ppsan
|
|
« on: 21 October 2021, 09:19:07 » |
|
"จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที" การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร Natural Resource Management by His Majesty Bhumipol Adulyadej The Great
.....
• ฝนหลวง rainเกิดขึ้นเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงสังเกตว่ามีเมฆปริมาณมากแต่ไม่สามารถรวมตัวก่อเป็นฝนได้เป็นสาเหตุของฝนทิ้งช่วงจนเกิดความแห้งแล้ง จึงได้พระราชทานแนวคิดในการทำฝนหลวง และทรงทุ่มเทใช้ เวลาถึง 14 ปี ในการค้นคว้า วิจัย และทดลอง จนเกิดความสำเร็จในปี 2512 ช่วยให้ประเทศชาติรอดพ้น วิกฤติภัยแล้งมาได้จนถึงปัจจุบัน
• แนวพระราชดำริด้านป่าไม้ forest - ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยพื้นที่ป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไร ป่าจะเจริญเติบโตเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องปลูก - ปลูกป่าในที่สูง ใช้ไม้จำพวกที่มีเมล็ดขึ้นไปปลูกบนยอดสูง เมื่อโตแล้วออกฝักออกเมล็ดก็จะลอยตกลงมาแล้วงอกเองในที่ต่ำต่อไป เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ - การปลูกป่าทดแทน จะต้องทำอย่างมีแผนโดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขา โดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตร ต้องร่วมมือกันวางแผนปรับปรุงต้นน้ำและพัฒนาอาชีพได้อย่างถูกต้อง - ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกป่า 3 อย่าง คือ ป่าไม้ใช้สอย ได้แก่ ไม้โตเร็วสำหรับใช้ในครัวเรือน ป่าไม้กินได้ คือไม้ผล และป่าไม้เศรษฐกิจ คือไม้ที่ปลูกไว้ขาย และได้ประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ - ป่าเปียก ทฤษฎีการฟื้นฟูป่าไม้โดยสร้างแนวส่งน้ำหรือแนวพืชอุ้มน้ำเพื่อให้ดินเกิดความชุ่มชื้นให้ป่าเขียวสดจึงช่วยลดปัญหาไฟป่า - ภูเขาป่า ทฤษฎีการฟื้นฟูป่าโดยการส่งน้ำขึ้นไปยังจุดที่สูงที่สุดและกระจายน้ำให้หล่อเลี้ยงกล้าไม้อ่อนที่ปลูกทดแทนไว้ให้เติบโตเป็นภูเขาป่าที่สมบูรณ์
• ฝาย
check damในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริในปี พ.ศ.2521 โดยสร้างฝายจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น หิน กรวด ไม้ไผ่ ขวางกั้นลำธารหรือทางเดินของน้ำที่เป็นต้นน้ำหรือมีความลาดชันสูง จะช่วยชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง เป็นหนทางแห่งการฟื้นฟูป่า หยุดไฟป่า สร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศ และเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค รวมถึงการเกษตร ถือเป็นวิธีที่ดี ง่าย และเหมาะสม ในการดูแลและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
• เขื่อน damพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในการชลประทาน หรือการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอย่างมาก เพราะทรงตระหนักดีว่า “น้ำคือชีวิต” การสร้างเขื่อนในพื้นที่ที่ เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก ยังสามารถบรรเทาอุทกภัยหรือปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย
• อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำ เป็นแหล่งน้ำผิวดินประเภทหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในท้องถิ่นทุรกันดารและแห้งแล้ง ให้ราษฎรได้มีน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค และเพื่อใช้ในการเกษตร ซึ่งอ่างเก็บน้ำสามารถเก็บรักษาน้ำที่มีตามธรรมชาติในฤดูฝนไว้ให้เพียงพอใช้ได้ตลอดทั้งปี
• แฝก ในปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริเป็นครั้งแรกให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำการศึกษา ทดลอง และดำเนินการปลูกหญ้าแฝก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรง ๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคง ลดการพังทลายของ ดิน อีกทั้งมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนาจึงช่วยดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้เป็นอย่างดี
• แก้มลิง แนวพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถช่วยลดปัญหาน้ำท่วม โดยทรงได้แนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มคราวละมาก ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง
