User Info
Welcome,
Guest
. Please
login
or
register
.
05 April 2025, 05:49:08
1 Hour
1 Day
1 Week
1 Month
Forever
Login with username, password and session length
Search:
Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ
http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,962
Posts in
13,109
Topics by
70
Members
Latest Member:
KAN
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
|
เหนือเกล้าชาวสยาม
|
พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม
|
ทฤษฎีใหม่
|
"แกล้งดิน .."
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
« previous
next »
Pages:
[
1
]
Author
Topic: "แกล้งดิน .." (Read 1842 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,792
"แกล้งดิน .."
«
on:
28 October 2021, 08:40:07 »
"แกล้งดิน .."
"แกล้งดิน .."
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ "พลิกฟื้นปฐพี"
หลายจังหวัดชายฝั่งอ่าวไทย เฉพาะอย่างยิ่ง ทางภาคใต้ตอนล่าง เช่นนราธิวาส มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกลาดลงสู่ที่ราบทางทิศตะวันออกจนติดทะเล พื้นที่ตรงกลางเป็นที่ลุ่มต่ำคล้ายแอ่งกระทะมีน้ำท่วมขังตลอดปี เรียกว่า “ป่าพรุ”
น้ำในป่าพรุมีซากอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัวทับถมกันหนาประมาณ 50-200 ซม. มีลักษณะเป็นดินหยุ่น ๆ ส่วนดินที่อยู่ถัดจากชั้นอินทรีย์ลงไปจะเป็นดินเลนตะกอนทะเลสะสมอยู่จำนวนมาก ส่งผลให้น้ำในป่าพรุกลายเป็นกรดจัดไปด้วย
หนำซ้ำ ในฤดูฝน น้ำฝนจากภูเขาไหลเข้าท่วมทั้งป่าพรุ และพื้นที่เกษตรกรรมของราษฎรรอบ ๆ พรุ เสียหายเป็นจำนวนมากทุกปี ทั้งยังถูกซ้ำเติมจากการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ยิ่งทำให้ผลผลิตตกต่ำ.. พื้นที่หลายหมื่นไร่จึงถูกทิ้งร้าง…. ราษฎร และเกษตรกร ต่างประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับยังพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ และได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วทุกท้องถิ่นเป็นประจำทุก ปี จึงทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณ ถึงปัญหาความทุกข์ยากเหล่านั้น และโดยที่ทรงยึดมั่นในพระราชหฤทัยอยู่ตลอดเวลาว่า ทุกข์ สุข ของราษฎร คือ ทุกข์ สุข ของพระองค์ท่าน จึงทรงหาทางช่วยเหลือด้วยวิธีต่าง ๆ
มีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่เกษตรกรรมรอบป่าพรุเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด โดยไม่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ แต่เมื่อทำการระบายน้ำออกจากพรุ พบว่าดินมีสภาพเป็นกรดจัด หรือที่เรียกว่า ดินเปรี้ยว ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ จึงทรงตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส “เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าขบวนการเปลี่ยนแปลงดินเปรี้ยวจัดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ดีพอเสียก่อน ..ก่อนที่จะศึกษาหาวิธีการปรับปรุงใช้ประโยชน์ได้ต่อไป”
ดินเปรี้ยวจัด เป็นดินที่มีเลนตะกอนทะเลอยู่ชั้นล่าง มีสารไพไรท์ อยู่ปริมาณสูง เมื่อดินอยู่ในสภาพที่มีน้ำแช่ขัง จะคงรูป ดินมีสภาพเป็นกลาง แต่เมื่อน้ำแห้ง อากาศแทรกซึมลงไปในดิน ออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากับสารไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน (H2SO4) และสารประกอบจาโรไซท์ [ KFe3 (SO4)2 (OH6)] มีสีเหลืองซีดคล้ายสีของฟางข้าว ดินแปรสภาพเป็นกรดจัด เมื่อฝนตกก็จะละลายปนกับน้ำฝนขึ้นมาอยู่ที่หน้าดิน ครั้นเมื่อดินเปียกอีก กรดกำมะถันจะแพร่กระจายไปทั่วหน้าตัดดิน การที่ดินแห้งและเปียกสลับกัน สารไพไรท์จะเกิดปฏิกิริยาปลดปล่อยกรดกำมะถันขึ้นมาอีกและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ มีเหล็ก อลูมินั่ม แมงกานีส ละลายออกมามาก จนเป็นพิษ ต่อพืชและจุลินทรีย์ในดิน ในขณะที่แร่ธาตุบางอย่าง เช่น ฟอสฟอรัส ถูกตรึงไว้ พืชดูดเอาไปใช้ไม่ได้ ทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร น้ำมีรสฝาด ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร หรือใช้อุปโภคบริโภค
ในปี พ.ศ. 2527 ด้วยพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน โครงการแกล้งดิน ตามพระราชดำริ เพื่อทำการปรับปรุงดินเปรี้ยว หลักการของโครงการแกล้งดิน คือการทำให้ดินเปรี้ยว เปียกและแห้ง ..สลับกันไปปีละหลาย ๆ ครั้ง มากกว่ากระบวนการทางธรรมชาติ เพื่อให้ดินปลดปล่อยสารไพไรท์ออกมาให้มากที่สุด
“ ...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัดโดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปีและที่ทำการทดลองปลูกควรเป็นข้าว...”
