         (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)


..........

นารีปราโมทย์คืออะไร
นารีปราโมทย์ คือบทเกี้ยวพาราสี บทที่แสดงความรักใคร่ หรือพูดจาโอ้โลมให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดความชอบ

ความหมายของนารีปราโมทย์
(นารี น. หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช ก็ว่า) คือ การทำให้ "นารี" นั้น ปลื้ม "ปราโมทย์"
ซึ่งรูปแบบหนี่งก็คือ การแสดงความรักผ่านการเกี้ยวแลโอ้โลมปฏิโลม. อันคำว่า "โอ้โลมปฏิโลม" นี้ ความหมายอันแท้จริง
ของคำก็คือ การใช้มือลูบไปตาม (โอ้) แนวขน (โลมา) และย้อน (ปฏิ) ขนขึ้นมา เมื่อโอ้โลมไปมา ในเบื้องปลาย
นารีก็จักปรีดาปราโมทย์ ในตอนที่ศึกษา มีเพียงแค่ตอนที่อิเหนากำลังสั่งลาจากนางจินตะหรา ซึ่งเมื่ออ่านดูแล้วบางที
อาจจะไม่ถึงกับเป็นการโอ้โลมปฏิโลมเท่าใดนัก เพียงจะจัดไว้ ณ ที่นี้ เนื่องเพราะเป็นบทที่แสดงถึงความรัก
                                         
ตัวอย่าง

   น้องเอยน้องรัก                    นวลละลองผ่องพักตร์เพียงแขไข
งามองค์ทรงลักษณ์วิไล             พิศไหนสารพันเป็นขวัญตา
พี่หวังจากไมตรีจิต                   รักร่วมสนิทเสน่หา
ควรฤๅดวงใจไม่เมตตา               แต่จะตอบวาจาก็ไม่มี
ช่างผินผันหันหลังไม่แลดู           โฉมตรูขัดใจสิ่งไรพี่
เชิญชะม้ายชายตามาทางนี้          จะสะบัดเบือนหนีพี่ยาไย
                               
        อิเหนา



   ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร        ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร             ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ       พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา            เชยผกาโกสุมปทุมทอง
เจ้าเป็นถ้าอำไพขอให้พี่              เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละออง    เป็นคู่ตรองพิศวาสทุกชาติไป

        พระอภัยมณี (พระอภัยมณีโอ้โลมนางละเวง)


..........

พิโรธวาทัง  ได้แก่  บทโกรธ บทตัดพ้อต่อว่า

ความหมายของพิโรธวาทัง
พิโรธวาทัง (อารมณ์โกรธ) เป็นอารมณ์ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ปุถุชน "เป็นความโกรธ หรือการตัดพ้อ
ว่าด้วยความขุ่นเคือง  คำที่ใช้จึงมักจะลงเสียงหนัก เพื่อเน้นความรู้สึกโกรธ เกลียดหรือเจ็บใจ" จารีตนิยมชนิดนี้
มีความแตกต่างเป็นระดับ กล่าวคือ กล่าวเปรียบเทียบเชิงถ่อมตน - เจียมตน ตัดพ้อต่อว่า กล่าวเปรียบเปรยด่าว่า
และถึงขั้นตัดเป็นตัดตาย

ตัวอย่าง

   แล้วว่าอนิจจาความรัก         เพิ่งประจักษ์ดังสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป      ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน           ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา          จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิจ
โอ้ว่าเสียดายตัวนัก               เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต
จะออกชื่อลือชั่วไปทั่วทิศ        เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร
                                                 
        อิเหนา


..........

สัลปังคพิไสย ได้แก่  บทแสดงความโศกเศร้า

ความหมายของสัลปังคพิสัย
ความโศก: จารีตนิยมชนิดนี้ตรงกับการใช้โวหารชื่อว่า "สัลลาปังคพิสัย" อารมณ์โศกเศร้าที่เกิดจากความทุกข์อันเนื่องมาจาก
ความไม่สมหวังความผิดหวัง ความสูญเสีย ตลอดจนเรื่องของการพลัดพราก เข้าทำนองพุทธวัจนะบทที่ว่า
"ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์" โดยแท้จารีตนิยมชนิดนี้พบมากในวรรณกรรมแสดงอารมณ์ และในวรรณกรรมนิทาน-นิยาย

ตัวอย่าง

   อยากลบรอยเท้าเปื้อนพื้นเรือนหอ
ลบภาพคู่เคลียคลอกันต่อหน้า
ยิ่งอยากลบยิ่งกระจ่างไม่ร้างรา
เห็นตำตาตาจึงจำไว้ตำใจ

        ทวีสุข ทองถาวร / ตำตาตำใจ


อีกตัวอย่างเช่นบทโศกของนางวันทอง ซึ่งคร่ำครวญอาลัยรักต้นไม้ในบ้าน ขุนช้าง อันแสดงให้เห็นว่านางไม่ต้องการติดตามขุนแผนไป
แต่ก็ต้องไปเพราะขุนแผนร่ายมนตร์สะกด เมื่อเห็นว่านางมัวร่ำไรลาต้นไม้ สิ่งของอยู่นั่นเอง
จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี
       
   ลำดวนเอ๋ยจะด่วนไปก่อนแล้ว         ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี
จะโรยร้างห่างสิ้นกลิ่นมาลี                จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ

        (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)


อีกตัวอย่างคือตอนที่สุนทรภู่คร่ำครวญถึงรัชกาลที่ 1 ซึ่งสวรรคตแล้ว เป็นเหตุให้สุนทรภู่ต้องตกระกำลำบาก เพราะไม่เป็นที่โปรดปราน
ของรัชกาลที่ 3 ต้องระเห็จเตร็ดเตร่ไปอาศัยในที่ต่างๆ ขณะล่องเรือผ่านพระราชวัง สุนทรภู่ซึ่งระลึกถึงความหลังก็คร่ำครวญอาลัย
ถึงอดีตที่เคยรุ่งเรือง จากนิราศภูเขาทอง
 
   เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ    ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา                  วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์

        (พระสุนทรโวหาร (ภู่))



ขอขอบพระคุณที่มาจาก: เว็บไซท์ห้องเรียนครูสายทิพย์
( sites.google.com/site/krusaithipvasuthonkun/home )


..........
ข้อมูลจาก
http://www.sookjai.com/index.php?topic=225371.0



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.075 seconds with 20 queries.