• กังหันน้ำชัยพัฒนา สิ่งประดิษฐ์ของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำ สามารถแก้ไข ความเสื่อมโทรมของสภาพน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการจดสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยและครั้งแรกของโลก ปัจจุบันกังหันน้ำชัยพัฒนาได้มีการติดตั้ง ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ได้มีการขอนำไปใช้งานในประเทศเบลเยียม อินเดีย และอังกฤษด้วย
• น้ำดีไล่น้ำเสีย
wastewater treatmentแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในการใช้น้ำคุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำ เน่าเสีย โดยให้น้ำดีผลักดันน้ำเน่าเสียออกไปและช่วยให้น้ำเน่าเสียมีสภาพเจือจางลง โดยใช้หลักการตาม ธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงโลก (Gravity Flow) ควบคู่กับการบริหารจัดการ ทั้งนี้โดยรับน้ำจากแม่น้ำ เจ้าพระยาหรือจากแหล่งน้ำภายนอกส่งไปตามคลองต่างๆ ซึ่งกระแสน้ำจะไหลแผ่กระจายขยายไป ตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง เมื่อน้ำสามารถไหลเวียนไปตามลำคลองได้ตลอด ย่อมสามารถเจือจางน้ำเน่าเสียและชักพาสิ่งโสโครกออกไป เป็นวิธีการช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสียในคลอง ต่างๆ ในช่วงฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี
• แกล้งดิน แนวพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ได้พระราชทานในปี 2527 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินเป็นกรด อันเกิดจากการ ตกตะกอนของน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ที่มีสารประกอบของกำมะถันซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรด กำมะถันตามกระบวนการธรรมชาติและสะสมในชั้นหน้าดิน โดยดินที่มีความเป็นกรดสูง ความอุดม สมบูรณ์จะต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรง โดยวิธีการแก้ไขคือ ให้ขังน้ำ ไว้ในพื้นที่ที่มีปัญหา จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุดจึงระบายน้ำออกและปรับ สภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
• ทฤษฎีใหม่ การทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ประมาณ 15 ไร่ ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย นา ข้าว 30% สระน้ำ 30% พืชไร่พืชสวน 30% อีก 10% สำหรับสร้างบ้าน-เลี้ยงสัตว์ ซึ่งหากดำเนินการ ดังนี้ เกษตรกรจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และมีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูกตลอดทั้งปี โดยพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาและทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ ณ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคล ชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี ซึ่งถือเป็นสถานที่เรียนรู้ด้าน “ทฤษฎีใหม่” แห่งแรก ของประเทศไทย
• แหลมผักเบี้ย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียของชุมชนเมือง โดยทรงให้ศึกษาทดลองด้วยวิธีธรรมชาติ ณ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โดยดำเนินการทั้งการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียและการกำจัดขยะ ด้วย 4 ระบบ คือ ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม และระบบแปลงพืชป่าชายเลน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติช่วยธรรมชาติ สร้างสมดุลให้เกิดแก่ระบบนิเวศ มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าชายเลน สัตว์น้ำ และนกนานาชนิด
• ป่าชายเลน ที่ผ่านมาป่าชายเลนได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้หาวิธีอนุรักษ์และขยายพันธุ์โดยเฉพาะต้นโกงกางเพื่อเพิ่มปริมาณพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้น เนื่องจากป่าชายเลนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศบริเวณชายฝั่ง ถือเป็นถิ่นกำเนิดและเป็นที่เจริญเติบโตของพันธุ์พืชและสัตว์น้ำนานาชนิด ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างพื้นที่ป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
• ข้อมูลและภาพจาก
https://www.chaipat.or.th/30thanniversary/from-the-mountain-to-the-sea.html
|