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16 กันยายน 2527
ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ในนำผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ไปดำเนินการยังพื้นที่ดินเปรี้ยวในจังหวัดอื่น ๆ เช่นที่จังหวัดนครนายก ที่ประสบปัญหาแบบเดียวกัน และเพราะการนำโครงการแกล้งดินมาขยายผล จำต้องมี
น้ำจืดใช้อย่างพอเพียง ทั้งเพื่อการปรับปรุงดินเปรี้ยว การเพาะปลูก และการรักษาระดับน้ำใต้ดิน เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่เพิ่งสร้างเสร็จและเก็บกักน้ำได้แล้ว จึงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกโครงการหนึ่งในการปรับปรุงพื้นที่ทางการเกษตรของประเทศ
แนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานในการปรับปรุงที่ดินไร้ประโยชน์ ให้สามารถนำมาใช้ได้อีกครั้งหนึ่งนั้น แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้วทรงประมวลเป็นทฤษฎีในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และฟื้นฟูทรัพยากรดินได้อย่างมหัศจรรย์
.
1
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
ลักษณะของภูมิประเทศของจังหวัดนราธิวาส เป็นเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกลาดลงสู่ที่ราบทางทิศตะวันออกจนติดทะเล มีลักษณะเหมือนขอบกระทะ .. ปัตตานี สงขลา แม้แต่นครศรีธรรมราช ก็คล้ายกัน
.
2
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
.....น้ำท่วมขังที่ดูสงบนิ่งนี้ ที่จริงแล้ว มีการไหลเอื่อย ๆ ตลอดเวลา ทำให้มีปริมาณอากาศเพียงพอต่อสรรพชีวิตในป่าพรุที่เป็น ป่าไม้ไม่ผลัดใบ เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากป่าดิบชื้นในเขตร้อนทั่วไป ทั้งในลักษณะของโครงสร้างและความหลากหลายของพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาทึบ โดยมีวิวัฒนาการให้มีโครงสร้างพิเศษ เพื่อดำรงชีพอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ได้ เช่น โคนต้นมีพูพอน ระบบรากแก้วสั้น แต่มีรากแขนงแผ่กว้างแข็งแรง มีระบบรากพิเศษ หรือระบบรากเสริม ได้แก่ รากค้ำยัน หรือรากหายใจโผล่เหนือชั้นดินอินทรีย์ ช่วยในการพยุงลำต้นและการหายใจ คล้ายกับต้นไม้ในป่าชายเลน
.
3
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
เมื่อปีพุทธศักราช 2524 มีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่เกษตรกรรมรอบป่าพรุเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด แต่ต้องไม่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์ป่าพรุที่ทรงคุณค่านี้ไว้ให้ได้ ทรงกำหนดพื้นที่ป่าพรุออกเป็น 3 เขต คือ
เขตสงวน ได้แก่ พื้นที่พรุที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่ ต้องสงวนรักษาไว้ไม่เข้าไปแตะต้อง เช่น บริเวณพรุโต๊ะแดง ป่าพรุผืนใหญ่ที่สุดที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวของประเทศไทย ในเขตอำเภอตากใบ สุไหงปาดี และสุไหงโกลก
.
