ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล (17 ตุลาคม 2468 - ) อาจารย์และนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทย นับเป็นบุคคลที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรกๆ ของไทย และมีส่วนให้สังคมไทย โดยเฉพาะเยาวชนให้ความสนใจการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์มากขึ้น สำหรับบุคคลทั่วไป อาจเริ่มรู้จักท่านดีในช่วงการมาเยือนของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2529 ท่านมีผลงานงานประพันธ์และงานแปล ที่น่าสนใจมากมาย ทั้งทางด้าน วิทยาศาสตร์ พุทธศาสนา วรรณกรรม และปรัชญา
ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล ได้รับการคัดเลือกเป็น ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (ของประเทศไทย) พ.ศ. 2549
ดร.ระวี ภาวิไล สมรสกับ นางอุไรวรรณ ภาวิไล มีบุตร 3 คน คือ ภาสุรี ภาวิไล (เอื้อง) ภาสกร ภาวิไล (ชื่อเดิม นิรันดร์ ภาวิไล ปัจจุบันได้บวชเป็นพระ เป็นผู้อำนวยการธรรมสถานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วัดฝ่ายหิน นาม ภาสกร ภูริวฑฺฒโน) และ อรุณ ภาวิไล (ซูโม่ตุ๋ย)
การศึกษา
ประถมศึกษาที่โรงเรียนหุตะวณิช
มัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโททางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแอเดอเลด ประเทศออสเตรเลีย
ปริญญาเอกทางดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย
ปัจจุบัน ศ.ดร.ระวี ในวัย 80 ได้พาตัวเองเข้าสู่ทางธรรมะอย่างเต็มตัว ขณะที่โลกของวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ท่านติดตามอยู่ห่างๆ แต่ท่านก็ยังได้รับเชิญให้ไขข้อสงสัยในปรากฏการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับสังคมอยู่เสมอๆ ล่าสุดกรณีการส่งจรวดขึ้นไปยิงดาวหางเทมเปิล-1 ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือนาซาเมื่อปีที่ผ่านมา ท่านก็ให้ความเห็นว่าเป็นเพียงการสร้างภาพของ “พี่เบิ้ม” เท่านั้น ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เราต้องใส่ใจนัก
การทำงาน
เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ตั้งแต่อายุ 19 ปี สอนหนังสืออยู่ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2488 จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2529
ผลงานทางดาราศาสตร์เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ เคยร่วมประชุมและรับเชิญทำงานวิจัยในต่างประเทศเกือบ 20 ครั้ง มีผลงานค้นคว้าวิจัยสำคัญ ดังเช่น เรื่องโครงสร้างละเอียดของโครโมสเฟียร์ ดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างอาณาจักรบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างและการเคลื่อนไหว ของบรรยากาศระดับโครโมสเฟรียร์ของดวงอาทิตย์ เรื่องบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็นต้น
มีความสนใจทางด้านศาสนาและปรัชญา เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม รวมทั้งงานแปลวรรณกรรมคลาสสิก และปรัชญาศาสนา
ในด้านพุทธศาสนา ได้คิดค้นแบบจำลองจิต-เจตสิก ใช้ในการช่วยศึกษาและเข้าใจพระอภิธรรม เป็นแบบจำลอง ที่สามารถแสดงการประกอบของเจตสิก ในจิตแต่ละดวง ได้สมบูรณ์มาก ใช้ในการศึกษาเพื่อหาองค์ธรรม ในพระสูตรได้ด้วย ช่วยให้สามารถศึกษาพระอภิธรรม ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
เคยเป็นกรรมการบริหารโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย
ปัจจุบัน เป็นราชบัณฑิตแห่งราชบัณฑิตยสถาน ศาสตราจารย์กิตติคุณ ผู้อำนวยการธรรมสถานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำลังศึกษาค้นคว้าเรื่องการกำเนิดของจักรวาล วิจัยเรื่องอุกกาบาตที่ตกในประเทศไทย ทำงานแปลและงานเขียน บรรยายเรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา และเป็นหนึ่งในบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
งานหนังสือ
คุณค่าชีวิต
ชีวิตดีงาม
ดาวหาง
ดาราศาสตร์และอวกาศ
ทรายกับฟองคลื่น โดย คาลิล ยิบราน
ปรัชญาชีวิต โดย คาลิล ยิบราน
สาธนา : ปรัชญานิพนธ์ โดย รพินทรนาถ ฐากูร
ปีกหัก โดย คาลิล ยิบราน
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
สู้ชีวิต
รู้สึกนึกคิด
ศาสนากับปรัชญา (ความสงัด)
สุริยุปราคา 24 ตุลาคม 2538
หัวใจของศาสนาพุทธ
หิ่งห้อย:ปรัชญานิพนธ์ โดย รพินทรนาถ ฐากูร แปลร่วมกับ ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา
อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่
เพ่งพินิจเรื่องชีวิต
บุปผชาติแห่งชีวิต
โลกทัศน์ชีวทัศน์เปรียบเทียบวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา
ดอกไม้ในสวน
อลิซผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ โดย ลูอิส คาร์รอลล์ แปลเป็นไทยและเรียบเรียงโดย ระวี ภาวิไล
ผู้ได้รับรางวัลนราธิป
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
หมวดหมู่:
ศิลปินแห่งชาติ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ
ราชบัณฑิต
นักเขียนชาวไทย
นักดาราศาสตร์ชาวไทย
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
บุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
th.wikipedia.org/wiki/ระวี_ภาวิไล
บทความ
· เรามาเปลี่ยนการเรียนรู้ของเด็กไทย ให้เห็นคุณค่าของความใฝ่ฝันเถอะครับ
· ดวงตาเห็นธรรม
· "มิตรภาพ" - แปลจากบทหนึ่งของ ปรัชญาชีวิต โดย คาลิล ยิบราน