User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
22 December 2024, 16:26:16
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,616
Posts in
12,928
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
เหนือเกล้าชาวสยาม
|
พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม
|
พระราชวังและพระราชพิธี
|
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
0 Members and 2 Guests are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
[
1
]
Author
Topic: เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (Read 1053 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Online
Posts: 9,452
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
«
on:
21 November 2021, 09:19:06 »
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในปลายรัชสมัย รัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2091 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ สมัยรัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ และ รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง ศรีสุพรรณหงส์
หัวเรือพระที่นั่งนี้มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง
ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน
ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือโดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า World Ship Trust เมื่อพุทธศักราช 2535
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูล จาก : เวปไซต์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges/index.php/th/
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี
https://www.facebook.com/royalbargesthailand/
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Online
Posts: 9,452
Re: เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
«
Reply #1 on:
21 November 2021, 09:23:50 »
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2091
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ สมัยรัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ และ รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง ศรีสุพรรณหงส์
หัวเรือพระที่นั่งนี้มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง
ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง
เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน
ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือโดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่น ๆ
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า World Ship Trust เมื่อพุทธศักราช 2535
The Royal Barge Suphannahong was built anew in 1911 in the reign of King Vajiravudh, deriving the name from the royal barge Sri Suphannahong of King Maha Chakkaphat of Ayutthaya, built in 1548,or from Chai Suphanahong or Suvannahong of the late Ayutthaya period, or from Suvannahong of King Rama I (reigned 1782 – 1809), or from Sri Suphannahong of King Rama III (reigned 1824 – 1851).
The bow is made into a head of ha?sa, carved with gilded lacquer and mirrored glass decoration and a crystalline ball and tassels dangling from his mouth.
The hull is painted black outside and red inside. In the middle of the barge is placed a pavilion in which there is a throne called ratcha-banlang-kanya (Pali: raja-palla?ka-kaññ?).
This pavilion was built to house the king and his immediate royal family. The length of the barge is 46.15 meters and the width at the beam 3.17 meters.
The depth of the hull is 94 centimeters and the draught is 41 centimeters. Its displacement is 15 tons. It is manned by fifty oarsmen with two steersmen, two officers fore and aft,one standard bearer, one signalman, seven Royal Chatras bearers and one chanter. The chanter is the singing leader of the boat song and the oarsmen chant rhythmically in unison together with the chanter on each barge.
In 1992 the World Ship Trust presented the World Ship Trust Maritime Heritage Award to the Suphannahong Royal Barge.
.....
บุษบกเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นองค์เดิมที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี กรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากร ได้เชิญไปซ่อม ตกแต่ง ปิดทอง ประดับกระจก ณ สำนักช่างสิบหมู่ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และเชิญมาติดตั้ง ประดับตัวเรือ ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ เพื่อเชิญเรือฯ ไปจอดบริเวณท่าราชวรดิฐ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม 2562 และจะถูกเชิญมาใช้อีกครั้งในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดในช่วงเสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2562
บุษบก คือ ซุ้มยอดซึ่งมีหลังคาซ้อนชั้นเป็นยอดแหลม มีบันแถลงประดับโดยรอบ ซึ่งความหมายของบันแถลงนี้มีอยู่ว่า เป็นการจำลองอาคารหนึ่ง ๆ ด้วยการนำส่วนที่เรียกว่าหน้าบันมาซ้อนชั้นกันขึ้นไป โดยมากซ้อนกันสามชั้น หมายความว่า การประดับด้วยบันแถลงนี้ เป็นการจำลองอาคาร สะท้อนความหมายของเรือนฐานานุศักดิ์ หรือเรือนฐานันดรสูงได้เช่นกัน
บุษบกเป็นเครื่องใช้ประกอบกับของสูงและของสำคัญมีคุณค่าอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบุษบกเล็กหรือบุษบกขนาดใหญ่ล้วนแล้วแต่ใช้ประกอบประดิษฐานของสูงของสำคัญทั้งสิ้น ดังที่ได้เห็นเช่นองค์พระแก้วมรกตก็ประดิษฐานในบุษบก พระพุทธสิหิงค์ก็ประดิษฐานในบุษบก สำหรับบุษบกขนาดใหญ่ก็จะเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์ เป็นงานที่ลงรักปิดด้วยทองคำเปลวแท้ ลงยาสีและประดับเพชรคริสตัลเพิ่มความสวยงามและมีคุณค่ายิ่งขึ้นไปอีก
ในส่วนของพวงมาลัยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นพวงมาลัยสีขาวเหลืองทอง คล้องลำคอเรือให้มีความสง่างาม ซึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 กองทัพเรือได้ให้โรงเรียนสตรีวัดระฆัง เป็นผู้จัดทำพวงมาลัยสำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ และเรือพระที่นั่งลำอื่น ๆ ในพระราชพิธีฯ จำนวน 10 พวง
โดยพวงมาลัยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ใช้ตาข่ายคลุมแกนพวงมาลัยดอกรักเทียม ทำลายสี่ก้านสี่ดอก ส่วนแกนใน ใช้ผ้าตาดสีเหลืองทอง
ขณะที่ ส่วนที่ 2 พวงกลาง เป็นเครื่องแขวนไทย รูปโครงดาว ที่มุมทั้งหกมุม มีพวงดอกไม้รูปทรงกลม พวงเล็กหกพวง และทัดหูเป็นดอกสีแดง และสีเหลืองความสูง 28 นิ้ว
.....
http://phralan.in.th/coronation//finalceremoniesdetail.php?id=635
ข้อมูลจาก กองทัพเรือโดยสำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ภาพจาก rat studio
«
Last Edit: 21 November 2021, 11:52:15 by ppsan
»
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Online
Posts: 9,452
Re: เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
«
Reply #2 on:
21 November 2021, 14:57:13 »
The royal barge Suphannahong ("Golden Swan"), rehearsal on 9 December 2019.
10
20
30
40
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Online
Posts: 9,452
Re: เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
«
Reply #3 on:
21 November 2021, 15:00:15 »
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
10
Logged
Pages:
[
1
]
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.068 seconds with 22 queries.
Loading...