4
.
5
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
เขตอนุรักษ์ คือ พื้นที่ที่ถูกบุกรุกไปบ้างแล้ว บางบริเวณมีชาวบ้านอยู่อาศัยเก็บของป่า หากินกับพรุ รับสั่งว่า ต้องหาทางให้ราษฎรอาศัยอยู่ต่อไป แต่ต้องไม่บุกรุกมากกว่าเดิม
เขตพัฒนา คือพื้นที่บริเวณขอบพรุที่ถูกบุกรุกทำลาย บางแห่งเคยถูกนำมาเป็นนิคมสหกรณ์มาก่อน เช่น พรุบาเจาะ พรุปิเหล็ง แต่เมื่อทำกินไม่ได้ก็ปล่อยทิ้งร้างเสื่อมโทรม
.
6
.
7
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
มีพระราชดำริให้นำพื้นที่เหล่านี้มาปรับปรุงใช้ประโยชน์ แต่เมื่อทำการระบายน้ำออกจากเขตพัฒนา พบว่าดินมีสภาพเป็นกรดจัด หรือที่เรียกว่า ดินเปรี้ยว ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ จึงทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส “เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าขบวนการเปลี่ยนแปลงดินเปรี้ยวจัดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ดีพอเสียก่อน ..ก่อนที่จะศึกษาหาวิธีการปรับปรุงใช้ประโยชน์ได้ต่อไป”
7.1
Napan Sevikul
เมื่อครั้งระบายน้ำออกจากบ้านยูโย ในราวพ.ศ. 2518
7.2
Napan Sevikul
แม้จะระบายน้ำออกไปแล้ว ก็ทรงพบว่า แผ่นดินที่ได้มา ก็ทำการเกษตรไม่ได้ เพราะดินเปรี้ยวจัด ..เป็นที่มาของ "โครงการแกล้งดิน" ด้วยพระอัจฉริยภาพ
.
8
.
9
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
กระจูดหนู
บ้านใครมีกระจูดหนูขึ้นเต็มลำรางแบบนี้ เช่นตั้งแต่อำเภอองครักษ์ขึ้นไปจนถึงนครนายก ฉะเชิงเทรา .. บอกตัวเองได้ได้ก่อนเลยว่าบ้านตัวเอง "ดินเปรี้ยว"
.
10
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
ดินเปรี้ยว เป็นดินที่มีเลนตะกอนทะเลอยู่ชั้นล่าง มีสารไพไรท์ อยู่ปริมาณสูง เมื่อดินอยู่ในสภาพที่มีน้ำแช่ขัง จะคงรูป ดินมีสภาพเป็นกลาง แต่เมื่อน้ำแห้ง อากาศแทรกซึมลงไปในดิน ออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากับสารไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน (H2SO4) และสารประกอบจาโรไซท์ [ KFe3 (SO4)2 (OH6)] มีสีเหลืองซีดคล้ายสีของฟางข้าว ดินแปรสภาพเป็นกรดจัด เมื่อฝนตกก็จะละลายปนกับน้ำฝนขึ้นมาอยู่ที่หน้าดิน ครั้นเมื่อดินเปียกอีก กรดกำมะถันจะแพร่กระจายไปทั่วหน้าตัดดิน การที่ดินแห้งและเปียกสลับกัน สารไพไรท์จะเกิดปฏิกิริยาปลดปล่อยกรดกำมะถันขึ้นมาอีกและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ มีเหล็ก อลูมินั่ม แมงกานีส ละลายออกมามาก จนเป็นพิษ ต่อพืชและจุลินทรีย์ในดิน ในขณะที่แร่ธาตุบางอย่าง เช่น ฟอสฟอรัส ถูกตรึงไว้ พืชดูดเอาไปใช้ไม่ได้ ทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร น้ำมีรสฝาด ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร หรือใช้อุปโภคบริโภค
.
11
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
“โครงการแกล้งดินนี้เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา 3 ปีแล้วหรือ 4 ปีกว่าแล้ว ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน
ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล ดังนั้นผลงานของเราที่นี่เป็นงานสำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาพอใจ เขามีปัญหาแล้ว เขาก็ไม่ได้แก้ หาตำราไม่ได้.
..งานทดลองนี้เหมือนเป็นตำรา ควรทำเป็นตำราที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่นๆ...”
.
12
ในปี พ.ศ. 2527 ด้วยพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน โครงการแกล้งดิน ตามพระราชดำริ เพื่อทำการปรับปรุงดินเปรี้ยว หลักการของโครงการแกล้งดิน คือการทำให้ดินเปรี้ยว เปียกและแห้ง ..สลับกันไปปีละหลาย ๆ ครั้ง มากกว่ากระบวนการทางธรรมชาติ เพื่อให้ดินปลดปล่อยสารไพไรท์ออกมาให้มากที่สุด
“ ...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัดโดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปีและที่ทำการทดลองปลูกควรเป็นข้าว...”
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16 กันยายน 2527
.
13
.
14
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
หัวใจสำคัญที่สุดของโครงการแกล้งดินก็คือ
- ระบบการบริหารจัดการน้ำ ต้องมีน้ำจืดมากพอที่จะใช้ได้ตลอดทั้งปี เพื่อการล้างหน้าดิน
- มีระบบชลประทานประทานที่ดี เพื่อระบายน้ำเปรี้ยวออกจากแปลงไปทิ้งโดยไม่ให้ไหลออกไปพื้นที่อื่น ๆ และเพื่อนำน้ำจืดกลับเข้ามาเก็บไว้ล้อมรอบแปลงทดลองอีก
.
15
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
และที่สำคัญก็คือ การป้องกันการเกิดกรดกำมะถันขึ้นอีก ดังนั้น รอบแปลงนาหรือสวนผลไม้ จึงต้องมีคูน้ำล้อมรอบเพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้ ขณะเดียวกันก็ทำให้สามารถควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ซึ่งจะทำให้ดินกลับเปรี้ยวขึ้นอีก
.
16
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
โครงการแกล้งดิน ดำเนินการอย่างก้าวหน้ามาเป็นลำดับ นักวิชาการ ข้าราชการกรมกองระดับต่าง ๆ ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้จากการศึกษาทดลองและเก็บตัวอย่างดินและน้ำไปวิเคราะห์ แล้วทำรายงานถวายทุกขั้นตอน เพราะทรงติดตามความคืบหน้าของโครงการแกล้งดินอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เองอย่างสม่ำเสมอ รับสั่งว่า “อันไหนดี ให้จดไว้ จะได้ใช้เป็นแนวทางที่จะดำเนินการต่อไป สิ่งไหนที่เป็นความล้มเหลว ก็ให้จดจำบันทึกไว้ เพื่อจะได้ไม่ทำอีก”
ทั้งยังพระราชทานพระราชดำริให้เร่งให้ดินเปรี้ยวเพิ่มขึ้นอีก จน “เปรี้ยวสุดขีด” ... ซึ่งไม่ได้หมายความว่า แปลงทดลองนั้น ๆ จะต้องทำให้ดินเปรี้ยวสุดขีด แต่หมายถึง “โครงการแกล้งดิน” จะต้องทดลองทำให้ดินเปรี้ยวสุดขีด ถึงขนาดพืชขึ้นไม่ได้ มีค่า pH ต่ำกว่า 4 ... เพื่อให้ได้ความรู้ว่า ถ้าดินเลวขนาดนั้น ยังปรับปรุงให้นำมาเป็นพื้นที่การเกษตรได้ เมื่อถึงเวลาที่จะนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ที่ “ดิน” มีค่า Ph สูงกว่านั้น ก็จะเป็นเรื่องง่าย
.
17
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
ช่วงที่ 3 (มกราคม 2533 – ปัจจุบัน)
“...ให้เริ่มดำเนินการศึกษาวิธีการปรับปรุงดิน โดยศึกษาปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่ไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจ
ได้แล้วให้สามารถใช้ประโยชน์ได้”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7 ตุลาคม 2532
.
18
.
19
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
การยกร่องสำหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นในพื้นที่ดินเปรี้ยวให้ได้ผล ได้รูปแบบว่า จะต้องมีแหล่งน้ำและระบบชลประทานเพื่อควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น
น้ำในคูต้องระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัด และสูบน้ำจืดมาแทน 3 - 4 เดือนต่อครั้ง รวมทั้งต้องสร้างคันดินกั้นน้ำล้อมรอบแปลงเพื่อควบคุมน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกได้ตามต้องการ
หลังจากแกล้งดินจนเป็นกรดจัดรุนแรงไม่สามารถปลูกพืชได้แล้ว ได้ดำเนินการศึกษาวิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด ให้ปลูกพืชได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
.
20
.
21
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ในนำผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ไปดำเนินการยังพื้นที่ดินเปรี้ยวในจังหวัดอื่น ๆ เช่นที่จังหวัดนครนายก ที่ประสบปัญหาแบบเดียวกัน และเพราะการนำโครงการแกล้งดินมาขยายผล จำต้องมีน้ำจืดใช้อย่างพอเพียง ทั้งเพื่อการปรับปรุงดินเปรี้ยว การเพาะปลูก และการรักษาระดับน้ำใต้ดิน เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่เพิ่งสร้างเสร็จและเก็บกักน้ำได้แล้ว จึงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกโครงการหนึ่งในการปรับปรุงพื้นที่ทางการเกษตรของประเทศ
.
22
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
แนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานในการปรับปรุงที่ดินไร้ประโยชน์ ให้สามารถนำมาใช้ได้อีกครั้งหนึ่งนั้น แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้วทรงประมวลเป็นทฤษฎีในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และฟื้นฟูทรัพยากรดินได้อย่างมหัศจรรย์
.
23
.
24
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภูมิประเทศในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส
.
25
๖ กันยายน ๒๕๒๘
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ ๙เสด็จฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
.
.....
ขอขอบคุณภาพจากเฟส Napan Sevikul
https://www.facebook.com/napan.sevikul?hc_ref=ARShPURD09ZHULZVPsjGvfeflLjQhhEEJ5JcdXYiTzvf2NSj_3UMlVFmT3neWp-yfnE
Napan Sevikul
https://www.facebook.com/napan.sevikul/posts/10212044260440812
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 · เทศบาลนครปากเกร็ด ·
"แกล้งดิน .."
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ "พลิกฟื้นปฐพี"
«
Last Edit: 01 January 2025, 17:23:00 by ppsan
»
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,792
Re: "แกล้งดิน .."
«
Reply #1 on:
01 January 2025, 17:27:07 »
7
Napan Sevikul
22 สิงหาคม 2017 ·
มีพระราชดำริให้นำพื้นที่เหล่านี้มาปรับปรุงใช้ประโยชน์ แต่เมื่อทำการระบายน้ำออกจากเขตพัฒนา พบว่าดินมีสภาพเป็นกรดจัด หรือที่เรียกว่า ดินเปรี้ยว ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ จึงทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส “เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าขบวนการเปลี่ยนแปลงดินเปรี้ยวจัดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ดีพอเสียก่อน ..ก่อนที่จะศึกษาหาวิธีการปรับปรุงใช้ประโยชน์ได้ต่อไป”
.
7.1
Napan Sevikul
เมื่อครั้งระบายน้ำออกจากบ้านยูโย ในราวพ.ศ. 2518
.
7.2
Napan Sevikul
แม้จะระบายน้ำออกไปแล้ว ก็ทรงพบว่า แผ่นดินที่ได้มา ก็ทำการเกษตรไม่ได้ เพราะดินเปรี้ยวจัด ..เป็นที่มาของ "โครงการแกล้งดิน" ด้วยพระอัจฉริยภาพ
.
Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
Offline
Posts: 9,792
Re: "แกล้งดิน .."
«
Reply #2 on:
01 January 2025, 17:28:14 »
24
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภูมิประเทศในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส
.
25
๖ กันยายน ๒๕๒๘
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ ๙เสด็จฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
.
Logged
Pages:
[
1
]
« previous
next »
SMF 2.0.4
|
SMF © 2013
,
Simple Machines
| Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.053 seconds with 16 queries.
Loading...